• smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ขนุน ปฎิทิน ขั้นตอน การปลูก การดูแล รักษา

    การเตรียมดิน ที่ลุ่ม ขุดร่องยกแปลงขึ้นมาเพื่อการระบายน้ำ ที่ดอน ไถพรวน และปรับพื้นที่ให้ การเตรียมพันธุ์ ลักษณะของขนุนพันธุ์ดีที่ควรเลือกไปปลูก มีดังนี้1) เจริญเติบโตดี มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี2) ให้ผลผลิตดี สามารถออกผลทะลายได้ง่าย ขนาดผลสม่ำเสมอและออกผลสม่ำเสมอทุกปีพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ทองประเสริฐ, เหลืองบางเตย,ทองสุดใจ, ทะวายปีเดีย ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด โรคผลเน่า ระบาดได้ดีเมื่อทรงพุ่มไม่โปร่ง ไม่มีแสงแดดส่องทั่วถึง เข้าทำลายดอกและผลอ่อน โรคราสีชมพู ระบาดในฤดูฝน สปอร์ของเชื้อราระบาดไปกับลมและน้ำฝน ตรงง่ามของกิ่งหรือลำต้นด้วงเจาะลำต้น (ด้วงหนวดยาว) ระบาดตลอดเวลา หนอนตัวอ่อนจะเข้ากัดกินเนื้อไม้ใต้เปลือกและเจาะไชเข้าไปในลำต้นหรือกิ่ง เพื่อเข้าดักแด้ ขนุนจึงแสดงอาการใบเหี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ระวังไม่ให้ผลเกิดแผล และนำลผลิตเข้ำที่ร่มกำจัดยำง คัดขนำดเพื่อรอจำหน่าย การปลูก ระยะปลูก 8 x 8 เมตร หรือ 10 x 10 เมตร การปลูกแบบยกร่องคือ 6 x 7.5 เมตรวิธีการปลูก ขุดหลุม 50 x 50 x 50 เซนติเมตร แล้วผสมดินด้วยปุ๋ยคอก จำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต จำนวน 500กิโลกรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุมยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุมโดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย กลบดินที่เหลือแล้วกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่นปักไม้หลักและผูกเชือกยึดกันลมพัดโยก หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง การดูแลระยะติดดอก – ออกผลระยะออกดอก ช่วงพักต้นควรให้ปุ๋ยเสมอ 15-15-15, 16-16-16ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างสม่ำเสมอ1 – 2 กิโลกรัมต่อต้นระยะติดผลจะเป็นช่วงที่ต้องการน้ำมากที่สุด ให้น้ำ ตามความเหมาะสมกับสภาพอากาศและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างสม่ำเสมอ การดูแลระยะผลอ่อน 1) ห่อผลขนุนเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของหนอนเจาะผล2) หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้มีการตกค้างของสารเคมีในผลผลิตขนุน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ การเก็บเกี่ยว ดัชนีการเก็บเกี่ยว เมื่อขนุนอายุ 120 วัน ขนุนมีผิวตึง หนามห่าง ปลายหนามแห้งโคนหนามแบนราบ ใบเลี้ยงที่อยู่เหนือขั้วเหลืองร่วง แล้วเคาะฟังเสียงหลวม (ปุ) แสดงว่าขนุนเริ่มแก่แล้ว1) ใช้มีดตัดที่ขั้วผล ระวังยาง2) วางลงบนใบตอง หรือกระสอ

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ทุเรียน การเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต

    ข้อมูลสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของทุเรียน สภาพแวดล้อม ความเหมาะสม ข้อจำกัด 1. สภาพภูมิอากาศ1.1 อุณหภูมิ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสและไม่เกิน 46 องศาเซลเซียส – ทุเรียนเป็นไม้ผลเขตร้อนชื้น จึงไม่สามารถขึ้นได้ในพื้นที่เขตร้อนที่มีน้ำค้างแข็ง เพราะการเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก– อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ใบอ่อนจะร่วง ออกดอกยากและติดผลน้อย– ทุเรียนทนทานต่ออุณหภูมิสูงได้ถึง 46 องศาเซลเซียส 1.2 ความชื้นสัมพัทธ์ มากกว่า 30 % ความชื้นต่ำทำให้ใบแห้ง ใบร่วง มีปัญหาเรื่องการผสมเกสรและการติดผล 1.3 ความยาวช่วงแสง 400 – 700 นาโนเมตร 1.4 ความเข้มของแสง – ต้นทุเรียนที่ปลูกใหม่ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตต้องการร่มเงาหรือการพรางแสงประมาณ 30 – 40 %– ระยะปลูกคือ 8 X 8 – 10 X 10 เมตร ปลูกได้ประมาณ 16 – 25 ต้นต่อไร่ ต้องมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นทุเรียนมีโครงสร้างและทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ใบได้รับแสงอย่างทั่วถึง สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความเข้มแสงใต้ทรงพุ่มน้อยกว่าหรือเท่ากับ 90 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที – ทุเรียนเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ ไม่แนะนำให้ปลูกระยะชิด– การตัดแต่งกิ่งเพื่อทรงพุ่มโปร่ง นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงดีขึ้น ยังส่งผลดีต่อการถ่ายเทอากาศช่วยลดความชื้นภายในทรงพุ่ม ความความเสียหายจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุของโรคที่สำคัญ เช่น โรคใบติด และโรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดที่เชื้อจะแพร่จากใบไปสู่ผล เช่น ไฟทอฟธอรา แอนแทรคโนสเป็นต้น 1.5 ฝน ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,600 – 4,000 มิลลิเมตรต่อปีการกระจายตัวของฝนดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน 1.6 ความเร็วลม ไม่เป็นพื้นที่ที่มีลมกรรโชกแรง ลมแรงเสี่ยงต่อการทำให้กิ่งฉีกหรือหัก ต้นโค่นล้ม โดยเฉพาะต้นทุเรียนที่กำลังติดผล จึงควรป้องกันด้วยการโยงกิ่งและผล สภาพแวดล้อม ความเหมาะสม ข้อจำกัด 2. สภาพพื้นที่2.1 ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 650 เมตร 2.2 ความลาดชันของพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบหรือพื้นที่มีความลาดเอียงระดับ 1 –…

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand การเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต ผลไม้ ทุเรียน

    เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาทุเรียน 1.การเตรียมการก่อนปลูก 1.1 การเตรียมดินที่ลุ่ม ยกร่องสวนให้สันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตรมีระบบระบายน้ำเข้า-ออกที่ดอน ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ และขุดร่องระบายน้ำภายในสวน1.2 การเตรียมพันธุ์ต้นแข็งแรง ไม่ค้างปี ตรงตามพันธุ์ ต้นตอเป็นพันธุ์พื้นเมือง ทนต่อโรครากเน่าโคนเน่าระบบรากไม่ขดหรืองอ มีใบหนาสีเขียวเข้ม 2.การปลูก 2.1 แบบเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกให้รอยต่อระหว่างต้นพันธุ์และต้นตออยู่สูงกว่าระดับดิน กลบดินให้แน่น2.2 แบบนั่งแท่นหรือยกโคก ไม่ต้องขุดหลุมปลูก วางต้นพันธุ์แล้วขุดดินมากลบจนอยู่ในระดับเดียวกับผิวดินของต้นพันธุ์ พรวนดินและขุดดินเพื่อขยายโคนปีละ 1-3 ครั้ง จนเริ่มให้ผลผลิตจึงหยุด2.3 ปลูกระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 8 X 8 เมตร หรือ 10 X 10 เมตร2.4 ปลูกระบบแถวกว้างต้นชิดระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 10 X 5 เมตร หรือ 12 X 6 เมตร 3.การดูแลรักษา 3.1การให้ปุ๋ยปุ๋ยคอก อัตราปีละ 2.25 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้ง ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16อัตราปีละ 1 กิโลกรัมต่อต้น3.2การให้น้ำความต้องการน้ำของทุเรียนต้นเล็ก ประมาณ 0.6 เท่าของค่าอัตราการระเหยน้ำ (มิลลิเมตรต่อวัน) คูณด้วยพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม เช่น ในภาคตะวันออก เมื่ออัตราการระเหยน้ำวันละ3.8 – 5.7 มิลลิเมตร มีพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร เท่ากับการให้น้ำวันละ 2.3 – 3.4 ลิตรต่อต้นระบบการให้น้ำที่เหมาะสม ใช้ระบบการให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก 4.การป้องกันกำจัดศัตรูพืช 4.1 โรครากเน่าโคนเน่า ระบาดมากในช่วงฝนตกชุกหรือในช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง อาการโคนเน่าจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงหมดฝน ทำลายได้ทุกส่วนของพืช4.2 โรคราใบติด ระบาดมากในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะต้นที่มีใบแน่นทึบเกินไป ทำลายบริเวณส่วนของยอดและใบ4.3 โรคราสีชมพู ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ทำลายบริเวณง่ามกิ่งและโคนกิ่ง4.4 โรคใบไหม้/แอนแทรคโนส…

