• เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การตลาดเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ช่องทางการตลาดเกษตรอินทรีย์ ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับการตลาดของสินค้าเกษตรทั่วไป อาจจะแตกต่างที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งทำให้ช่องทางการตลาดของเกษตรอินทรีย์มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปบ้างบางส่วน โดยรวมแล้วอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ ตลาดทางเลือกและตลาดกระแสหลัก (ศุภชัย และคณะ, 2550) ตลาดทางเลือก คือรูปแบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแบบใหม่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ค านึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกื้อหนุนให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และรับผิดชอบซึ่งกันและกัน กิจกรรมการซื้อขายในระบบตลาดทางเลือกตั้งอยู่บนคติที่ว่าทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน และพัฒนาไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งสองฝ่าย รูปแบบการทำตลาดทางเลือกในสังคมไทย สามารถสรุปได้ใน 2 รูปแบบ คือ 1) เริ่มต้นจากผู้ผลิตในพื้นที่ที่มีพัฒนาการมาจากการทำเกษตรทางเลือก และกลุ่มออมทรัพย์หรือกลุ่มแม่บ้านรวมตัวกันทำการตลาดโดยประสานงานกับองค์กรพัฒนา และกลุ่มผู้บริโภค ลักษณะการขายมีทั้งการเปิดร้านค้าปลีก การขายตามตลาดนัดในท้องถิ่น ตั้งแผงขายในสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล การขายส่งพ่อค้า การออกร้านตามงานต่างๆ ขายตรงตามบ้าน ส่งขายระหว่างองค์กรชาวบ้านด้วยกันเอง2) เริ่มต้นจากผู้บริโภคที่มีสำนึกในด้านความคุ้มครองผู้บริโภคและพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีรูปแบบเปิดร้านค้าปลีกเฉพาะด้านเป็นรูปแบบหลัก หรือประสานกับกลุ่มผู้ผลิตในการกระจายผลผลิตในหน่วยงานต่างๆ โดยรูปแบบของตลาดทางเลือกสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะให้ค่าตอบแทนต่อเกษตรกรสูงกว่าตลาดแบบอื่น เนื่องจากเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตให้กับผู้บริโภคได้โดยตรง ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าขนสงและค่าแรงเพิ่มขึ้นแต่จัดว่าไม่สูงมาก เพราะตลาดเหล่านี้มักไม่ได้อยู่ห่างไกลกับแหล่งผลิตและด้วยปริมาณการขายที่น้อย แรงงานที่ใช้ในการจัดเตรียมผลผลิตมักเป็นแรงงานในครัวเรือนประโยชน์อีกด้านหนึ่งของตลาดท้องถิ่นคือช่วยทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเกิดความรู้สึกร่วมกันในชุมชน มีเอกลักษณ์ และมีความผูกพันกัน เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรมีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคและความเปลี่ยนแปลงของตลาด 2) ตลาดในชุมชน ตลาดในชุมชนส่วนใหญ่เป็นตลาดที่เปิดขายในช่วงเช้าตรู่ และมักจะเปิดขายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 1-2 ชั่วโมง สมาชิกในชุมชนน าสินค้าที่ผลิตได้ในครอบครัวมาจำหน่าย สินค้าส่วนใหญ่มักเป็นอาหารสดหรืออาหารแปรรูปอย่างง่าย ตลาดในชุมชนเหมาะกับผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อย เป็นผลผลิตที่ไม่ค่อยมีการผลิตในชุมชนมากนักและควรเป็นผลิตผลที่มีความต่อเนื่องแต่ไม่เหมาะกับผลผลิตที่มีปริมาณมาก เพราะตลาดชุมชนมักมีขนาดเล็กข้อดีของตลาดในชุมชนคือเกษตรกรผู้ผลิตเสียค่าใช้จ่ายในการขายผลผลิตต่ำมาก ทำให้เกษตรกรได้รับรายได้เต็มจากการขาย ซึ่งได้เงินสดเป็นรายได้ประจำ และช่วยแบ่งเบาภาระสำหรับค่าใช้จ่ายประจำวันของครอบครัวเกษตรกรได้ แต่ราคาผลิตผลที่จำหน่ายในตลาดชุมชนนี้มักจะมีราคาค่อนข้างต่ำเพราะความสามารถในการซื้อสินค้ามีอยู่น้อย นอกจากนี้ตลาดในชุมชนมักจะไม่ใช่ตลาดเฉพาะผลผลิตเกษตรอินทรีย์เท่านั้น 3) ตลาดนัดท้องถิ่น ตลาดนัดในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นตลาดคล้ายกับตลาดชุมชน แต่อาจมีขนาดใหญ่กว่า และมักจัดในที่มีผู้บริโภคอยู่หนาแน่น เช่น โรงพยาบาล สถานที่ราชการต่างๆ ตลาดนัดนี้จะเปิดขายเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ระยะเวลาในการเปิดขายอาจเพียงครึ่งวันหรือเต็มวันขึ้นอยู่กับปริมาณของผู้บริโภคและข้อจำกัดของสถานที่ในตลาดนัดเช่นนี้มักจะต้องการกลุ่มบุคคลหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการประสานงานกับเจ้าของพื้นที่และประชาสัมพันธ์ให้กับผู้บริโภค ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่เป็นผู้จัดตลาดนัดนี้อาจมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะน าผลผลิตเข้ามาจำหน่ายในตลาดนัด ความชัดเจนในนโยบายลักษณะนี้จะช่วยให้ตลาดนัดเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญได้เช่นกัน 4) ตลาดสมาชิก ตลาดระบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเกษตรในต่างประเทศ เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตรในสหรัฐอเมริกา (Community supported agriculture, CSA ) ระบบเตเก้ในญี่ปุ่นและระบบกล่องผักในยุโรป ตลาดสมาชิกเน้นที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยมีการวางแผนการผลิตร่วมกันระหว่างเกษตรกรผู้บริโภค มีการตกลงราคาล่วงหน้า และอาจมีการสนับสนุนเงินทุนล่วงหน้าให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ลงทุนในการผลิต โดยผู้ผลิตจะจัดส่งผลผลิตให้กับผู้บริโภคโดยตรง ระบบสมาชิกจะเน้นผลิตผลที่เป็นผักสดเป็นส่วนใหญ่หรืออาจมีผลไม้ร่วมด้วยบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้เกษตรกรผู้ผลิตหรือผู้จัดส่งจำเป็นต้องมีรถบรรทุกและแรงงานในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว 5) ร้านค้าปลีกเฉพาะด้าน ร้านค้าปลีกเฉพาะด้าน (Specialized shop)อาจเป็นร้านค้าที่มีนโยบายในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์โดยตรง หรืออาจเป็นร้านสุขภาพและมีผลิตผลเกษตรอินทรีย์ร่วมจำหน่ายด้วย…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่ง(วิฑูรย์ และเจษณี,2546) และ (พันธ์จิตต์, 2549) ได้อธิบายไว้ดังนี้ 1) เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเอง เป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งพัฒนามาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูภูมิปัญญาไทยไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรับรอง มุ่งเน้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการลดปัจจัยน าเข้าที่ต้องซื้อจากภายนอก ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและก าจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง 2) เกษตรอินทรีย์แบบรับรองมาตรฐาน เป็นการท าเกษตรอินทรีย์แบบมีการรับรองมาตรฐาน มุ่งเน้นเพื่อจ าหน่ายผ่านทางระบบตลาดทั่วไปหรือการตลาดทางเลือก ซึ่งเมื่อได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ผู้บริโภคก็จะพิจารณาเลือกซื้อจากความเชื่อถือในตรารับรอง และหากตรารับรองมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานจากต่างประเทศ จะท าให้ผลผลิตสามารถส่งออกไปจ าหน่ายในต่างประเทศได้ด้วย หรือส าหรับผู้ผลิต-ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกก็มักจะขอรับรองมาตรฐานของประเทศนั้น ๆ ที่ต้องการส่งออกอย่างไรก็ตามในระดับสากลค าว่าเกษตรอินทรีย์จะหมายถึง การท าเกษตรอินทรีย์ที่มีการตรวจรับรองมาตรฐานเท่านั้น แต่ส าหรับในประเทศไทยเนื่องจากการท าเกษตรอินทรีย์เริ่มต้นมาจากการท าเกษตรทางเลือก และมีความคล้ายคลึงกับการท าการเกษตรในอดีตของไทยที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร นอกจากนั้นในการส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ในระยะเริ่มต้นมุ่งเน้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตและยังไม่มีการรับรองมาตรฐาน ดังนั้นเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยจึงมี 2 รูปแบบดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น รูปแบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย การผลิตเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะการผลิตข้าวและผักอินทรีย์มีหลายรูปแบบ จากการศึกษาของ(ศุภชัย และคณะ, 2550) พบว่ามีผู้ผลิต 7 รูปแบบ ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทส่งออกที่มีฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บริษัทส่งออกที่ท าสัญญากับเกษตรกร เจ้าของฟาร์มผู้จ าหน่ายภายในประเทศ ผู้รวบรวมผลผลิตจัดจ าหน่ายภายในประเทศ ผู้แปรรูปจัดจ าหน่ายภายในประเทศ และโครงการส่งเสริมของภาครัฐ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีวิธีการท างานที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การผลิต การจัดหาผลผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การจ าหน่าย การตรวจสอบรับรอง และส าคัญที่สุด คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิตเกษตรอินทรีย์ และระบบการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน ขณะที่ (ชนวน และคณะ, 2550) แบ่งผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เป็น 3 ประเภท คือ1) ผู้ผลิตเดี่ยว เป็นลักษณะฟาร์มครอบครัวขนาดใหญ่มีเป้าหมายเพื่อการค้า2) กลุ่มผู้ผลิต ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรรายย่อย ส่วนใหญ่จะมีการท าฟาร์มแบบมีพันธสัญญา โดยสามารถแยกย่อยเป็น 2 แบบ ได้แก่ 3) ผู้ประกอบการ หรือฟาร์มบริษัทขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะการผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า มีระดับการรับรองมาตรฐานตามตลาดของสินค้า

