เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

วางระบบ เกษตรอินทรีย์ มาตรฐานเกษตรอินทรี smart farmer ออร์แกนิค organic

มาตรฐานเกษตรอินทรี

ความเป็นมาของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์
(Organic food Production Act-OFPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)

ตลาดร่วมกลุ่มประเทศในยุโรป (European Unity : EU.) ได้มีการรวบรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของสภาตลาดร่วมยุโรป (EEC No. 2092/91) และฉบับแก้ไข ข้อกำหนดส่วนใหญ่ให้คำแนะนำในการนำเข้าอาหารอินทรีย์ที่ผลิตจากประเทศอื่น ภายใต้มาตรฐานการผลิต และมาตรการตรวจสอบที่เหมือนกันทุกประการ

ประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เมื่อวันที่ 1เมษายน พ.ศ. 2544 โดยอ้างอิงกฎหมายมาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น (Japan Agriculture Standard – JAS)

ประเทศไทย ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ หลังจากผ่านการปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยมาเป็นลำดับโดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยและผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ได้ออกมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ฉบับปรับปรุง

เล่ม 1 : การผลิต แปรรูปแสดงฉลาก และจำหน่ายเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นมาตรฐานกลางในการตรวจสอบและให้การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ ใช้แทนเล่มเดิมซึ่งได้ยกเลิกการใช้ นอกจากนี้ยังมีเกษตรอินทรีย์
เล่ม 2 : ปศุสัตว์อินทรีย์ เกษตรอินทรีย์
เล่ม 3 : อาหารสัตว์น้ำอินทรีย์เกษตรอินทรีย์
เล่ม 4 : ข้าวอินทรีย์ และล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ได้มีมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์
เล่ม 5 : ปลาสลิดอินทรีย์ เป็นต้น

สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรป โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจรับรอง คือ IOAS

สมาคมดินแห่งสหราชอาณาจักร (Soil Association UK) เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้พัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร และในหลายประเทศทั่วโลก

องค์กรเครือข่าย (Pesticide Network Action : PNA) เป็นองค์กรเครือข่ายของสหราชอาณาจักร และประเทศเนเธอแลนด์ ที่กำลังปฏิบัติการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย

มีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
— ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
— พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
— ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
— ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
— ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
— ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
— ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
— กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
— ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม
— ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการ