เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    เทคโนโลยี เกษตร ทำความรู้จักเทคโนโลยี IoT หัวใจสำคัญของ Agritech วางระบบ smart farm IoT เกษตรอินทรีย์ ออร์แกนิค organic

    เทคโนโลยี IoT1 ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่เข้ามาช่วยปลดล็อกปัญหาและสร้างความท้าทายหลายประการให้กับธุรกิจเกษตรไทย รวมท้ังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจซึ่งในบทความส่วน นี้ Krungthai COMPASS จะนำเสนอ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี IoTอาทิ เทคโนโลยี IoT สำหรับธุรกิจเกษตรมีอะไรบ้าง ทำไมธุรกิจเกษตรไทยต้องปรับตัวมาใช้ IoT และเราควรรู้จักใครบ้างตลอดจนถอดบทเรียนจากบริษัทประสบความสำเร็จ เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น “Agritech” คืออะไร? IoT เชื่อมโยงกับ “Agritech”อย่างไร? Agritech คือ การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จากเดิมที่ใช้ “องค์ความรู้และประสบการณ์เดิม (Knowhow)” ในการจัดการผลิต และพึ่งพาการใช้ “แรงงาน” แต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นการใช้ “เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแม่นยาในการเพาะปลูก (Precision Farming)” ในการเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจเกษตรไทยซึ่งถือเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่Box 1:ธุรกิจข้าวไทยกับปัญหาการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน) รวมท้ังลดการพึ่งพาแรงงานซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง นอกจากนี้ หากพิจารณาจากระบบนิเวศของภาคการเกษตรตามข้ันตอนการผลิต(Stages of Production) ดังรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่า Agritech สามารถสอดแทรกอยู่ในทุกข้ันตอนการผลิต ต้ังแต่ต้นน้ำหรอื ผู้ผลิตวัตถุดิบสาหรบั การเพาะปลูก (Input suppliers) ไปจนถึงปลายน้ำหรือผู้บริโภคได้โดยตรง (Consumers) ขณะเดียวกันพบว่าเทคโนโลยี IoT เข้าไปมีบทบาทในหลายกิจกรรมทางการเกษตร ตั้งแต่การเตรียมการเพาะปลูก ไปจนถึงการเพาะปลูก เช่น การติดตามสภาพดิน (Soil Monitoring)การควบคุมโรคและศัตรูพืช (Pest and Disease Control System) เป็นต้น ดังน้ันในบทความนี้จะให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ในกระบวนการผลิตที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลัก แล้ว IoT สำหรับธุรกิจเกษตรทำงานอย่างไร? IoT สาหรบั ธรุกิจเกษตรเริ่ม ต้นจากการใช้เทคโนโลยี “เซ็นเซอร์” ติดตามและตรวจสอบสถานะข้อมูลที่จำเป็นในการเพาะปลูกแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการ ”ตัดสินใจและการบริหารจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เช่น ความเข้มของแสงอุณหภูมิ ความชื้นในดิน สภาพอากาศ เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกเชื่อมโยงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเก็บเข้าไปอยู่ในระบบคลาวด์ (Cloud)2 ก่อนนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และประมวลผล แล้วส่งกลับไปยังผู้ใช้งาน ซึ่งเรามองว่า ในอนาคตเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นจุดต้ังต้นสาคัญที่จะนามาใช้พัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่จะทำหน้าที่คิดวิเคราะห์ วางแผนและตัดสินใจในกระบวนการเพาะปลูกแทนมนุษย์มากยิ่งข้ึน