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การแปรรูปพืชอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ข้อกำหนดการตรวจรับรองการคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ การผลิตสินค้าพืชอินทรีย์เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และไม่สูญเสียความเป็นอินทรีย์ นอกจากจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตในแปลงปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตพืชอินทรีย์แล้ว ในกระบวนการคัดบรรจุผลิตผลหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติและควบคุมกระบวนการผลิต ให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ควบคู่ไปกับหลักการปฏิบัติระบบการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) โดยก่อนการตรวจประเมินผู้ตรวจประเมินจะต้องศึกษาขั้นตอนและกระบวนการผลิตอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบว่าขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตใดเป็นจุดควบคุมเกษตรอินทรีย์ (Organic Control Points : OCPs) ที่มีความเสี่ยง ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่เหมาะสม อาจมีโอกาสสูญเสียความเป็นอินทรีย์ได้ง่าย โดยทั่วไปแล้วในการตรวจประเมินแปลงปลูกพืชอินทรีย์ จะพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลิตผล ส่วนการคัดบรรจุ จะมีทั้งลักษณะที่เป็นการบรรจุหีบห่อขนาดใหญ่ หรือแบ่งบรรจุเป็นหีบห่อขนาดเล็กจำหน่ายในนามของฟาร์ม นอกจากนี้บริษัทหรือผู้รับซื้ออาจซื้อผลิตผลพืชอินทรีย์จากแปลงเกษตรกรมาคัดบรรจุและจำหน่ายในนามของบริษัทอีกต่อหนึ่ง ซึ่งบริษัทหรือผู้รับซื้อจะต้องได้รับการรับรองการคัดบรรจุหีบห่อพืชอินทรีย์ก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้แสดงตราสัญลักษณ์ Organic Thailand ได้ หรือบริษัทบางแห่งอาจมีเกษตรกรลูกไร่หรือแปลงปลูกพืชอินทรีย์ของบริษัทเอง และมีโรงคัดบรรจุแยกอยู่คนละที่กับแปลงปลูก ผู้ตรวจประเมินจะต้องเข้าตรวจประเมินทั้งแปลงปลูกและโรงคัดบรรจุหีบห่อของบริษัทนั้นด้วย การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทหรือผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืช อินทรีย์จะซื้อวัตถุดิบอินทรีย์จากแปลงเกษตรกรที่ได้รับรองการผลิตพืชอินทรีย์แล้ว แต่หากแปลงปลูกดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองเกษตรกรหรือผู้ประกอบการแปรรูป จะต้องยื่นใบสมัครขอการรับรองแปลงปลูกพืชอินทรีย์ในนามของเกษตรกรหรือบริษัท พร้อมกับขอรับรองการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ผู้นำเข้าผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ที่นำผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์มาบรรจุหีบห่อใหม่ ก็ต้องยื่นใบสมัครขอการรับรองคัดบรรจุหรือแปรรูปด้วยเช่นกัน และผู้ตรวจประเมินจะต้องเข้าตรวจประเมิน ตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ควบคู่ไปกับหลักการปฏิบัติระบบการผลิตที่ดี GoodManufacturing Practice (GMP) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) สถานที่ประกอบการ สถานที่ตั้งของโรงคัดบรรจุหรือโรงงานแปรรูป อยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ไม่อยู่ในแหล่งอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนจากมลพิษ สัตว์ แมลงพาหะนำโรค วัตถุอันตราย ฝุ่นละออง ฝุ่นควัน และสิ่งปฏิกูล สถานที่ผลิตต้องแยกออกจากที่พักอาศัย พื้นอาคารเรียบ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขัง ฝาผนังและเพดานสร้างด้วยวัสดุที่ทนทาน เรียบ ทำความสะอาดง่าย มีการดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่เป็นที่สะสมของฝุ่นละออง และจุลินทรีย์ หน้าต่างและประตูปิดสนิท และมีวิธีการป้องกันการปนเปื้อนก่อนเข้าสู่พื้นที่ผลิต หรือถ้าเป็นระบบเปิด ควรมีการป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์และแมลงจากภายนอกอาคาร มีการระบายอากาศได้ดี การวางพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ ต้องมีทิศทางลมพัดจากส่วนที่สะอาดไปยังส่วนที่ไม่สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน มีพื้นที่เพียงพอสำหรับติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต มีการจัดพื้นที่ผลิตเป็นสัดส่วน เรียงลำดับตามสายงานการผลิต และแบ่งแยกพื้นที่หรือเวลาการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลิตภัณฑ์ทั่วไปออกจากกันอย่างชัดเจน 2) เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ มีพอเพียงต่อการปฏิบัติงาน ติดตั้งอยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก หลักเลี่ยงการมีซอกมุม ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์ และทนต่อการกัดกร่อน ทำความสะอาดได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปรอะเปื้อนน้ำมันหล่อลื่น จาระบี หรือสารอันตราย หากมีการผลิตทั้งผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลิตภัณฑ์ทั่วไปในโรงคัดบรรจุหรือโรงงานแปรรูปเดียวกัน ต้องแยกเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ พร้อมทั้งบ่งชี้หรือแสดงป้ายเพื่อแยกการใช้เครื่องมือ…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1-2552 (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ,2552). กรมวิชาการเกษตรด าเนินตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดมาตรฐานสินคาเกษตร : เกษตรอินทรีย เลม 1 : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหนายผลิตผลและผลิตภัณฑเกษตรอินทรีย (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552) โดยแบ่งการตรวจรับรองออกเป็น6 ประเภท ดังนี้ 1) การขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์2) การรับรองการคัดบรรจุพืชอินทรีย์3) การรับรองการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์4) การรับรองการรวบรวมผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์5) การรับรองการจัดจำหน่ายผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์6) การรับรองการนำเข้าผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ข้อกำหนดการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552) 1) พื้นที่1.1) ขอกำหนดวิธีผลิตพืชอินทรียใหนำมาใชปฏิบัติตลอดระยะการปรับเปลี่ยนเปนเวลาอยางนอย 12 เดือน กอนปลูกสำหรับพืชลมลุก และ 18 เดือนกอนเก็บเกี่ยวผลิตผลอินทรียครั้งแรก สำหรับพืชยืนตน โดยระยะการปรับเปลี่ยน นับตั้งแต่ผู้ผลิตไดนำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติแลว และสมัครขอรับการรับรองตอหนวยรับรอง และอาจเพิ่มระยะปรับเปลี่ยนขึ้นได้ หากมีการใช้สารเคมีในปริมาณมาก1.2) พื้นที่ไม่มีการใช้สารเคมีนานเกิน 12 เดือน สำหรับพืชล้มลุก และ 18 เดือน สำหรับพืชยืนต้น สามารถพิจารณาลดระยะปรับเปลี่ยนลงได้ แต่่ต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน1.3) การปลูกพืชคู่ขนาน (ปลูกทั้งระบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี) หรือทยอยเปลี่ยนพื้นที่ได้ แต่่ต้องเป็นพืชต่างชนิด ต่างพันธุ์ และต้องแยกพื้นที่ และกระบวนการจัดการพืชอินทรีย์และไม่ใช่ อินทรีย์ได้อย่างชัดเจน1.4) ต้องไม่เปลี่ยนกลับไปทำการเกษตรที่ใช้สารเคมี1.5) แหล่งน้ำ ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี โลหะหนัก น้ำชลประทานต้องมีบ่อพัก และมีผลวิเคราะห์น้ำ 2) การวางแผนการจัดการมีมาตรการและการป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก โดยต้องเป็นแนวกันชนที่มีประสิทธิภาพ วางแผนระบบการผลิตพืช เลือกฤดูปลูกและพันธุ์ที่เหมาะสม มีการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ มีการดูแลสุขลักษณะในแปลงปลูก และมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ 3) เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือการผลิตพืชทั่วไป แต่่ต้องไม่คลุกสารเคมี หากคลุกสารเคมี ต้องกำจัดออกอย่างเหมาะสมก่อนปลูก 4) การจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน4.1) รักษาหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและกิจกรรมทางชีวภาพ ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสด พืชรากลึก ใช้วัสดุจากพืช สัตว์ สารอินทรีย์…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, (2555). ได้ประมวลแนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การทำเกษตรอินทรีย์เน้นการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติการอนุรักษ์ธรรมชาติและระบบนิเวศ โดยการประยุกต์ ปรับใช้กลไกนิเวศธรรมชาติสำหรับการทำเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ การหมุนเวียนธาตุอาหาร การสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสัมพันธ์แบบสมดุลของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย การอนุรักษ์ และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร การหมุนเวียนธาตุอาหารอาศัยหลักการทางธรรมชาติด้วยการใช้ธาตุอาหารพืช ที่อยู่ในรูปของอินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ซึ่งจะทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียน ได้อย่างต่อเนื่องตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ คือ การใช้ปุ๋ยหมัก การคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุ การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน ถือเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรอินทรีย์นั้น เกษตรกรต้องหาอินทรียวัตถุต่างๆ มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ฟาง ใบไม้ซึ่งอินทรียวัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง และการไม่ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังเป็นการช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พืชที่ปลูกมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง รวมทั้งให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ การทำเกษตรอินทรีย์ จะต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชรวมหลายชนิด ในเวลาเดียวกัน หรือเหลื่อมเวลากัน ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้การทำเกษตรที่หลากหลาย (เกษตรผสมผสาน) นับเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และยังเป็นการลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด อีกด้วย นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถ แสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืช เป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตรอีกวิธีหนึ่ง การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ทุกชนิด เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทำลายสมดุลของนิเวศการเกษตร และ ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งที่อยู่บนผิวดินและใต้ดิน เช่น สัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ ในกลไกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญ ในการสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร นอกจากการอนุรักษ์ยังเน้นการฟื้นฟูสมดุลและ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศด้วย การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร เกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่บนปรัชญา แนวคิด การเกษตรที่ยั่งยืนต้องเป็นการเกษตรที่เป็นไปตามวิถีธรรมชาติกลไกในธรรมชาติที่สำคัญ ต่อการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร วงจรการหมุนเวียนของน้ำ รวมทั้ง การพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพา และ ห่วงโซ่อาหาร ระบบนิเวศและกลไกตามธรรมชาติของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน เกษตรกร ที่ทำเกษตรอินทรีย์จึงจ าเป็นต้องเรียนรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่ การหมั่นสังเกต เรียนรู้วิเคราะห์ – สังเคราะห์และทำการทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อได้ใช้ประโยชน์จากกลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่น อย่างเต็มที การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต มุ่งให้เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัยการ ผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ฯลฯ ด้วยตนเอง และปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น เพื่อสอดคล้องกับนิเวศของท้องถิ่น ช่วยสร้างความมีเสถียรภาพและความยั่งยืนของระบบการผลิต ในระยะยาว และเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ หลักการเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) กำหนดหลักการ ที่สำคัญของการผลิตเกษตรอินทรีย์4ด้าน คือ ด้านสุขภาพ (Health) ด้านนิเวศวิทยา (Ecology) ด้านความเป็นธรรม (Fairness) และ ด้านการดูแลเอาใจใส่ (Care) (มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, 2555). รายละเอียด ของหลักการ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสุขภาพ (Health) เกษตรอินทรีย์ควรจะต้อง ส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์มนุษย์และโลก 1) สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของ ระบบนิเวศ การที่ผืนดินมี ความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร2) สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของ สิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึง ภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเอง จากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี3) บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต ในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มี เป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์ จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์ จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ ด้านนิเวศวิทยา (Ecology) เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของ ระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติการผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฏจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น 1) หลักการเกษตรอินทรีย์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้น การผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น การปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะต้องใส่ใจ กับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศ ของบ่อเลี้ยง2) การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้อง สอดคล้องกับวัฏจักรและสมดุลทางธรรมชาติแม้ว่าวัฏจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมี ลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ดังนั้น การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับ เงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัย การผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำการหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน3) ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบ ระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลาย ทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร ผู้คนต่างๆ…