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ทุเรียน ปฎิทิน ขั้นตอน การปลูก การดูแล รักษา

    การเตรียมดิน ที่ลุ่ม ยกร่องสวนให้สันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตรร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตรลึก 1 เมตร มีระบบระบายน้ำเข้า – ออกที่ดอน ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ และขุดร่องระบายน้ำภายในสวน การเตรียมพันธุ์ ต้นแข็งแรง ไม่ค้างปี ตรงตามพันธุ์ ต้นตอเป็นพันธุ์พื้นเมืองทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า ระบบรากไม่ขดหรืองอ มีใบหนาสีเขียวเข้ม การปลูก แบบเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 ซม. ปลูกให้รอยต่อระหว่างต้นพันธุ์และต้นตออยู่สูงกว่าระดับดิน กลบดินให้แน่น แบบนั่งแท่นหรือยกโคก ไม่ต้องขุดหลุมปลูก วางต้นพันธุ์แล้วขุดดินมากลบจนอยู่ในระดับเดียวกับผิวดินของต้นพันธุ์ พรวนดินและขุดดินเพื่อขยายโคนปีละ 1 – 3 ครั้ง จนเริ่มให้ผลผลิตจึงหยุด ปลูกระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก8 X 8 เมตร หรือ 10 X 10 เมตร ปลูกระบบแถวกว้างต้นชิดระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 10 X 5 เมตร หรือ 12 X 6 เมตร ศัตรูที่สำคัญ เพลี้ยไฟ ระบาดมากช่วงออกดอก และผลอ่อน ไรแดง ระบาดช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งทำลายบริเวณใบทุเรียน ทำให้มีสีซีดทั้งใบ หนอนกินขั้วผล, หนอนเจาะผล, หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ทำลายตั้งแต่ช่วงติดดอก ผลแก่ โรครากเน่าโคนเน่า ระบาดมากในช่วงฝนตกชุกหรือในช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง อาการโคนเน่าจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงหมดฝน ทำลายได้ทุกส่วนของพืช การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ควรขนถ่ายให้น้อยครั้งที่สุดเพราะการขนถ่ายแต่ละครั้งจะทำให้หนามทุเรียนทิ่มแทงกัน เป็นช่องทางให้เชื้อราเข้าทำลายได้ คัดแยกผล และคัดขนาดตามความต้องการของตลาด ควบคุมโรคผลเน่า โดยจุ่มผลในสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา การบ่มทุเรียน โดยจุ่มสารเอทธีฟอน หลังจุ่มสารป้องกันกำจัดเชื้อราและสารเอทธีฟอนแล้ว ให้ผึ่งผลทุเรียนให้แห้ง ติดสติกเกอร์รับรองคุณภาพ รอการขนส่งไปยังตลาด เก็บรักษาที่ 14 – 16 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 85 – 90 % จะเก็บรักษาไว้ได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับอายุของผลทุเรียน ดูแลระยะผลพัฒนา ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ย หลังดอกบาน 30 วัน ถ้าต้นขาดความสมบูรณ์ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบพร้อมสารป้องกันโรคแมลง…

