เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

มาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1-2552 (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ,
2552). กรมวิชาการเกษตรด าเนินตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดมาตรฐานสินคาเกษตร : เกษตรอินทรีย เลม 1 : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหนายผลิตผลและผลิตภัณฑเกษตรอินทรีย (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552) โดยแบ่งการตรวจรับรองออกเป็น6 ประเภท ดังนี้

1) การขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์
2) การรับรองการคัดบรรจุพืชอินทรีย์
3) การรับรองการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์
4) การรับรองการรวบรวมผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์
5) การรับรองการจัดจำหน่ายผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์
6) การรับรองการนำเข้าผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์

ข้อกำหนดการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552)

1) พื้นที่
1.1) ขอกำหนดวิธีผลิตพืชอินทรียใหนำมาใชปฏิบัติตลอดระยะการปรับเปลี่ยนเปนเวลาอยางนอย 12 เดือน กอนปลูกสำหรับพืชลมลุก และ 18 เดือนกอนเก็บเกี่ยวผลิตผลอินทรียครั้งแรก สำหรับพืชยืนตน โดยระยะการปรับเปลี่ยน นับตั้งแต่ผู้ผลิตไดนำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติแลว และสมัครขอรับการรับรองตอหนวยรับรอง และอาจเพิ่มระยะปรับเปลี่ยนขึ้นได้ หากมีการใช้สารเคมีในปริมาณมาก
1.2) พื้นที่ไม่มีการใช้สารเคมีนานเกิน 12 เดือน สำหรับพืชล้มลุก และ 18 เดือน สำหรับพืชยืนต้น สามารถพิจารณาลดระยะปรับเปลี่ยนลงได้ แต่่ต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน
1.3) การปลูกพืชคู่ขนาน (ปลูกทั้งระบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี) หรือทยอยเปลี่ยนพื้นที่ได้ แต่่ต้องเป็นพืชต่างชนิด ต่างพันธุ์ และต้องแยกพื้นที่ และกระบวนการจัดการพืชอินทรีย์และไม่ใช่ อินทรีย์ได้อย่างชัดเจน
1.4) ต้องไม่เปลี่ยนกลับไปทำการเกษตรที่ใช้สารเคมี
1.5) แหล่งน้ำ ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี โลหะหนัก น้ำชลประทานต้องมีบ่อพัก และมีผลวิเคราะห์น้ำ

2) การวางแผนการจัดการ
มีมาตรการและการป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก โดยต้องเป็นแนวกันชนที่มีประสิทธิภาพ วางแผนระบบการผลิตพืช เลือกฤดูปลูกและพันธุ์ที่เหมาะสม มีการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ มีการดูแลสุขลักษณะในแปลงปลูก และมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

3) เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือการผลิตพืชทั่วไป แต่่ต้องไม่คลุกสารเคมี หากคลุกสารเคมี ต้องกำจัดออกอย่างเหมาะสมก่อนปลูก

4) การจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน
4.1) รักษาหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและกิจกรรมทางชีวภาพ

  • ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสด พืชรากลึก
  • ใช้วัสดุจากพืช สัตว์ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ ตามที่มาตรฐานกำหนด
  • อาจเร่งปฏิกิริยาของปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์หรือวัสดุจากพืช
    4.2) มีมาตรการและการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
    4.3) ไม่เผาทำลายเศษซากพืชในแปลงปลูก

5) การจัดการศัตรูพืช
5.1) มีมาตรการและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช

  • เลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสม
  • ปลูกพืชหมุนเวียน
  • ใช้เครื่องมือกล/วิธีกล
  • อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
  • รักษาระบบนิเวศ
  • ใช้ศัตรูธรรมชาติ
  • คลุมดินหรือตัดแต่่ง
  • ปล่อยสัตว์เลี้ยง
  • ใช้สิ่งที่ได้จากการเตรียมทางชีวพลวัต หินบด ปุ๋ยคอก วัสดุจากพืช
    5.2) ใช้สารตามที่มาตรฐานกำหนด รายละเอียดตามภาคผนวก
    5.3) หากใช้สารที่นอกเหนือจากที่มาตรฐานกำหนด ต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยรับรอง

6) การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

  • รักษาความเป็นผลิตผลอินทรีย์ตลอดกระบวนการผลิต
  • ไม่ผ่านการฉายรังสี
  • แยกออกจากผลิตผลที่ไม่ใช่อินทรีย์ มีการจัดการที่ไม่ทำให้ปนเปื้อนสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ และมีการชี้บ่งที่ชัดเจน
  • มีการป้องกัน ควบคุม และกำจัดศัตรูพืช

7) การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการขนส่ง
7.1) การบรรจุหีบห่อ

  • แยกออกจากผลิตผลที่ไม่ใช่อินทรีย์ มีการจัดการที่ไม่ทำให้ ปนเปื้อนสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ และมีการชี้บ่งที่ชัดเจน
  • ควรเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
    7.2) การเก็บรักษาและการขนส่ง
  • ป้องกันผลิตผลพืชอินทรีย์ไม่ให้ปะปนกับผลิตผลที่ไม่ใช่พืชอินทรีย์
  • ผลิตผลพืชอินทรีย์ไม่สัมผัสกับวัสดุหรือสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้
  • มีการบ่งชี้ที่แยกผลิตผลพืชอินทรีย์ออกจากผลิตผลไม่ใช่พืชอินทรีย์

8) การแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง
8.1) รายละเอียดบนฉลากเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ชัดเจน ไม่เป็นเท็จ

  • ชื่อผลิตผล รหัสการรับรอง ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ประเทศผู้ผลิต คำแนะนำการเก็บรักษา ปริมาณหรือน้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต
    8.2) ผลิตผลต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ 100 %
    8.3) เครื่องหมายรับรองเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่หน่วยรับรองกำหนด
    8.4) แสดงเครื่องหมายตรงตามขอบข่ายที่ได้รับการรับรอง

9) การบันทึกข้อมูลการผลิต
9.1) บันทึก หลักฐาน เอกสารแสดงการผลิตพืชอินทรีย์แยกจากผลิตพืชทั่วไป
9.2) จัดทำประวัติ แผนที่ แผนผังฟาร์มที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
9.3) จัดทำแผนการผลิตและจดบันทึกการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน

  • แหล่งที่มา ชนิด ปริมาณและการใช้ปัจจัยการผลิต วันปลูก การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดศัตรูพืช วันเก็บเกี่ยว ชนิดและปริมาณผลิตผล การจำหน่ายผลิตผล และการขนส่ง

10) การทวนสอบ

  • มีบันทึก หลักฐาน เอกสารที่ตรวจสอบย้อนกลับสู่แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ได้
  • มีการจัดเก็บบันทึก เอกสารการผลิตอย่างน้อย 1 รอบการรับรอง หรือ 1 รอบการผลิต

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ. 9000 เล่ม 1-2552)
หลักการของเกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ต้องเป็นไปตามหลักการ ดังนี้
1 พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์
2 พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
3 ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพน้ำด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และ ปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4 รักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์ม และความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวม
5 ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
6 ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
7 รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ของระบบการเกษตรและระบบนิเวศรอบข้าง รวมทั้งการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชและสัตว์ป่า
8 รักษาความเป็นอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่การผลิต แปรรูป เก็บรักษา และจำหน่าย
9 หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ตลอดกระบวนการผลิต แปรรูป และเก็บรักษา
10 ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ต้องไม่มาจากการดัดแปรพันธุกรรม
11 ผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ต้องไม่ผ่านการฉายรังสี