เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

วางระบบ เกษตรอินทรีย์ การจัดการด้านสารละลาย smart farmer ออร์แกนิค organic

การจัดการด้านสารละลาย

การเตรียมสารละลายธาตุอาหารเพื่อใช้ปลูกพืชมี 2 แบบ คือการเตรียมสารละลายแบบเจือจางและการเตรียมสารละลายแบบเข้มข้น (Stock Solution)

การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช

1.การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเจือจาง
เตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยเคมีโดยตรง

2.ถังใส่สารละลายธาตุอาหารพืชแบบเจือจาง
ได้จากการนำปุ๋ยเคมีตามสูตรที่คำนวณแล้วมาผสมน้ำสะอาดในถังใส่สารละลายธาตุอาหารเพื่อนำไปใช้ปลูกพืชตามต้องการ

การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเข้มข้น (Stock Solution)
โดยการนำปุ๋ยเคมี ตามสูตรที่คำนวณแล้วมาเตรียมเป็นสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเข้มข้นสูง 2 ถังเรียกว่า Stock Solution A และStock Solution B

ถังใส่สารละลายธาตุอาหารพืชแบบเจือจาง
ได้จากการนำสารละลายแบบเข้มข้นจาก Stock Solution A และ B มาผสมกับน้ำสะอาดเพื่อทำให้เจือจางตามอัตราส่วนที่กำหนด ใส่ลงในถังสารละลายธาตุอาหารแบบเจือจางเพื่อนำไปใช้ปลูกพืชตามต้องการ

  1. วิธีการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช

1.1 การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเจือจางเป็นการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชเพื่อใช้ในถังที่ใช้ปลูกพืชโดยตรง การเตรียมแบบนี้สะดวก แต่ต้องเตรียมบ่อย ๆ เริ่มจากเมื่อทราบปริมาณของธาตุอาหาร คำนวณน้ำหนักและจัดหาปุ๋ยเคมี ผสมปุ๋ยเคมีทั้งหมดในน้ำสะอาดแล้วเติมน้ำจนครบ

1.2 การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเข้มข้นการเตรียมสารละลายธาตุอาหารที่มีความเข้มข้น (Stock Solution) จะเริ่มจากการเตรียมสารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้นไว้ 2 ถัง เรียกว่าStock Solution A และ Stock Solution B และเมื่อต้องการใช้ก็จะเอาStock Solution มาผสมให้เจือจางตามอัตราส่วนที่กำหนดตามความต้องการสาเหตุที่ต้องแยกออกเป็น Stock Solution A และ Stock Solution B เพื่อเป็นการป้องกันการทำปฏิกิริยาทางเคมีของสาร โดยจะแยกแคลเซียมและเหล็กไว้ด้วยกัน ส่วนอีกถังจะผสมธาตุอื่น ๆ ทั้งหมด ส่วนโพแทสเซียมไนเตรตจะไม่ทำปฏิกิริยาก็จะเฉลี่ยใส่ทั้ง 2 ถัง

  1. การคำนวณหาปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเข้มข้นและแบบเจือจาง

สำหรับการหาปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเข้มข้นถังที่ 1(Stock Solution A) และ 2 (Stock Solution B) เพื่อนำไปใช้ผสมเป็นสารละลายธาตุอาหารเจือจาง เพื่อนำไปใช้ปลูกพืชมีหลักการดังนี้

ปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืช แบบเข้มข้นที่ต้องการ = อัตราส่วนในการเจือจาง x ความจุของถังที่บรรจุสาร

ตัวอย่าง
ถ้าต้องการใช้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบที่มีความเข้มข้นต่อความเจือจาง1 : 100 เท่า โดยถังใส่สารละลายธาตุอาหารแบบเจือจาง บรรจุได้ 5 ลูกบาศก์เมตร(5,000 ลิตร) อยากทราบว่าจะต้องใช้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบเข้มข้นจากถังที่ 1 และถังที่ 2 ถังละกี่ลิตรแสดงว่าถ้าต้องการสารละลายธาตุอาหารแบบเจือจาง 5,000 ลิตรจะต้องเทียบบัญญัติไตรยางค์ คือ สารละลายเจือจาง 100 ลิตร ต้องใช้สารละลายเข้มข้น 1 ลิตร ถ้าต้องการสารละลายธาตุอาหารแบบเจือจาง 5,000 ลิตร จะต้องใช้สารละลายเข้มข้นคือ

เพราะฉะนั้น จะต้องใช้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบเข้มข้นจากถังที่ 1 และถังที่ 2 ถังละ 50 ลิตร ไปใส่ในถังสารละลายธาตุอาหารแบบเจือจางแล้วเติมน้ำจนครบ 5,000 ลิตร

การจัดการสารละลายธาตุอาหารพืช
ผักจะเจริญเติบโตได้ดีนั้น จะต้องได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมต่อความต้องการและมีปริมาณออกซิเจนในสารละลายอย่างเพียงพอในสารละลายธาตุอาหารพืชจำเป็นต้องมีการควบคุมค่า pH และ EC ของสารละลายเพื่อให้ผักสามารถดูดปุ๋ยหรือสารละลายธาตุอาหารพืชได้ดี ตลอดจนต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและออกซิเจนในสารละลายธาตุอาหารพืช

การรักษาหรือควบคุมค่า pH ของสารละลายธาตุอาหารพืช โดย pH = 7หมายถึง สารละลายมีความเป็นกลาง pH ต่ำกว่า 7 หมายถึง สารละลายมีความเป็นกรดและ pH สูงกว่า 7 หมายถึง สารละลายมีความเป็นด่าง ต้องมีการควบคุม pHเนื่องจากจะมีผลให้ผักสามารถดูดใช้ปุ๋ยหรือสารอาหารได้ดี เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดเป็นด่างในสารละลายจะเป็นค่าที่บอกให้ทราบถึงสถานะของธาตุอาหารที่จะอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าค่า pH สูงหรือต่ำเกินไปธาตุอาหารพืชบางชนิดอาจอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจทำให้เกิดการตกตะกอน

การปรับเพิ่มค่าของ pH ในกรณีที่สารละลายธาตุอาหารพืชมีความเป็นกรดมากเกิน เราสามารถปรับขึ้นได้โดยใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH)โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือ แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) สารใดสารหนึ่งลงไปในสารละลายธาตุอาหารพืชการปรับลดค่าของ pH ในกรณีที่สารละลายธาตุอาหารพืชมีความเป็นด่างมากเกิน เราสามารถปรับขึ้นได้โดยการเติมกรดซัลฟูริก (H2SO4)กรดไนตริก (HNO3) กรดไฮโดรคลอริก (HCl) กรดฟอสฟอริก (H3PO4) หรือกรดอซิติก (CH3COOH) สารใดสารหนึ่งลงไปในสารละลายธาตุอาหารพืชเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง คือ pH meter ก่อนใช้ควรปรับเครื่องมือให้มีความเที่ยงตรงก่อน โดยใช้น้ำยามาตรฐานหรือที่เรียกว่า“สารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน” (Buffer Solution)

  1. การควบคุมค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity : EC)
    ของสารละลายธาตุอาหารพืชการที่ต้องควบคุมค่า EC เนื่องจากต้องการให้มีปริมาณสารอาหารครบตามที่พืชต้องการ แต่เป็นการควบคุมค่ารวมของการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหารทั้งหมดที่อยู่ในถัง ไม่ใช่ปริมาณที่แท้จริงของธาตุใดธาตุหนึ่ง ซึ่งธาตุที่ถูกใช้น้อยอาจตกตะกอนหรือก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น จึงควรมีการเปลี่ยนสารอาหารเป็นระยะ ๆ เช่น ทุก 2-3 สัปดาห์
    4.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า EC
    ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า EC มีหลายอย่าง เช่นชนิดของพืช ระยะการเติบโต ความเข้มของแสง และขนาดของถังที่บรรจุสารอาหารพืชสภาพภูมิอากาศก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า EC เนื่องจากเมื่อมีสภาพอากาศที่ร้อนจะทำให้พืชต้องการความเข้มข้นของสารละลายที่น้อยลง เนื่องจากพืชจะดูดน้ำมากกว่าธาตุอาหาร ในขณะที่ถ้าอากาศมีความชื้นพืชก็มีแนวโน้มที่จะดูดธาตุอาหารมากกว่าน้ำ ดังนั้น พืชจึงต้องการสารละลายที่มีความเข้มข้นมากขึ้น
    4.2 การควบคุม EC ของสารละลายธาตุอาหารพืชโดยทั่วไปเมื่อพืชยังเล็กจะมีความต้องการ EC ที่ต่ำ และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อพืชมีความเจริญเติบโตที่มากขึ้น และพืชแต่ละชนิดมีความต้องการค่า EC แตกต่างกัน เช่น