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ทุเรียน ปฎิทิน ขั้นตอน การปลูก การดูแล รักษา

    สภาพแวดล้อม ความเหมาะสม ข้อจำกัด 1. สภาพภูมิอากาศ – ปริมาณน้ำฝน 1,000 มิลลิเมตรต่อปี– อุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส – ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปจะทำให้ต้นโตช้าออกปลีช้า– ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ใบไหม้ การดูดน้ำและอาหารลดลง ทำให้คุณภาพไม่ดี 2. สภาพพื้นที่ – ความชื้นสัมพัทธ์อย่างน้อย 60%– มีการหมุนเวียนของอากาศดี 3. สภาพดิน – ร่วนซุย มีความสมบูรณ์สูง การระบายอากาศดี– มีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4.5 – 7 4. สภาพน้ำ – มีน้ำสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้ผลผลิตสม่ำเสมอ แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พรวนดินรอบๆ ต้นทุกๆ 2 เดือน หรือทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นกล้วยเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น ทำความสะอาดแปลงเพื่อลดการระบาดของโรคใบไหม้หลังจากตัดปลีแล้ว ห่อผลกล้วยเพื่อทำให้กล้วยมีผิวสวยและมีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักดี เป็นที่ต้องการของตลาด แหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมกรมส่งเสริมการเกษตร.2547.คู่มือพืชเศรษฐกิจ.กรุงเทพฯสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.2555. 52 สัปดาห์รู้แล้วรวย.กรุงเทพฯ

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ กล้วยไข่ การปลูก การดูแล รักษา

    การเตรียมการก่อนปลูก 1.1 การเตรียมดินทำการไถพรวน พร้อมตากดิน 30 วัน แล้วทำ การใส่ปุ๋ยคอกและปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน1.2 การเตรียมพันธุ์การเลือกต้นพันธุ์ควรเป็นต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือหน่อที่ดีให้ผลผลิตสูงลักษณะต้นพันธุ์ที่จะนำมาปลูก เลือกใช้หน่อใบแคบ (ใบดาบ) หรือที่เรียกว่า“หูกวาง” ที่มีความสูง50 เซนติเมตร มีใบ 2 – 3 ใบ ใบจะแคบยังไม่คลี่ออกเต็มที่คล้ายกับหูกวาง ก่อนปลูกให้ใช้สารฟูราดาน3 ช้อนโต๊ะ ปุ๋ยเกล็ด 2 ช้อนโต๊ะ ฮอร์โมนเร่งราก 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 50 ลิตร ละลายให้เข้ากันแล้วเอาหน่อกล้วยจุ่มลงไปก่อนนำไปปลูก การปลูก 2.1 ระยะปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2.5 X 3 เมตร หรือ 2.5 X 2.5 เมตร2.2 จำนวนต้นต่อไร่ ประมาณ 200 – 250 ต้นต่อไร่2.3 ช่วงเวลาในการปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน2.4 วิธีการปลูก– ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 X 50 X 50 เซนติเมตร– ผสมดิน ปุ๋ยคอก จำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต จำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม– ควรวางหน่อลงที่ก้นหลุมให้ลึกลงประมาณ 25 เซนติเมตร โดยหันรอยแผลที่ตัดแยกไปในทิศทางเดียวกัน– กลบดินลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง– รดนน้ำให้ชุ่ม การดูแลรักษา3.1 การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13–13–21 และ 15–15–15 อัตราปีละ 1 กิโลกรัมต่อต้นโดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ครั้งละ 250 กรัมครั้งที่ 1 ใส่หลังจากปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ…