เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การวางแผนพัฒนาที่ดินและสวนเกษตร วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    การได้ที่ดินมานับเป็นเรื่องที่โชคดีมาก แต่ที่ดินผืนนี้ยังใช้เพาะปลูกไม่ได้เนื่องจาก มีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นอยู่ดกดื่น ดังนั้นก้าวแรกในการทําเกษตรของฮาร์โมนี้ไลฟ์คือ “การ จัดสรรที่ดิน” หลังจากแบ่งสัดส่วนพื้นที่เสร็จแล้วจึงเริ่มลงมือทําจริง ปัญหาแรกที่ต้องเจอขณะเตรียมที่ดินเพื่อเพาะปลูกคือ ต้องกําจัดรากไม้ตอ ไม้ใหญ่ๆ รวมถึงก้อนหินน้อยใหญ่ที่มีอยู่มากมาย ผมนําเครื่องจักรกลมาจัดการปัญหานี้ แต่ต้องใช้แรงงานคนด้วยอยู่ดี นอกจากผมแล้วยังมีชาวญี่ปุ่นอีกหลายคนที่เชี่ยวชาญเรื่อง เกษตรกรรมซึ่งหาซื้อที่ดินเพื่อทําเกษตรในประเทศอื่น แต่ละคนพบเจออุปสรรคและความ ลําบากแตกต่างกันไป บางคนนําเรื่องราวเหล่านั้นไปเขียนหนังสือ ผมเองก็พบความยาก ลําบากเช่นเดียวกับพวกเขานั่นคือการพัฒนาพื้นที่ทําเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องยากที่สุด เพราะต้องกําจัดตอไม้ ต้นไม้ใหญ่ๆ ทิ้ง การปรับสภาพดิน เป็นการจัดการแบ่งเขตพื้นที่ทําเกษตรไปพร้อมกัน ในตอน นั้นผมยังไม่มีประสบการณ์ด้านงานเกษตร โชคดีที่ได้รับคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนการทําเกษตรกรรมอยู่แล้วจึงมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญใน มหาวิทยาลัยหลายท่าน เท่าที่ผมศึกษามาก็ทราบว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็น มหาวิทยาลัยรัฐที่ส่งเสริมการทําเกษตรของประเทศโดยตรง ผมจึงตัดสินใจไปที่นั้นและ ได้รู้จักกับอาจารย์บรรลุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ํา “น้ํา” สําคัญต่อการเพาะปลูกมาก อาจารย์บรรลุเป็นคนแรกที่ศึกษาวิจัยเรื่อง การเพาะปลูกเพื่อการเกษตร ผมจึงคิดว่าคงไม่มีใครเหมาะจะเป็นผู้ให้คําแนะนําแก่ผมซึ่ง อยากทําธุรกิจโดยดูแลอนุรักษ์แหล่งน้ําไปได้มากกว่าท่านอีกแล้ว ท่านสอนให้ผมรู้ว่าดิน เหนียวอุ้มน้ําได้ดี แต่ระบายน้ําไม่ดี ที่ดินที่ผมซื้อมานั้นเป็นดินเหนียวสีแดง และ ประเทศไทยก็มีฤดูฝนนานเกือบครึ่งปี เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ฝนจะตกเกือบทุกวัน ดินที่มีความ เหนียวระบายน้ําไม่ดี จึงทําให้รากพืชเน่า พืชอ่อนแอเป็นโรคง่าย อาจารย์บรรลุแนะนํา ว่าสิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษในการปลูกพืชคือ การจัดการดินให้ระบายน้ําได้ดี การปรับปรุงที่ดินเพื่อทําการเกษตรนั้นเป็นเรื่องยากและต้องใช้เงินมาก ด้วยเหตุนี้ การ ทําแปลงเกษตรของฟาร์มฮาร์โมนี้ไลฟ์จึงต้องขอคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ ในที่สุดการพัฒนา ปรับปรุงดินและการเตรียมพื้นที่ก่อสร้างก็เรียบร้อย ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การปฏิบัติจริงที่ใคร ๆ ก็ทําได้ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    เกษตรอินทรีย์ การปฏิบัติจริงที่ใคร ๆ ก็ทําได้ประเทศไทย ดินแดนแห่งเกษตรกรรมประเทศไทยเป็นดินแดนอุดมสมบรูณ์ มีแม่น้ําน้อยใหญ่ ที่ราบสูงและที่ลุ่ม มากมาย เกษตรกรรมจึงรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต ภาคเหนือของประเทศมีพื้นที่ป่าค่อนข้างมาก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา อากาศจึงเย็นสบายเพาะปลูกพืชที่ชอบอากาศเย็น อย่างลําไย ส้ม และลิ้นจีได้ดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ เกษตรกรนิยมปลูกข้าว มัน สําปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย ภาคใต้มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจึงร้อนชื้น มีฝนตกมาก พืชเศรษฐกิจสําคัญได้แก่ปาล์มน้ํามัน มะพร้าว และ ยางพารา ส่วนภาคกลางมีดินอุดมสมบรูณ์จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สําคัญของประเทศแม้ปัจจุบันประเทศไทยจะจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และงานบริการ แต่ “เกษตรกรรม” ก็ยังเป็นอาชีพหลักของชาวไทยส่วนใหญ่เมื่อมองภาพรวมจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างยิ่ง ด้วยปริมาณน้ําฝนและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการทําเกษตร ทําให้ส่งออกผลผลิตไปขายยังต่าง ประเทศได้ปริมาณมากโดยมีข้าวและผลไม้เป็นหลัก ข้าวหอมมะลิและผลไม้จาก ประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกแน่นอนว่าผลผลิตทางการเกษตรจํานวนหนึ่งก็ถูกส่งไป ขายยังประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยที่จะมีชาวญี่ปุ่นบอกว่ารู้จักผลไม้ชนิดนั้นชนิด นี้ของประเทศไทยในช่วงต้นปี พ.ศ.2542 ที่ผมเริ่มทําเกษตรนั้น ยังไม่มีเกษตรกรไทยคนไหนทํา เกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง กระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สํารวจพบว่า เกษตรกร ไทยใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีมากถึง 99.8%หากเทียบกับพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศแล้ว จะเห็นว่ามีพื้นที่ทําเกษตรอินทรีย์ไม่ถึง 1% ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึง เริ่มเผยแพร่แนวคิดการทําเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2544 แม้ผมจะตั้งเป้าไว้ว่าต้องทําเกษตรให้โด่งดังถึงระดับประเทศ แต่ถ้าไม่มีที่ดินเรื่อง ก็คงหยุดอยู่แค่นั้น และถ้าจะทําเกษตรอินทรีย์จริงๆจังๆ ก็ต้องเลือกที่ดินที่ไม่เคยทําเกษตร มาก่อน บางท่านอาจสงสัยว่าทําไมล่ะ คําตอบคือ ที่ดินที่เคยทําเกษตรร้อยทั้งร้อยล้วน เคยได้รับปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาก่อน สารเคมีที่สะสมอยู่ในดินต้องใช้เวลาย่อยสลาย อย่างน้อย 5 ปี การเลือกที่ดินจึงสําคัญมาก ประเทศไทยมีกฎหมายเข้มงวดเรื่องการซื้อที่ดินโดยชาวต่างชาติแม้ผมอยากทํา เกษตรมากเพียงใด ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้อและครอบครองที่ดินอยู่ดี ผมอยากทําเกษตร แต่กลับซื้อที่ดินไม่ได้ แถมที่ดินที่เหมาะกับการทําเกษตรอินทรีย์ยังหายากมาก ผมอยาก ได้ที่ดินขนาดใหญ่ เพราะฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ผมคิดจะทํานั้น ต้องมีทั้งแปลงเกษตร ระบบจัดการน้ําในฟาร์ม สถานที่อบรมการทําเกษตรอินทรีย์ สถานีวิจัย ที่พัก และโรงงาน แปรรูปผลผลิต จึงต้องใช้เงินทุนสูงมากชีวิตเกษตรกรของผมต้องเจอกับกําแพงขนาดใหญ่ เสียแล้ว สิ่งแรกที่ผมต้องตัดสินใจคือ จะซื้อที่ดินแถวไหนดี โดยส่วนตัวผมรู้สึกเหมือนองค์ พระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานอยู่กลางเขามาดลใจ เพราะหลังจากตัดสินใจว่าจะทําเกษตร เมื่อเดินทางผ่านไปแถวนั้นผมรู้สึกว่าพระพุทธรูปทอดสายตามองลงมายังผืนดินผืนหนึ่ง บริเวณนั้น ผมบอกเพื่อนชาวไทยที่รู้จักกันว่าอยากให้ช่วยหาข้อมูลของที่ดินตรงเชิงเขาที่ พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้หน่อย หลายวันต่อมาเพื่อนก็มาหาผมด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พร้อมพูดว่า “ตาแหลมมาก เลยนะโอกะซัง เซนส์ของคุณนี้ใช้ได้เลย ที่ดิน 50 ไร่ ตรงนั้นยังว่างอยู่” ผมดีใจและ ประหลาดใจมาก ไม่รู้ว่าจะใช่แรงดลใจจากพระพุทธรูปหรือเปล่า