smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

IoT for Agriculture เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่ภาครัฐเน้นส่งเสริมอย่างจริงจัง

รัฐบาลญี่ปุ่นผลักดัน ”เกษตรแม่นยำ (Precision Farming)” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี IoT เพื่อลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยแบ่ง

แผนออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

1) การนาเกษตรแบบด้ังเดิมผสมผสานกับเคร่อื งจักรสมัยใหม่ เช่น หุ่นยนต์รถแทรกเตอร์
2) การพัฒนาเทคโนโลยี Mapping-oriented variable-rate application และ
3) การผสมผสาน Mapping-oriented และ Wisdom-oriented สำหรับพัฒนาอุปกรณ์แบบ 0n-the-go เพื่อให้เกิด “Sensing as a service”ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ ปุ่น ได้ ร่วมมือ กับ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA)ออกแบบระบบดาวเทียมนำร่อง Quasi-Zenith Satellite System (QZSS) ที่มีความคล้ายคลึงกับระบบดาวเทียม GPS ของสหรัฐฯ โดย QZSS จะสามารถระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาที่มีความแม่นยำและซับซ้อนสูงในระดับ Sub-meters level ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย เพื่อให้เอื้อต่อการออกแบบเครื่องมือที่ต้องอาศัยการระบุตำแหน่งที่แม่นยำอย่าง Drone positioning หรือหุ่นยนต์อัตโนมัติยิ่งกว่าน้ัน ยังมีความร่วมมือระหว่าง SoftBank CKD Corporation และ Ericsson ในการจัดทำเซ็นเซอร์แพลตฟอร์มที่เรียกว่า “e-kkashi” ที่ได้รวบรวมเซ็นเซอร์วัด อุณหภูมิ และความชื้นในดิน โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะถูกควบคุมด้วยระบบ Cloud-based AI ที่สามารถสั่งการเปิดปิดอุปกรณ์อัตโนมัติได้ เช่น Sprinkler,
liquid-fertilizer pumps, heat pumps, and CO2 generators or open/close windows

รัฐบาลสิงคโปร์พยายามผลักดันประเทศเป็นศูนย์กลางการพัฒนา Agritechโดยเฉพาะแปลง ”เกษตรในที่ร่ม (Indoor Farming)” เพื่อลดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ เนื่องจากสิงคโปร์มีพื้นที่เกษตรกรรมน้อยกว่า 1% และต้องนำเข้าผักผลไม้จากต่างประเทศมากถึง 92% เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ โดย Indoor Farming จะช่วยเพิ่มอัตราการผลิตให้เพียงพอกับความมั่นคงทางอาหารสาหรับ ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก โดยคาดว่าตลาดเกษตรในที่ร่ม จะขยายตัวถึง 20% ต่อปีไปจนถึงปี 2023 รวมไปถึงรัฐบาลสิงคโปร์ยังตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุนและการใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตรของโลก เพื่อการจัดการระบบพื้นที่ปลูกให้เชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับประเทศไทย Krungthai COMPASS มองว่า IoT เป็นหนึ่งในเทคโนโลยี Agritechซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S-Curve จึงทำให้ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมของภาครัฐ โดยเป็นรูปแบบการสนับสนุนผู้ประกอบการยกระดับธุรกิจเกษตรด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การสนับสนุนเงินให้เปล่าในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์ในการเช่าใช้บริการระบบ ค่าอุปกรณ์ Hardware Smart Device และมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับผู้ให้บริการ IoT และผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจเกษตร อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงิน เป็นต้นนอกจากนี้ ภาครัฐ ยังตั้งเป้าเปลี่ยน “Survived Farmer” ให้เป็น “Smart Farmer”10ผ่านโครงการ Digital Agriculture เช่น การพัฒนา Big Data/IoT ในภาคเกษตรการพัฒนา Cloud Service สาหรับ ภาคเกษตร รวมท้ังการใช้ Precision Technology