smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

เทคโนโลยี เกษตร ทำความรู้จักเทคโนโลยี IoT หัวใจสำคัญของ Agritech วางระบบ smart farm IoT เกษตรอินทรีย์ ออร์แกนิค organic

เทคโนโลยี IoT1 ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่เข้ามาช่วยปลดล็อกปัญหาและสร้างความท้าทายหลายประการให้กับธุรกิจเกษตรไทย รวมท้ังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจซึ่งในบทความส่วน นี้ Krungthai COMPASS จะนำเสนอ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี IoTอาทิ เทคโนโลยี IoT สำหรับธุรกิจเกษตรมีอะไรบ้าง ทำไมธุรกิจเกษตรไทยต้องปรับตัวมาใช้ IoT และเราควรรู้จักใครบ้างตลอดจนถอดบทเรียนจากบริษัทประสบความสำเร็จ เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

“Agritech” คืออะไร? IoT เชื่อมโยงกับ “Agritech”อย่างไร?

Agritech คือ การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จากเดิมที่ใช้ “องค์ความรู้และประสบการณ์เดิม (Knowhow)” ในการจัดการผลิต และพึ่งพาการใช้ “แรงงาน” แต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นการใช้ “เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแม่นยาในการเพาะปลูก (Precision Farming)” ในการเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจเกษตรไทยซึ่งถือเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่Box 1:ธุรกิจข้าวไทยกับปัญหาการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน) รวมท้ังลดการพึ่งพาแรงงานซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

นอกจากนี้ หากพิจารณาจากระบบนิเวศของภาคการเกษตรตามข้ันตอนการผลิต(Stages of Production) ดังรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่า Agritech สามารถสอดแทรกอยู่ในทุกข้ันตอนการผลิต ต้ังแต่ต้นน้ำหรอื ผู้ผลิตวัตถุดิบสาหรบั การเพาะปลูก (Input suppliers) ไปจนถึงปลายน้ำหรือผู้บริโภคได้โดยตรง (Consumers) ขณะเดียวกันพบว่าเทคโนโลยี IoT เข้าไปมีบทบาทในหลายกิจกรรมทางการเกษตร ตั้งแต่การเตรียมการเพาะปลูก ไปจนถึงการเพาะปลูก เช่น การติดตามสภาพดิน (Soil Monitoring)การควบคุมโรคและศัตรูพืช (Pest and Disease Control System) เป็นต้น ดังน้ันในบทความนี้จะให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ในกระบวนการผลิตที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลัก

แล้ว IoT สำหรับธุรกิจเกษตรทำงานอย่างไร?

IoT สาหรบั ธรุกิจเกษตรเริ่ม ต้นจากการใช้เทคโนโลยี “เซ็นเซอร์” ติดตามและตรวจสอบสถานะข้อมูลที่จำเป็นในการเพาะปลูกแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการ ”ตัดสินใจและการบริหารจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เช่น ความเข้มของแสงอุณหภูมิ ความชื้นในดิน สภาพอากาศ เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกเชื่อมโยงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเก็บเข้าไปอยู่ในระบบคลาวด์ (Cloud)2 ก่อนนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และประมวลผล แล้วส่งกลับไปยังผู้ใช้งาน ซึ่งเรามองว่า ในอนาคตเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นจุดต้ังต้นสาคัญที่จะนามาใช้พัฒนาร่วมกับเทคโนโลยี
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่จะทำหน้าที่คิดวิเคราะห์ วางแผนและตัดสินใจในกระบวนการเพาะปลูกแทนมนุษย์มากยิ่งข้ึน