• เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การสร้างโรงงานในฟาร์ม วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    การสร้างโรงงานในฟาร์ม จากที่เล่าในบทที่ 1 ว่าผมตัดสินในผลิตน้ํายาซักผ้าและสบู่จากน้ํามันที่สกัดจาก พืช ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปรับสภาพแหล่งน้ําให้ดีขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ผมคิดว่าต้องทําให้ได้ก็ คือ การสร้างโรงงานในฟาร์ม ตอนแรกโรงงานเป็นเพียงห้องเล็ก ๆ 2 ห้อง แต่ละห้องมีพื้นที่ 50 ตารางเมตร ห้องแรกใช้ผลิตน้ํายาล้างจานสูตรธรรมชาติ น้ํายาซักผ้าสูตรธรรมชาติ และสบู่โอลีฟออยล์ ส่วนอีกห้องใช้ผลิตผงผักโมโรเฮยะ แยมปลอดสารเคมี และชาสมุนไพรออร์แกนิก สินค้าเหล่านี้วางจําหน่ายตามซุปเปอร์มาร์ เกตและห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เมื่อมีคนเข้าใจว่าดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไร ลูกค้า ที่สนใจผลิตภัณฑ์ก็มีมากขึ้น ในตอนนั้น เมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกหรือสินค้าที่ทําจากวัตถุดิบ ธรรมชาติกับสินค้าทั่วไปตามท้องตลาดแล้ว ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจต่อสินค้าออร์แกนิ กน้อยมาก ทั้งสินค้ายังมีราคาแพงและหาซื้อยาก ลูกค้ากลุ่มแรก ๆ จึงเป็นแม่บ้านชาวญี่ปุ่น ที่ย้ายตามสามีเข้ามาอยู่ในประเทศไทยซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ ปีต่อมา ฮาร์โมนี้ไลฟ์เริ่มผลิตบะหมี่ผักที่ทําจากผงผักโมโรเฮยะออร์แกนิก ตอน นั้นชาวไทยยังไม่มีใครรู้จักผักโมโรเฮยะเลย การจําหน่ายจึงเป็นไปอย่างยากลําบาก ผม ตัดสินใจขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้น และเริ่มผลิตสินค้าจากผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร การมี โรงงานมีข้อดีเพราะทําให้ประกอบธุรกิจได้หลากหลาย ซึ่งผมจะเล่าถึงในโอกาสต่อไป

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การวางแผนพัฒนาที่ดินและสวนเกษตร วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    การได้ที่ดินมานับเป็นเรื่องที่โชคดีมาก แต่ที่ดินผืนนี้ยังใช้เพาะปลูกไม่ได้เนื่องจาก มีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นอยู่ดกดื่น ดังนั้นก้าวแรกในการทําเกษตรของฮาร์โมนี้ไลฟ์คือ “การ จัดสรรที่ดิน” หลังจากแบ่งสัดส่วนพื้นที่เสร็จแล้วจึงเริ่มลงมือทําจริง ปัญหาแรกที่ต้องเจอขณะเตรียมที่ดินเพื่อเพาะปลูกคือ ต้องกําจัดรากไม้ตอ ไม้ใหญ่ๆ รวมถึงก้อนหินน้อยใหญ่ที่มีอยู่มากมาย ผมนําเครื่องจักรกลมาจัดการปัญหานี้ แต่ต้องใช้แรงงานคนด้วยอยู่ดี นอกจากผมแล้วยังมีชาวญี่ปุ่นอีกหลายคนที่เชี่ยวชาญเรื่อง เกษตรกรรมซึ่งหาซื้อที่ดินเพื่อทําเกษตรในประเทศอื่น แต่ละคนพบเจออุปสรรคและความ ลําบากแตกต่างกันไป บางคนนําเรื่องราวเหล่านั้นไปเขียนหนังสือ ผมเองก็พบความยาก ลําบากเช่นเดียวกับพวกเขานั่นคือการพัฒนาพื้นที่ทําเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องยากที่สุด เพราะต้องกําจัดตอไม้ ต้นไม้ใหญ่ๆ ทิ้ง การปรับสภาพดิน เป็นการจัดการแบ่งเขตพื้นที่ทําเกษตรไปพร้อมกัน ในตอน นั้นผมยังไม่มีประสบการณ์ด้านงานเกษตร โชคดีที่ได้รับคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนการทําเกษตรกรรมอยู่แล้วจึงมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญใน มหาวิทยาลัยหลายท่าน เท่าที่ผมศึกษามาก็ทราบว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็น มหาวิทยาลัยรัฐที่ส่งเสริมการทําเกษตรของประเทศโดยตรง ผมจึงตัดสินใจไปที่นั้นและ ได้รู้จักกับอาจารย์บรรลุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ํา “น้ํา” สําคัญต่อการเพาะปลูกมาก อาจารย์บรรลุเป็นคนแรกที่ศึกษาวิจัยเรื่อง การเพาะปลูกเพื่อการเกษตร ผมจึงคิดว่าคงไม่มีใครเหมาะจะเป็นผู้ให้คําแนะนําแก่ผมซึ่ง อยากทําธุรกิจโดยดูแลอนุรักษ์แหล่งน้ําไปได้มากกว่าท่านอีกแล้ว ท่านสอนให้ผมรู้ว่าดิน เหนียวอุ้มน้ําได้ดี แต่ระบายน้ําไม่ดี ที่ดินที่ผมซื้อมานั้นเป็นดินเหนียวสีแดง และ ประเทศไทยก็มีฤดูฝนนานเกือบครึ่งปี เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ฝนจะตกเกือบทุกวัน ดินที่มีความ เหนียวระบายน้ําไม่ดี จึงทําให้รากพืชเน่า พืชอ่อนแอเป็นโรคง่าย อาจารย์บรรลุแนะนํา ว่าสิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษในการปลูกพืชคือ การจัดการดินให้ระบายน้ําได้ดี การปรับปรุงที่ดินเพื่อทําการเกษตรนั้นเป็นเรื่องยากและต้องใช้เงินมาก ด้วยเหตุนี้ การ ทําแปลงเกษตรของฟาร์มฮาร์โมนี้ไลฟ์จึงต้องขอคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ ในที่สุดการพัฒนา ปรับปรุงดินและการเตรียมพื้นที่ก่อสร้างก็เรียบร้อย ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การปฏิบัติจริงที่ใคร ๆ ก็ทําได้ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    เกษตรอินทรีย์ การปฏิบัติจริงที่ใคร ๆ ก็ทําได้ประเทศไทย ดินแดนแห่งเกษตรกรรมประเทศไทยเป็นดินแดนอุดมสมบรูณ์ มีแม่น้ําน้อยใหญ่ ที่ราบสูงและที่ลุ่ม มากมาย เกษตรกรรมจึงรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต ภาคเหนือของประเทศมีพื้นที่ป่าค่อนข้างมาก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา อากาศจึงเย็นสบายเพาะปลูกพืชที่ชอบอากาศเย็น อย่างลําไย ส้ม และลิ้นจีได้ดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ เกษตรกรนิยมปลูกข้าว มัน สําปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย ภาคใต้มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจึงร้อนชื้น มีฝนตกมาก พืชเศรษฐกิจสําคัญได้แก่ปาล์มน้ํามัน มะพร้าว และ ยางพารา ส่วนภาคกลางมีดินอุดมสมบรูณ์จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สําคัญของประเทศแม้ปัจจุบันประเทศไทยจะจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และงานบริการ แต่ “เกษตรกรรม” ก็ยังเป็นอาชีพหลักของชาวไทยส่วนใหญ่เมื่อมองภาพรวมจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างยิ่ง ด้วยปริมาณน้ําฝนและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการทําเกษตร ทําให้ส่งออกผลผลิตไปขายยังต่าง ประเทศได้ปริมาณมากโดยมีข้าวและผลไม้เป็นหลัก ข้าวหอมมะลิและผลไม้จาก ประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกแน่นอนว่าผลผลิตทางการเกษตรจํานวนหนึ่งก็ถูกส่งไป ขายยังประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยที่จะมีชาวญี่ปุ่นบอกว่ารู้จักผลไม้ชนิดนั้นชนิด นี้ของประเทศไทยในช่วงต้นปี พ.ศ.2542 ที่ผมเริ่มทําเกษตรนั้น ยังไม่มีเกษตรกรไทยคนไหนทํา เกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง กระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สํารวจพบว่า เกษตรกร ไทยใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีมากถึง 99.8%หากเทียบกับพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศแล้ว จะเห็นว่ามีพื้นที่ทําเกษตรอินทรีย์ไม่ถึง 1% ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึง เริ่มเผยแพร่แนวคิดการทําเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2544 แม้ผมจะตั้งเป้าไว้ว่าต้องทําเกษตรให้โด่งดังถึงระดับประเทศ แต่ถ้าไม่มีที่ดินเรื่อง ก็คงหยุดอยู่แค่นั้น และถ้าจะทําเกษตรอินทรีย์จริงๆจังๆ ก็ต้องเลือกที่ดินที่ไม่เคยทําเกษตร มาก่อน บางท่านอาจสงสัยว่าทําไมล่ะ คําตอบคือ ที่ดินที่เคยทําเกษตรร้อยทั้งร้อยล้วน เคยได้รับปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาก่อน สารเคมีที่สะสมอยู่ในดินต้องใช้เวลาย่อยสลาย อย่างน้อย 5 ปี การเลือกที่ดินจึงสําคัญมาก ประเทศไทยมีกฎหมายเข้มงวดเรื่องการซื้อที่ดินโดยชาวต่างชาติแม้ผมอยากทํา เกษตรมากเพียงใด ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้อและครอบครองที่ดินอยู่ดี ผมอยากทําเกษตร แต่กลับซื้อที่ดินไม่ได้ แถมที่ดินที่เหมาะกับการทําเกษตรอินทรีย์ยังหายากมาก ผมอยาก ได้ที่ดินขนาดใหญ่ เพราะฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ผมคิดจะทํานั้น ต้องมีทั้งแปลงเกษตร ระบบจัดการน้ําในฟาร์ม สถานที่อบรมการทําเกษตรอินทรีย์ สถานีวิจัย ที่พัก และโรงงาน แปรรูปผลผลิต จึงต้องใช้เงินทุนสูงมากชีวิตเกษตรกรของผมต้องเจอกับกําแพงขนาดใหญ่ เสียแล้ว สิ่งแรกที่ผมต้องตัดสินใจคือ จะซื้อที่ดินแถวไหนดี โดยส่วนตัวผมรู้สึกเหมือนองค์ พระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานอยู่กลางเขามาดลใจ เพราะหลังจากตัดสินใจว่าจะทําเกษตร เมื่อเดินทางผ่านไปแถวนั้นผมรู้สึกว่าพระพุทธรูปทอดสายตามองลงมายังผืนดินผืนหนึ่ง บริเวณนั้น ผมบอกเพื่อนชาวไทยที่รู้จักกันว่าอยากให้ช่วยหาข้อมูลของที่ดินตรงเชิงเขาที่ พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้หน่อย หลายวันต่อมาเพื่อนก็มาหาผมด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พร้อมพูดว่า “ตาแหลมมาก เลยนะโอกะซัง เซนส์ของคุณนี้ใช้ได้เลย ที่ดิน 50 ไร่ ตรงนั้นยังว่างอยู่” ผมดีใจและ ประหลาดใจมาก ไม่รู้ว่าจะใช่แรงดลใจจากพระพุทธรูปหรือเปล่า แถมเจ้าของที่ดินยังเป็น…

