เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่ง(วิฑูรย์ และเจษณี,2546) และ (พันธ์จิตต์, 2549) ได้อธิบายไว้ดังนี้

1) เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเอง

เป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งพัฒนามาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูภูมิปัญญาไทยไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรับรอง มุ่งเน้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการลดปัจจัยน าเข้าที่ต้องซื้อจากภายนอก ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและก าจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง

2) เกษตรอินทรีย์แบบรับรองมาตรฐาน

เป็นการท าเกษตรอินทรีย์แบบมีการรับรองมาตรฐาน มุ่งเน้นเพื่อจ าหน่ายผ่านทางระบบตลาดทั่วไปหรือการตลาดทางเลือก ซึ่งเมื่อได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ผู้บริโภคก็จะพิจารณาเลือกซื้อจากความเชื่อถือในตรารับรอง และหากตรารับรองมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานจากต่างประเทศ จะท าให้ผลผลิตสามารถส่งออกไปจ าหน่ายในต่างประเทศได้ด้วย หรือส าหรับผู้ผลิต-ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกก็มักจะขอรับรองมาตรฐานของประเทศนั้น ๆ ที่ต้องการส่งออกอย่างไรก็ตามในระดับสากลค าว่าเกษตรอินทรีย์จะหมายถึง การท าเกษตรอินทรีย์ที่มีการตรวจรับรองมาตรฐานเท่านั้น แต่ส าหรับในประเทศไทยเนื่องจากการท าเกษตรอินทรีย์เริ่มต้นมาจากการท าเกษตรทางเลือก และมีความคล้ายคลึงกับการท าการเกษตรในอดีตของไทยที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร นอกจากนั้นในการส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ในระยะเริ่มต้นมุ่งเน้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตและยังไม่มีการรับรองมาตรฐาน ดังนั้นเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยจึงมี 2 รูปแบบดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

รูปแบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

การผลิตเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะการผลิตข้าวและผักอินทรีย์มีหลายรูปแบบ จากการศึกษาของ(ศุภชัย และคณะ, 2550) พบว่ามีผู้ผลิต 7 รูปแบบ ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทส่งออกที่มีฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บริษัทส่งออกที่ท าสัญญากับเกษตรกร เจ้าของฟาร์มผู้จ าหน่ายภายในประเทศ ผู้รวบรวมผลผลิตจัดจ าหน่ายภายในประเทศ ผู้แปรรูปจัดจ าหน่ายภายในประเทศ และโครงการส่งเสริมของภาครัฐ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีวิธีการท างานที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การผลิต การจัดหาผลผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การจ าหน่าย การตรวจสอบรับรอง และส าคัญที่สุด คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิตเกษตรอินทรีย์ และระบบการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน

ขณะที่ (ชนวน และคณะ, 2550) แบ่งผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เป็น 3 ประเภท คือ
1) ผู้ผลิตเดี่ยว เป็นลักษณะฟาร์มครอบครัวขนาดใหญ่มีเป้าหมายเพื่อการค้า
2) กลุ่มผู้ผลิต ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรรายย่อย ส่วนใหญ่จะมีการท าฟาร์มแบบมี
พันธสัญญา โดยสามารถแยกย่อยเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • กลุ่มเกษตรกรภายใต้โครงการเกษตรอินทรีย์
  • กลุ่มเกษตรกรภายใต้การท าสัญญาเป็นผู้ผลิต (Grower) ให้แก่บริษัทผู้ค้า โดยผลผลิตเกษตรอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัท

3) ผู้ประกอบการ หรือฟาร์มบริษัทขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะการผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า มีระดับการรับรองมาตรฐานตามตลาดของสินค้า