เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, (2555). ได้ประมวลแนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การทำเกษตรอินทรีย์เน้นการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติการอนุรักษ์ธรรมชาติและระบบนิเวศ โดยการประยุกต์ ปรับใช้กลไกนิเวศธรรมชาติสำหรับการทำเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ การหมุนเวียนธาตุอาหาร การสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสัมพันธ์แบบสมดุลของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย การอนุรักษ์ และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร

การหมุนเวียนธาตุอาหารอาศัยหลักการทางธรรมชาติด้วยการใช้ธาตุอาหารพืช ที่อยู่ในรูปของอินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ซึ่งจะทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียน ได้อย่างต่อเนื่องตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ คือ การใช้ปุ๋ยหมัก การคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุ การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน ถือเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรอินทรีย์นั้น เกษตรกรต้องหาอินทรียวัตถุต่างๆ มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ฟาง ใบไม้ซึ่งอินทรียวัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง และการไม่ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังเป็นการช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พืชที่ปลูกมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง รวมทั้งให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง

ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ การทำเกษตรอินทรีย์ จะต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชรวมหลายชนิด ในเวลาเดียวกัน หรือเหลื่อมเวลากัน ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้การทำเกษตรที่หลากหลาย (เกษตรผสมผสาน) นับเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และยังเป็นการลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด อีกด้วย นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถ แสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืช เป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตรอีกวิธีหนึ่ง

การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ทุกชนิด เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทำลายสมดุลของนิเวศการเกษตร และ ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งที่อยู่บนผิวดินและใต้ดิน เช่น สัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ ในกลไกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญ ในการสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร นอกจากการอนุรักษ์ยังเน้นการฟื้นฟูสมดุลและ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศด้วย

การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร เกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่บนปรัชญา แนวคิด การเกษตรที่ยั่งยืนต้องเป็นการเกษตรที่เป็นไปตามวิถีธรรมชาติกลไกในธรรมชาติที่สำคัญ ต่อการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร วงจรการหมุนเวียนของน้ำ รวมทั้ง การพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพา และ ห่วงโซ่อาหาร ระบบนิเวศและกลไกตามธรรมชาติของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน เกษตรกร ที่ทำเกษตรอินทรีย์จึงจ าเป็นต้องเรียนรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่ การหมั่นสังเกต เรียนรู้วิเคราะห์ – สังเคราะห์และทำการทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อได้ใช้ประโยชน์จากกลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่น อย่างเต็มที

การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต มุ่งให้เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัยการ ผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ฯลฯ ด้วยตนเอง และปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น เพื่อสอดคล้องกับนิเวศของท้องถิ่น ช่วยสร้างความมีเสถียรภาพและความยั่งยืนของระบบการผลิต ในระยะยาว และเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