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผลไม้ ผัก เห็ดนางรม การเก็บผัก ผักอินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว ดอกเห็ดนางรมที่เหมาะแก่การเก็บ คือ ในช่วงที่ดอกเห็ดไม่บานจนเกินไปขอบหมวกไม่แตก ไม่ฉีกขาด ขอบดอกยังงุ้มอยู่ ถ้าหมวกดอกบานมากจนขอบของหมวกม้วนขึ้น แสดงว่าดอกเห็ดแก่เกินไป การเก็บเกี่ยวใช้วิธีการจับดอกเห็ดขยับเล็กน้อยแล้วดึงออก ดอกเห็ดจะหลุดจากวัสดุเพาะ อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(วัน) หมายเหตุ 8-10 4 บรรจุถาดโฟมหุ้มด้วยฟิล์มโพลีเอทธิลีนเจาะรู * ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% บรรจุภัณฑ์สำหรับเห็ดนางรม คือ บรรจุถาดโฟมหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติกโพลีเอทธิลีน (polyethylene) เจาะรู

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผลไม้ ผัก มะเขือเปราะ การเก็บผัก ผักอินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว มะเขือเปราะสามารถเก็บเกี่ยวหลังจากย้ายกล้าลงปลูกในแปลงแล้วประมาณ 45-80 วัน และจะเก็บเกี่ยวผลิตผลทุกๆ 3 วัน ต่อไปได้ประมาณ 2 ปีทั้งนี้ขึ้นกับสายพันธุ์ แหล่งเพาะปลูก และการดูแลรักษา อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(วัน) หมายเหตุ 10-12 14 ตัดแต่งขั้วออกแล้วบรรจุในถาดโฟมพร้อมหุ้มด้วยโพลีเอทธีลีน 15 21 * ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% การบรรจุมะเขือเปราะเพื่อการส่งออก คือ บรรจุในถุงโพลีเอทธิลีน(polyethylene) แบบเจาะรู บรรจุถาดแล้วห่อหุ้มด้วยฟิล์มโพลีไวนิลคลอไรด์(polyvinyl chloride) หรือใช้ฟิล์มโพลีโพรพิลีน(polypropylene) หรือโพลีเอทธิลีนเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนัก

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผลไม้ ผัก กะเพรา การเก็บผัก ผักอินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว กะเพราสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 30-35 วันหลังปลูก โดยใช้มีดคมๆ ตัดลำต้นหรือกิ่งห่างจากยอดลงมาประมาณ 10-15 เซนติเมตร (กรณีที่ยังไม่มีผู้รับซื้อ เกษตรกรสามารถชะลอการเก็บเกี่ยวออกไปได้โดยการเด็ดยอดที่มีดอกทิ้ง) หลังจากตัดลำต้นแล้วกะเพราจะแตกยอดและกิ่งก้านออกมาใหม่ การเก็บเกี่ยวสามารถทำได้ทุก 15 วัน ไปตลอดระยะเวลา 7-8 เดือน หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงเรื่อยๆ จึงควรทำการถอนทิ้งเพื่อปลูกใหม่ อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(วัน) หมายเหตุ 5 4 เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลานานขึ้น กะเพราจะแสดงอาการสะท้านหนาว คือ ใบจะเกิดจุดสีน้ำตาล เป็นจุดฉ่ำน้ำ ใบร่วง เนื้อเยื่อตาย และเน่าเสีย 10 9 บรรจุถุงโพลีโพรพิลีนเจาะรู 12 14 บรรจุถุงโพลีโพรพิลีนเจาะรู 13 9 บรรจุถุงโลวเดนซิตี้โพลีเอทธิลีน 13 12 บรรจุถุงโลวเดนซิตี้โพลีเอทธิลีนและมีตัวดูดซับเอทธิลีน * ความชื้นสัมพัทธ์ 95-100% บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยรักษาคุณภาพกะเพรา ได้แก่ ถุงโพลีโพรพิลีน(polypropylene) เจาะรู หรือถุงโลวเดนซิตี้โพลีเอทธิลีน (low density polyethylene)