แถมเจ้าของที่ดินยังเป็น…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การตลาดเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ช่องทางการตลาดเกษตรอินทรีย์ ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับการตลาดของสินค้าเกษตรทั่วไป อาจจะแตกต่างที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งทำให้ช่องทางการตลาดของเกษตรอินทรีย์มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปบ้างบางส่วน โดยรวมแล้วอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ ตลาดทางเลือกและตลาดกระแสหลัก (ศุภชัย และคณะ, 2550) ตลาดทางเลือก คือรูปแบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแบบใหม่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ค านึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกื้อหนุนให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และรับผิดชอบซึ่งกันและกัน กิจกรรมการซื้อขายในระบบตลาดทางเลือกตั้งอยู่บนคติที่ว่าทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน และพัฒนาไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งสองฝ่าย รูปแบบการทำตลาดทางเลือกในสังคมไทย สามารถสรุปได้ใน 2 รูปแบบ คือ 1) เริ่มต้นจากผู้ผลิตในพื้นที่ที่มีพัฒนาการมาจากการทำเกษตรทางเลือก และกลุ่มออมทรัพย์หรือกลุ่มแม่บ้านรวมตัวกันทำการตลาดโดยประสานงานกับองค์กรพัฒนา และกลุ่มผู้บริโภค ลักษณะการขายมีทั้งการเปิดร้านค้าปลีก การขายตามตลาดนัดในท้องถิ่น ตั้งแผงขายในสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล การขายส่งพ่อค้า การออกร้านตามงานต่างๆ ขายตรงตามบ้าน ส่งขายระหว่างองค์กรชาวบ้านด้วยกันเอง2) เริ่มต้นจากผู้บริโภคที่มีสำนึกในด้านความคุ้มครองผู้บริโภคและพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีรูปแบบเปิดร้านค้าปลีกเฉพาะด้านเป็นรูปแบบหลัก หรือประสานกับกลุ่มผู้ผลิตในการกระจายผลผลิตในหน่วยงานต่างๆ โดยรูปแบบของตลาดทางเลือกสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะให้ค่าตอบแทนต่อเกษตรกรสูงกว่าตลาดแบบอื่น เนื่องจากเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตให้กับผู้บริโภคได้โดยตรง ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าขนสงและค่าแรงเพิ่มขึ้นแต่จัดว่าไม่สูงมาก เพราะตลาดเหล่านี้มักไม่ได้อยู่ห่างไกลกับแหล่งผลิตและด้วยปริมาณการขายที่น้อย แรงงานที่ใช้ในการจัดเตรียมผลผลิตมักเป็นแรงงานในครัวเรือนประโยชน์อีกด้านหนึ่งของตลาดท้องถิ่นคือช่วยทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเกิดความรู้สึกร่วมกันในชุมชน มีเอกลักษณ์ และมีความผูกพันกัน เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรมีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคและความเปลี่ยนแปลงของตลาด 2) ตลาดในชุมชน ตลาดในชุมชนส่วนใหญ่เป็นตลาดที่เปิดขายในช่วงเช้าตรู่ และมักจะเปิดขายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 1-2 ชั่วโมง สมาชิกในชุมชนน าสินค้าที่ผลิตได้ในครอบครัวมาจำหน่าย สินค้าส่วนใหญ่มักเป็นอาหารสดหรืออาหารแปรรูปอย่างง่าย ตลาดในชุมชนเหมาะกับผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อย เป็นผลผลิตที่ไม่ค่อยมีการผลิตในชุมชนมากนักและควรเป็นผลิตผลที่มีความต่อเนื่องแต่ไม่เหมาะกับผลผลิตที่มีปริมาณมาก เพราะตลาดชุมชนมักมีขนาดเล็กข้อดีของตลาดในชุมชนคือเกษตรกรผู้ผลิตเสียค่าใช้จ่ายในการขายผลผลิตต่ำมาก ทำให้เกษตรกรได้รับรายได้เต็มจากการขาย ซึ่งได้เงินสดเป็นรายได้ประจำ และช่วยแบ่งเบาภาระสำหรับค่าใช้จ่ายประจำวันของครอบครัวเกษตรกรได้ แต่ราคาผลิตผลที่จำหน่ายในตลาดชุมชนนี้มักจะมีราคาค่อนข้างต่ำเพราะความสามารถในการซื้อสินค้ามีอยู่น้อย นอกจากนี้ตลาดในชุมชนมักจะไม่ใช่ตลาดเฉพาะผลผลิตเกษตรอินทรีย์เท่านั้น 3) ตลาดนัดท้องถิ่น ตลาดนัดในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นตลาดคล้ายกับตลาดชุมชน แต่อาจมีขนาดใหญ่กว่า และมักจัดในที่มีผู้บริโภคอยู่หนาแน่น เช่น โรงพยาบาล สถานที่ราชการต่างๆ ตลาดนัดนี้จะเปิดขายเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ระยะเวลาในการเปิดขายอาจเพียงครึ่งวันหรือเต็มวันขึ้นอยู่กับปริมาณของผู้บริโภคและข้อจำกัดของสถานที่ในตลาดนัดเช่นนี้มักจะต้องการกลุ่มบุคคลหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการประสานงานกับเจ้าของพื้นที่และประชาสัมพันธ์ให้กับผู้บริโภค ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่เป็นผู้จัดตลาดนัดนี้อาจมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะน าผลผลิตเข้ามาจำหน่ายในตลาดนัด ความชัดเจนในนโยบายลักษณะนี้จะช่วยให้ตลาดนัดเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญได้เช่นกัน 4) ตลาดสมาชิก ตลาดระบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเกษตรในต่างประเทศ เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตรในสหรัฐอเมริกา (Community supported agriculture, CSA ) ระบบเตเก้ในญี่ปุ่นและระบบกล่องผักในยุโรป ตลาดสมาชิกเน้นที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยมีการวางแผนการผลิตร่วมกันระหว่างเกษตรกรผู้บริโภค มีการตกลงราคาล่วงหน้า และอาจมีการสนับสนุนเงินทุนล่วงหน้าให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ลงทุนในการผลิต โดยผู้ผลิตจะจัดส่งผลผลิตให้กับผู้บริโภคโดยตรง ระบบสมาชิกจะเน้นผลิตผลที่เป็นผักสดเป็นส่วนใหญ่หรืออาจมีผลไม้ร่วมด้วยบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้เกษตรกรผู้ผลิตหรือผู้จัดส่งจำเป็นต้องมีรถบรรทุกและแรงงานในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว 5) ร้านค้าปลีกเฉพาะด้าน ร้านค้าปลีกเฉพาะด้าน (Specialized shop)อาจเป็นร้านค้าที่มีนโยบายในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์โดยตรง หรืออาจเป็นร้านสุขภาพและมีผลิตผลเกษตรอินทรีย์ร่วมจำหน่ายด้วย…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่ง(วิฑูรย์ และเจษณี,2546) และ (พันธ์จิตต์, 2549) ได้อธิบายไว้ดังนี้ 1) เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเอง เป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งพัฒนามาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูภูมิปัญญาไทยไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรับรอง มุ่งเน้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการลดปัจจัยน าเข้าที่ต้องซื้อจากภายนอก ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและก าจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง 2) เกษตรอินทรีย์แบบรับรองมาตรฐาน เป็นการท าเกษตรอินทรีย์แบบมีการรับรองมาตรฐาน มุ่งเน้นเพื่อจ าหน่ายผ่านทางระบบตลาดทั่วไปหรือการตลาดทางเลือก ซึ่งเมื่อได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ผู้บริโภคก็จะพิจารณาเลือกซื้อจากความเชื่อถือในตรารับรอง และหากตรารับรองมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานจากต่างประเทศ จะท าให้ผลผลิตสามารถส่งออกไปจ าหน่ายในต่างประเทศได้ด้วย หรือส าหรับผู้ผลิต-ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกก็มักจะขอรับรองมาตรฐานของประเทศนั้น ๆ ที่ต้องการส่งออกอย่างไรก็ตามในระดับสากลค าว่าเกษตรอินทรีย์จะหมายถึง การท าเกษตรอินทรีย์ที่มีการตรวจรับรองมาตรฐานเท่านั้น แต่ส าหรับในประเทศไทยเนื่องจากการท าเกษตรอินทรีย์เริ่มต้นมาจากการท าเกษตรทางเลือก และมีความคล้ายคลึงกับการท าการเกษตรในอดีตของไทยที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร นอกจากนั้นในการส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ในระยะเริ่มต้นมุ่งเน้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตและยังไม่มีการรับรองมาตรฐาน ดังนั้นเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยจึงมี 2 รูปแบบดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น รูปแบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย การผลิตเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะการผลิตข้าวและผักอินทรีย์มีหลายรูปแบบ จากการศึกษาของ(ศุภชัย และคณะ, 2550) พบว่ามีผู้ผลิต 7 รูปแบบ ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทส่งออกที่มีฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บริษัทส่งออกที่ท าสัญญากับเกษตรกร เจ้าของฟาร์มผู้จ าหน่ายภายในประเทศ ผู้รวบรวมผลผลิตจัดจ าหน่ายภายในประเทศ ผู้แปรรูปจัดจ าหน่ายภายในประเทศ และโครงการส่งเสริมของภาครัฐ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีวิธีการท างานที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การผลิต การจัดหาผลผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การจ าหน่าย การตรวจสอบรับรอง และส าคัญที่สุด คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิตเกษตรอินทรีย์ และระบบการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน ขณะที่ (ชนวน และคณะ, 2550) แบ่งผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เป็น 3 ประเภท คือ1) ผู้ผลิตเดี่ยว เป็นลักษณะฟาร์มครอบครัวขนาดใหญ่มีเป้าหมายเพื่อการค้า2) กลุ่มผู้ผลิต ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรรายย่อย ส่วนใหญ่จะมีการท าฟาร์มแบบมีพันธสัญญา โดยสามารถแยกย่อยเป็น 2 แบบ ได้แก่ 3) ผู้ประกอบการ หรือฟาร์มบริษัทขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะการผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า มีระดับการรับรองมาตรฐานตามตลาดของสินค้า

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การแปรรูปพืชอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ข้อกำหนดการตรวจรับรองการคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ การผลิตสินค้าพืชอินทรีย์เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และไม่สูญเสียความเป็นอินทรีย์ นอกจากจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตในแปลงปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตพืชอินทรีย์แล้ว ในกระบวนการคัดบรรจุผลิตผลหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติและควบคุมกระบวนการผลิต ให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ควบคู่ไปกับหลักการปฏิบัติระบบการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) โดยก่อนการตรวจประเมินผู้ตรวจประเมินจะต้องศึกษาขั้นตอนและกระบวนการผลิตอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบว่าขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตใดเป็นจุดควบคุมเกษตรอินทรีย์ (Organic Control Points : OCPs) ที่มีความเสี่ยง ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่เหมาะสม อาจมีโอกาสสูญเสียความเป็นอินทรีย์ได้ง่าย โดยทั่วไปแล้วในการตรวจประเมินแปลงปลูกพืชอินทรีย์ จะพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลิตผล ส่วนการคัดบรรจุ จะมีทั้งลักษณะที่เป็นการบรรจุหีบห่อขนาดใหญ่ หรือแบ่งบรรจุเป็นหีบห่อขนาดเล็กจำหน่ายในนามของฟาร์ม นอกจากนี้บริษัทหรือผู้รับซื้ออาจซื้อผลิตผลพืชอินทรีย์จากแปลงเกษตรกรมาคัดบรรจุและจำหน่ายในนามของบริษัทอีกต่อหนึ่ง ซึ่งบริษัทหรือผู้รับซื้อจะต้องได้รับการรับรองการคัดบรรจุหีบห่อพืชอินทรีย์ก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้แสดงตราสัญลักษณ์ Organic Thailand ได้ หรือบริษัทบางแห่งอาจมีเกษตรกรลูกไร่หรือแปลงปลูกพืชอินทรีย์ของบริษัทเอง และมีโรงคัดบรรจุแยกอยู่คนละที่กับแปลงปลูก ผู้ตรวจประเมินจะต้องเข้าตรวจประเมินทั้งแปลงปลูกและโรงคัดบรรจุหีบห่อของบริษัทนั้นด้วย การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทหรือผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืช อินทรีย์จะซื้อวัตถุดิบอินทรีย์จากแปลงเกษตรกรที่ได้รับรองการผลิตพืชอินทรีย์แล้ว แต่หากแปลงปลูกดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองเกษตรกรหรือผู้ประกอบการแปรรูป จะต้องยื่นใบสมัครขอการรับรองแปลงปลูกพืชอินทรีย์ในนามของเกษตรกรหรือบริษัท พร้อมกับขอรับรองการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ผู้นำเข้าผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ที่นำผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์มาบรรจุหีบห่อใหม่ ก็ต้องยื่นใบสมัครขอการรับรองคัดบรรจุหรือแปรรูปด้วยเช่นกัน และผู้ตรวจประเมินจะต้องเข้าตรวจประเมิน ตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ควบคู่ไปกับหลักการปฏิบัติระบบการผลิตที่ดี GoodManufacturing Practice (GMP) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) สถานที่ประกอบการ สถานที่ตั้งของโรงคัดบรรจุหรือโรงงานแปรรูป อยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ไม่อยู่ในแหล่งอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนจากมลพิษ สัตว์ แมลงพาหะนำโรค วัตถุอันตราย ฝุ่นละออง ฝุ่นควัน และสิ่งปฏิกูล สถานที่ผลิตต้องแยกออกจากที่พักอาศัย พื้นอาคารเรียบ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขัง ฝาผนังและเพดานสร้างด้วยวัสดุที่ทนทาน เรียบ ทำความสะอาดง่าย มีการดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่เป็นที่สะสมของฝุ่นละออง และจุลินทรีย์ หน้าต่างและประตูปิดสนิท และมีวิธีการป้องกันการปนเปื้อนก่อนเข้าสู่พื้นที่ผลิต หรือถ้าเป็นระบบเปิด ควรมีการป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์และแมลงจากภายนอกอาคาร มีการระบายอากาศได้ดี การวางพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ ต้องมีทิศทางลมพัดจากส่วนที่สะอาดไปยังส่วนที่ไม่สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน มีพื้นที่เพียงพอสำหรับติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต มีการจัดพื้นที่ผลิตเป็นสัดส่วน เรียงลำดับตามสายงานการผลิต และแบ่งแยกพื้นที่หรือเวลาการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลิตภัณฑ์ทั่วไปออกจากกันอย่างชัดเจน 2) เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ มีพอเพียงต่อการปฏิบัติงาน ติดตั้งอยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก หลักเลี่ยงการมีซอกมุม ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์ และทนต่อการกัดกร่อน ทำความสะอาดได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปรอะเปื้อนน้ำมันหล่อลื่น จาระบี หรือสารอันตราย หากมีการผลิตทั้งผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลิตภัณฑ์ทั่วไปในโรงคัดบรรจุหรือโรงงานแปรรูปเดียวกัน ต้องแยกเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ พร้อมทั้งบ่งชี้หรือแสดงป้ายเพื่อแยกการใช้เครื่องมือ…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1-2552 (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ,2552). กรมวิชาการเกษตรด าเนินตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดมาตรฐานสินคาเกษตร : เกษตรอินทรีย เลม 1 : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหนายผลิตผลและผลิตภัณฑเกษตรอินทรีย (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552) โดยแบ่งการตรวจรับรองออกเป็น6 ประเภท ดังนี้ 1) การขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์2) การรับรองการคัดบรรจุพืชอินทรีย์3) การรับรองการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์4) การรับรองการรวบรวมผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์5) การรับรองการจัดจำหน่ายผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์6) การรับรองการนำเข้าผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ข้อกำหนดการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552) 1) พื้นที่1.1) ขอกำหนดวิธีผลิตพืชอินทรียใหนำมาใชปฏิบัติตลอดระยะการปรับเปลี่ยนเปนเวลาอยางนอย 12 เดือน กอนปลูกสำหรับพืชลมลุก และ 18 เดือนกอนเก็บเกี่ยวผลิตผลอินทรียครั้งแรก สำหรับพืชยืนตน โดยระยะการปรับเปลี่ยน นับตั้งแต่ผู้ผลิตไดนำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติแลว และสมัครขอรับการรับรองตอหนวยรับรอง และอาจเพิ่มระยะปรับเปลี่ยนขึ้นได้ หากมีการใช้สารเคมีในปริมาณมาก1.2) พื้นที่ไม่มีการใช้สารเคมีนานเกิน 12 เดือน สำหรับพืชล้มลุก และ 18 เดือน สำหรับพืชยืนต้น สามารถพิจารณาลดระยะปรับเปลี่ยนลงได้ แต่่ต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน1.3) การปลูกพืชคู่ขนาน (ปลูกทั้งระบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี) หรือทยอยเปลี่ยนพื้นที่ได้ แต่่ต้องเป็นพืชต่างชนิด ต่างพันธุ์ และต้องแยกพื้นที่ และกระบวนการจัดการพืชอินทรีย์และไม่ใช่ อินทรีย์ได้อย่างชัดเจน1.4) ต้องไม่เปลี่ยนกลับไปทำการเกษตรที่ใช้สารเคมี1.5) แหล่งน้ำ ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี โลหะหนัก น้ำชลประทานต้องมีบ่อพัก และมีผลวิเคราะห์น้ำ 2) การวางแผนการจัดการมีมาตรการและการป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก โดยต้องเป็นแนวกันชนที่มีประสิทธิภาพ วางแผนระบบการผลิตพืช เลือกฤดูปลูกและพันธุ์ที่เหมาะสม มีการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ มีการดูแลสุขลักษณะในแปลงปลูก และมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ 3) เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือการผลิตพืชทั่วไป แต่่ต้องไม่คลุกสารเคมี หากคลุกสารเคมี ต้องกำจัดออกอย่างเหมาะสมก่อนปลูก 4) การจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน4.1) รักษาหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและกิจกรรมทางชีวภาพ ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสด พืชรากลึก ใช้วัสดุจากพืช สัตว์ สารอินทรีย์…