ผักสลัด มีความต้องการสารละลายธาตุอาหารที่มีค่า EC ระหว่าง 0.5 – 2.0 mS/cm
แตงกวา มีความต้องการสารละลายธาตุอาหารที่มีค่า EC ระหว่าง 1.5 – 2.0 mS/cm
ผักและไม้ดอก มีความต้องการสารละลายธาตุอาหารที่มีค่า EC ระหว่าง 1.8 – 2.0 mS/cm
มะเขือเทศ มีความต้องการสารละลายธาตุอาหารที่มีค่า EC ระหว่าง 2.5 – 3.5 mS/cm
แคนตาลูป มีความต้องการสารละลายธาตุอาหารที่มีค่า EC ระหว่าง 4.0 – 6.0 mS/cm
ค่า EC ที่สูงจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในผลสูง เนื่องจากทำให้พืชเกิดความเครียด (stress)

เครื่องมือที่ใช้วัดค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity meter)เรียกว่า EC meter ก่อนใช้ควรปรับความเที่ยงตรงเสียก่อน โดยปรับที่ปุ่มของเครื่องในสารละลายมาตรฐาน ซึ่งค่าที่วัดได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสารละลายกล่าวคือ ยิ่งสารละลายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ค่า EC ก็จะสูงขึ้นตามด้วย

  1. การจัดการน้ำในระบบสารละลายธาตุอาหารพืช
    ควรรักษาปริมาณน้ำในระบบปลูกให้คงที่ตลอดเวลา เพื่อให้ผัก
    สามารถเจริญเติบโตได้ดี ผักจะใช้น้ำในอัตราที่สูงกว่าตัวธาตุอาหารพืช ถ้าปริมาณ
    น้ำลดลงจะทำให้ความเข้มข้นและปริมาณธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดเพิ่มขึ้น
    ปริมาณน้ำจะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแปลงที่ปลูก
    ปริมาณและชนิดของผัก และสภาพภูมิอากาศภายนอก
  2. การเปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารพืช
    ผักสามารถดูดใช้ธาตุอาหารพืชในแต่ละชนิดแตกต่างกัน บางชนิด
    ดูดไปใช้มาก บางชนิดดูดไปใช้น้อย จึงทำให้เหลือธาตุอาหารพืชที่สะสมอยู่ใน
    สารละลายธาตุอาหารพืชแตกต่างกัน เป็นผลทำให้องค์ประกอบของสารละลาย
    ธาตุอาหารพืชตัวอื่น ๆ เปลี่ยนแปลงไปหรือตกตะกอน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ
    เปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารใหม่สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
    6.1 การเปลี่ยนสารละลายเป็นระยะ ๆ ทุก 2-3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกัน ปริมาณของการถ่ายเปลี่ยนสารละลายใหม่เข้าไปทดแทนส่วนที่ถูกถ่ายออกจะแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่น 1 ใน 5 หรือ 2 ใน 3 ของความจุของถังใส่สารละลาย
    6.2 การถ่ายเปลี่ยนสารละลายแบบช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอ
    6.3 เปลี่ยนสารละลายเก่าออกทั้งหมด จะทำเมื่อสิ้นสุดการปลูกในแต่ละรุ่นหากต้องการทราบแน่นอนว่า เมื่อใดควรเปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารพืชหรือควรเพิ่มธาตุอาหารพืชใดเข้าไปในสารละลาย สามารถทำได้โดยเอาตัวอย่างสารละลายนั้นไปวิเคราะห์ส่วนสารละลายที่ถูกถ่ายออกจากระบบปลูกจะยังมีธาตุอาหารพืชที่สมบูรณ์อยู่ ถ้าไม่มีเชื้อโรคปะปนก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชในระบบปลูกที่ใช้วัสดุปลูกได้ เนื่องจากวัสดุปลูกสามารถดูดซับโซเดียมและคลอไรด์ไว้ได้ จึงไม่เป็นอันตรายต่อผัก