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ จุลินทรีย์มีประโยชน์ใช้ปรับสภาพดินให้ดีขึ้น วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    การเปลี่ยนคุณภาพปุ๋ยทําให้ผักแข็งแรงขึ้น แต่ถึงจะมีโรคและแมลงน้อยลง ปัญหานี้ก็ยังเกิดอยู่ดี ระหว่างที่อ่านหนังสือหลายเล่ม ผมก็คิดได้เรื่องหนึ่งว่า “มันน่าจะ มีวิธีกําจัดโรคและแมลงที่ได้ผลกว่านี้” นี่เป็นจุดเริ่มต้นสู่หนทางการแสวงหา “จุลินทรีย์ มีประโยชน์” ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป การหมักปุ๋ยต้องใช้จุลินทรีย์จํานวนมากและต้องปล่อยให้พวกมันทําหน้าที่อย่าง เต็มที่ในดินมีจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิดคอยทําหน้าที่ของพวกมันอยู่ เมื่อนําจุลินทรีย์ เหล่านี้มาแบ่งกลุ่มจะได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือ จุลินทรีย์ที่ใช้กระตุ้นการหมัก อีกกลุ่มคือ จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดการเน่าเสีย ผมขอยกตัวอย่างจากการหมักข้าวเพื่อให้ทุก ท่านเข้าใจง่ายขึ้น เมื่อนําข้าวไปหมักจะได้เหล้าและยีสต์ ถ้าเราใส่แบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์ ซัลเฟอร์ลงไปจะทําให้ข้าวเน่า เกิดกลิ่นเหม็นรุนแรงจนกินไม่ได้ คราวนี้ลองมาดูว่าถ้า สิ่งเหล่านี้เป็นปุ๋ยและดิน เมื่อใส่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ลงไปก็จะทําให้ปุ๋ยและดินมีคุณภาพ ดียิ่งขึ้น ผมวิจัยเรื่องจุลินทรีย์โดยลองผิดลองถูกอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ได้คําตอบที่ชัดเจน ว่าจุลินทรีย์ที่ดีต่อดินคือชนิดไหนเบื้องต้นรู้แต่จุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการหมักได้ดีได้แก่ จุลินทรีย์ที่ใช้ผลิตส่าเหล้า จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแล็กติก บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtitis) และยีสต์ เป็นต้น จุลินทรีย์ชนิดดีจะทําหน้าที่ได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพที่มีแก๊สออกซิเจน จึงต้องอาศัย อยู่ในชั้นหน้าดินหรือบริเวณผิวน้ํา เพื่อให้สัมผัสอากาศ ถ้าดิน น้ํา หรือปุ๋ยไม่ได้สัมผัส อากาศโดยตรง จะเท่ากับหยุดการทํางานของจุลินทรีย์ที่ดีไปโดยปริยาย ปัจจุบันมีการใช้ จุลินทรีย์ดีเหล่านี้ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ํามาจัดการน้ําเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม จึงต้องทําให้น้ํามีอากาศหมุนเวียนตลอดเวลา เช่น การใช้เครื่องตีน้ําเพื่อให้จุลินทรีย์ที่ดี และแบคทีเรียที่อาศัยออกซิเจนดํารงชีพทําหน้าที่ได้ดีนั่นเอง การทําเกษตรกรก็ต้องทําให้ดินมีสภาพดี บําบัดน้ําให้ดี ใช้ปุ๋ยที่ดี จุลินทรีย์ที่ดี ช่วยทํางานนี้ได้ครึ่งหนึ่ง ผมจึงคิดว่าต้องหาจุลินทรีย์ซึ่งทํางานได้ดีแม้อยู่ในที่ที่มีออกซิเจน มาใช้งานด้วย จุลินทรีย์ที่ว่าคือ “จุลินทรีย์อีเอ็ม” (Effective Microorganisms: EM) ปี พ.ศ. 2525 ศ.ดร.เทะรุโอะ ฮิงะ อาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยริวกิว ประสบ ความสําเร็จในการศึกษาเรื่องจุลินทรีย์ที่ทําให้ดินมีคุณภาพดีเหมาะแก่การเกษตร โดยพบ ว่าส่วนมากเป็นกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงที่อาศัยอยู่ร่วมกันโดยเอื้อประโยชน์แก่กัน เช่น จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแล็กทิกกับยีสต์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์มีประโยชน์อีกกว่า 80 ชนิด ที่เอื้อประโยชน์แก่กัน เราใช้จุลินทรีย์อีเอ็มที่มีฤทธิ์ยับยั้งกรดต่อต้านการเกิดจุลินทรีย์ที่ กระตุ้นการเน่าเสียได้ ทั้งยังช่วยให้ดินมีสภาพดีขึ้นและดีต่อการหมักปุ๋ยด้วย เมื่อทราบเรื่องนี้ ผม คุณถาวร จรัสกุลางกูร (หุ้นส่วนของฟาร์มฮาร์โมนี้ไลฟ์ ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว) และคุณยุมิโกะ คะเซะ (อดีตประธานบริษัท เอเชีย เฮิร์บ แอส โซซิเอชั่น) จึงตัดสินใจเดินทางไปหาอาจารย์ฮิงะที่จังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น คุณถาวรและคุณคะเซะเป็นบุคคลสําคัญที่ผลักดันเรื่องออร์แกนิกให้แพร่หลายใน ประเทศไทย อาจารย์ฮิงะใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงอธิบายให้พวกเราเข้าใจการทํางานของ…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ปุ๋ยที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ทําเกษตรที่เหมาซามรู้เหล่านี้มาใช้ที่อารโครหลายท่านทําให้ผมได้การได้รู้จักผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรหลายท่านทําให้ผมได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมาย ผมนําความรู้เหล่านี้มาใช้ที่ฮาร์โมนี้ไลฟ์ คงไม่มีวิธีไหนดีไปกว่าการศึกษาหาวิธี ทําเกษตรที่เหมาะกับอากาศและผืนดินด้วยตนเองอีกแล้ว ระหว่างที่ทดลองอยู่หลายครั้ง ผมก็ได้รู้ว่าการผลิต “ปุ๋ย” ที่ดีนั้นสําคัญต่อการทําเกษตรมากทีเดียว พืชจะเติบโตดีก็ต่อเมื่อดินมีคุณภาพดี ในดินที่มีคุณภาพดีจะมีจุลินทรีย์ที่มี ประโยชน์อยู่อย่างล้นเหลือ เมื่อเราใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ลงในดิน พืชจะดูดแร่ธาตุ และสารอาหารจากปุ๋ยไปใช้โดยตรงไม่ได้ ต้องให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในดินทําหน้าที่แยกองค์ ประกอบของขี้วัวขี้ไก่ออกมาเสียก่อน รากพืชจึงจะดูดสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้จุลินทรีย์ จะทํางานได้ดีก็ต่อเมื่ออาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในดิน ดังนั้น ดินที่ดีจึงต้องมีทั้งพืช และจุลินทรีย์จํานวนมากอาศัยอยู่ร่วมกัน ในทางตรงข้าม นอกจากจุลินทรีย์ดี ในดินก็มีจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดการเน่าเสีย อาศัยอยู่ด้วยเรียกว่า แบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์ซัลเฟอร์ (purifying bacteria) ดิน ที่ไม่ดีจะมีจุลินทรีย์ชนิดนี้อาศัยอยู่มาก พวกมันทําให้รากพืชเน่าพืชเป็นโรค อ่อนแอ และ ถูกแมลงศัตรูทําลายได้ง่าย ยิ่งเกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีมากเท่าไร ยิ่งทําลาย จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ซึ่งทําหน้าที่สําคัญในการดูแลพืชให้แข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การทําเกษตรอินทรีย์จึงต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าปลูกพืชผักลงในดินที่ดีจะเกิดโรคและปัญหาแมลงกัดกินค่อนข้างน้อย ฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์จึงเริ่มต้นจากการปรับปรุงบํารุงดินเป็นอันดับแรก โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และ มีคุณภาพดีผลิตปุ๋ย ผมเคยซื้อขี้วัวขี้ไก่มาทําปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในฟาร์มฮาร์โมนี้ไลฟ์ โดยนํามาผสมกับฟาง และหญ้าแล้วหมักทิ้งไว้ครึ่งปี ผมคิดว่าถ้านําปุ๋ยนี้ไปใช้ในพื้นที่การเกษตรจะสร้างดินที่ อุดมด้วยสารอาหารได้ แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม ไม่ว่าจะดูแลดีแค่ไหนพืชผักก็ยังเป็น โรคและถูกแมลงกัดกิน เมื่อลองคิดดูดี ๆ วัวและไก่เหล่านั้นถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่ใส่ยาปฏิชีวนะปริมาณ มากนั่นเอง ร่ายกายของพวกมันมีสารเคมีสังเคราะห์สะสมอยู่จึงนํามาทําปุ๋ยหมักไม่ได้ เนื่องจากมีแบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์ซัลเฟอร์อยู่มาก ขี้วัวขี้ไก่จึงมีกลิ่นเหม็นล่อแมลง มาตอมกันยกใหญ่ เมื่อเข้าใจเรื่องนี้ผมจึงเดินทางไปหลายแห่งเพื่อหาวัตถุดิบที่ดีมาทําปุ๋ย ผมได้ รับคําแนะนําจากฟาร์มเลี้ยงหมูว่า “ใช้ขี้หมูดีกว่า” แต่อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูก็ผสมสารเคมี และยาปฏิชีวนะเช่นกัน แถมยังมีกลิ่นแรงจนต้องใช้ยาดับกลิ่นเพื่อทําให้กลิ่นอ่อนลง แล้ว ถ้าเป็นขี้ม้าล่ะใช้ได้ไหม ผมไปฟาร์มเลี้ยงม้าแข่ง ขี้ม้าก็ไม่เลวเท่าไร แต่ประเทศไทยมีฟาร์ม เลี้ยงม้าไม่มากนัก จึงมีปริมาณไม่มากพอ ผมได้ยินคนพูดกันว่า “ขี้ค้างคาวนี่สุดยอดปุ๋ยเลย” คงเป็นเพราะพวกมันกิน แมลง ขี้ของมันจึงมีคุณภาพดี แล้วผมก็ต้องประหลาดใจที่รู้ว่าในประเทศไทยมีคนทําอาชีพ เก็บขี้ค้างคาวขายด้วย คงเป็นเพราะมีความต้องการใช้ปุ๋ยขี้ค้างคาวมากนั่นเอง ผมนําขี้ ค้างคาวไปวิเคราะห์หาสารอาหาร ปรากฏว่ามันมีความสมดุลและเหมาะสมที่จะนําไปทํา ปุ๋ยเป็นที่สุด แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่ขี้ค้างคาวมีราคาแพง ถ้าใช้อย่างต่อเนื่องคงมีปัญหาเรื่อง ต้นทุนแน่ ผมเสาะหาแหล่งวัตถุดิบผลิตปุ๋ยชั้นดีอย่างไม่ย่อท้อ แต่ก็ยังห่างไกลจากสิ่งที่ ต้องการ จึงฉุกคิดขึ้นมาว่า “ถ้าอย่างนั้นก็ผลิตปุ๋ยจากมูลสัตว์ในแบบที่ต้องการเองเลยก็ แล้วกัน” ผมปรับพื้นที่มุมหนึ่งของฟาร์มเพื่อใช้เลี้ยงวัวและไก่ เริ่มแรกผมเลี้ยงวัว 20 ตัว ไก่อีก 500 ตัว อาหารสัตว์ก็ให้ผลผลิตจากฟาร์มแทบทั้งหมด…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ความท้าทายเมื่อเริ่มต้นทําเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ความท้าทายเมื่อเริ่มต้นทําเกษตรอินทรีย์ ในประเทศไทย เหตุผลที่ผมอยากปลูกผักออร์แกนิกนั้นได้เขียนถึงไปแล้ว หากเล่าให้ลึกถึงแก่น แล้วก็ต้องบอกว่าเมื่อผมตัดสินใจจะทําเกษตรแล้วก็ไม่คิดจะปลูกอะไรเลยนอกจากผัก ออร์แกนิก พอได้ทําจริง ๆ จึงรู้ซึ้งว่ายากลําบากมาก ส่วนผลที่ได้นั้น การเก็บเกี่ยวในช่วง 4 ปีแรกปริมาณผลผลิตไม่แน่นอน เรียกว่าไม่มีความเสถียรเอาเสียเลย ในช่วงนั้นผมท้อใจ มากเพราะประสบความล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง บริษัทขาดความน่าเชื่อถือจนมีพนักงาน ลาออกไปหลายคน ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เมื่อลองทําตามความรู้ที่อ่านจากหนังสือ ของญี่ปุ่นใช้ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากอากาศแบบร้อนชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของแมลง ผมจะปล่อยให้ผลผลิตเสียหายไม่ได้ แล้วในหนังสือของญี่ปุ่นก็ไม่ได้เขียนถึงปัญหานี้เอา ไว้เสียด้วย ครั้งหนึ่งมีแมลงที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนกัดกินทําลายผลผลิตเสียหายย่อยยับ ประกอบกับการมีฤดูแล้งและฝนนานอย่างละครึ่งปี พอเข้าสู่ฤดูฝนฝนก็ตกหนักจนพืชผัก เน่าเสียและเกิดโรคต่าง ๆ เพื่อเลี่ยงสภาพเศรษฐกิจอันเลวร้าย ผมต้องหาวิธีปลูกผักที่ ทําให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้สม่ําเสมอ จึงได้พบกับบุคคลหลายท่านและไปเยี่ยมดูงานฟาร์ม หลายแห่งเพื่อขอคําแนะนําผมได้นําความรู้ที่ได้มาลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งเพื่อค้นหา วิธีที่ทําให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวอย่างสม่ําเสมอ เมื่อเริ่มต้นทํากิจการผมยังขาดแคลนเงินทุน การเก็บเกี่ยวยิ่งน้อยเท่าไหร่สภาพ คล่องทางการเงินก็น่าเป็นห่วงมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งการส่งสินค้าก็อยู่ในภาวะไม่แน่นอน ฟาร์มฮาร์โมนี้ไลฟ์จึงขาดความเชื่อถือจากห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เกตที่นําสินค้า ไปวางขาย ทําให้ถูกลดพื้นที่วางสินค้า แต่ที่เลวร้ายที่สุดคือ การไม่มีสินค้าวางขายเลย

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ความทุกข์ทรมานของเกษตรกรไทย วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ที่เกิดขึ้นจากการได้รับยาฆ่าแความทุกข์ทรมานของเกษตรกรไทย การปลูกผักผลไม้ด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์นั้นเป็นรากฐานของฮาร์โมนี้ไลฟ์ ผู้ที่ ทํางานนี้ต้องทําความเข้าใจเรื่องการไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ความจริงการทําเกษตร ในประเทศไทยใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมากเกินความจําเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ถึงจะมี นโยบายระดับชาติที่เคลื่อนไหวและสนับสนุนการทําเกษตรปลอดสารพิษ แต่เกษตรกร มากกว่า 99% ยังใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงกันอยู่ การใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกาย นี่คือความเสีย หายที่เกิดจากแนวคิดผลิตปริมาณมาก จําหน่ายปริมาณมาก และทิ้งปริมาณมาก ซึ่งเกิด ขึ้นจริงกับการทําเกษตรของประเทศไทย เมื่อพ่นยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีป้องกันกําจัดแมลงลงบนผืนดิน ขณะเพาะปลูก พืชสารเคมีเหล่านี้จะสัมผัสมือของผู้ใช้โดยตรง หรืออาจสูดดมเข้าไปทางจมูกและปาก ผล มลงและปุ๋ยเคมีที่มีความเข้มข้นสูงเทียบกับการได้รับสาร เคมีปนเปื้อนในผักผลไม้ที่วางขายตามท้องตลาดไม่ได้เพราะการสัมผัสโดยตรงทําให้เกิด โรงมะเร็งและเกิดความผิดปกติของระบบประสาท ไม่เพียงเกษตรกรจะป่วยเป็นโรคที่ส่ง ผลต่อร่างกายโดยตรง ยังมีผลต่อจิตประสาทด้วย ทําให้อัตราการฆ่าตัวตายของเกษตรกร เพิ่มขึ้น ในอดีตเกษตรกรญี่ปุ่นเคยเลือกเดินตามเส้นทางการเพาะปลูกโดยพึ่งพาสารเคมี ไม่สิ ปัจจุบันอาจยังทําแบบเดิมกันอยู่ก็ได้ แต่เกษตรกรไทยส่วนหนึ่งได้เห็นข้อดีของเกษตร อินทรีย์และเริ่มนําไปปฏิบัติบ้างแล้ว ผมอยากทําให้เกษตรอินทรีย์แพร่หลายไปทั่วโลก และความคิดนี้ก็ไม่เปลี่ยนแปลงจากตอนเริ่มก่อตั้งฟาร์มฮาร์โมนี้ไลฟ์มันยังคงอยู่และแน่ว แน่มากขึ้น

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การสร้างโรงงานในฟาร์ม วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    การสร้างโรงงานในฟาร์ม จากที่เล่าในบทที่ 1 ว่าผมตัดสินในผลิตน้ํายาซักผ้าและสบู่จากน้ํามันที่สกัดจาก พืช ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปรับสภาพแหล่งน้ําให้ดีขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ผมคิดว่าต้องทําให้ได้ก็ คือ การสร้างโรงงานในฟาร์ม ตอนแรกโรงงานเป็นเพียงห้องเล็ก ๆ 2 ห้อง แต่ละห้องมีพื้นที่ 50 ตารางเมตร ห้องแรกใช้ผลิตน้ํายาล้างจานสูตรธรรมชาติ น้ํายาซักผ้าสูตรธรรมชาติ และสบู่โอลีฟออยล์ ส่วนอีกห้องใช้ผลิตผงผักโมโรเฮยะ แยมปลอดสารเคมี และชาสมุนไพรออร์แกนิก สินค้าเหล่านี้วางจําหน่ายตามซุปเปอร์มาร์ เกตและห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เมื่อมีคนเข้าใจว่าดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไร ลูกค้า ที่สนใจผลิตภัณฑ์ก็มีมากขึ้น ในตอนนั้น เมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกหรือสินค้าที่ทําจากวัตถุดิบ ธรรมชาติกับสินค้าทั่วไปตามท้องตลาดแล้ว ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจต่อสินค้าออร์แกนิ กน้อยมาก ทั้งสินค้ายังมีราคาแพงและหาซื้อยาก ลูกค้ากลุ่มแรก ๆ จึงเป็นแม่บ้านชาวญี่ปุ่น ที่ย้ายตามสามีเข้ามาอยู่ในประเทศไทยซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ ปีต่อมา ฮาร์โมนี้ไลฟ์เริ่มผลิตบะหมี่ผักที่ทําจากผงผักโมโรเฮยะออร์แกนิก ตอน นั้นชาวไทยยังไม่มีใครรู้จักผักโมโรเฮยะเลย การจําหน่ายจึงเป็นไปอย่างยากลําบาก ผม ตัดสินใจขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้น และเริ่มผลิตสินค้าจากผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร การมี โรงงานมีข้อดีเพราะทําให้ประกอบธุรกิจได้หลากหลาย ซึ่งผมจะเล่าถึงในโอกาสต่อไป