smart farm เกษตรอัจฉริยะ

เกษตร smart farm thailand ผลไม้ กล้วยไข่ การปลูก การดูแล รักษา

  • การเตรียมการก่อนปลูก

    1.1 การเตรียมดินทำการไถพรวน พร้อมตากดิน 30 วัน แล้วทำ การใส่ปุ๋ยคอกและปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน
    1.2 การเตรียมพันธุ์การเลือกต้นพันธุ์ควรเป็นต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือหน่อที่ดีให้ผลผลิตสูง
    ลักษณะต้นพันธุ์ที่จะนำมาปลูก เลือกใช้หน่อใบแคบ (ใบดาบ) หรือที่เรียกว่า“หูกวาง” ที่มีความสูง50 เซนติเมตร มีใบ 2 – 3 ใบ ใบจะแคบยังไม่คลี่ออกเต็มที่คล้ายกับหูกวาง ก่อนปลูกให้ใช้สารฟูราดาน3 ช้อนโต๊ะ ปุ๋ยเกล็ด 2 ช้อนโต๊ะ ฮอร์โมนเร่งราก 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 50 ลิตร ละลายให้เข้ากันแล้วเอาหน่อกล้วยจุ่มลงไปก่อนนำไปปลูก
  • การปลูก

    2.1 ระยะปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2.5 X 3 เมตร หรือ 2.5 X 2.5 เมตร
    2.2 จำนวนต้นต่อไร่ ประมาณ 200 – 250 ต้นต่อไร่
    2.3 ช่วงเวลาในการปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
    2.4 วิธีการปลูก
    – ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 X 50 X 50 เซนติเมตร
    – ผสมดิน ปุ๋ยคอก จำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต จำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกัน
    ในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
    – ควรวางหน่อลงที่ก้นหลุมให้ลึกลงประมาณ 25 เซนติเมตร โดยหันรอยแผลที่ตัดแยก
    ไปในทิศทางเดียวกัน
    – กลบดินลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
    – รดนน้ำให้ชุ่ม
  • การดูแลรักษา
    3.1 การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13–13–21 และ 15–15–15 อัตราปีละ 1 กิโลกรัมต่อต้น
    โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ครั้งละ 250 กรัม
    ครั้งที่ 1 ใส่หลังจากปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15
    ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
    ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
    ครั้งที่ 4 ใส่ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ใช้สูตร 13-13-21
    3.2 การให้น้ำ โดยการปล่อยน้ำ ไปตามร่องระหว่างแถวปลูกอย่างช้าๆ หรือใช้ระบบหัวเหวี่ยง(สปริงเกอร์) เพื่อให้นน้ำซึมผ่านผิวดินลงไปถึงดินชั้นล่าง สำหรับการให้นน้ำในช่วงฤดูแล้งจะอยู่ประมาณ 10 – 15 วันต่อครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพดิน และอัตราการระเหยของนน้ำ
    3.3 การปฏิบัติงานอื่นๆ
    • การแต่งหน่อ หลังปลูกไปแล้วประมาณ 3 – 4 เดือน ให้ตัดแต่งหน่อออก เพื่อให้เครือมีความสมบูรณ์ หลังจากปลูกแล้ว 7 – 8 เดือน อาจมีการไว้หน่อทดแทน ควรเลือกไว้ 2 หน่อที่ตรงข้ามกัน
    • การตัดใบ ควรตัดใบให้เหลือประมาณต้นละ 12 ใบ ในระยะกล้วยกำลังเจริญเติบโตแต่ในระยะที่ตกเครือควรจะตัดใบให้เหลือเพียง 9 ใบ
    • การคน้ำกล้วย เครือกล้วยที่หนักอาจทำให้ต้นล้มหรือโค้งงอได้ โดยค้ำ บริเวณเครือโดยตรงพร้อมบริเวณกลางลำต้น หรือผูกลำต้นกล้วยไว้กับไม้หลักที่ปักไว้ข้างลำต้น
    • การตัดปลี เมื่อปลีกล้วยเริ่มบานจนถึงหวีตีนเต่าแล้ว ให้ตัดปลีทิ้งเพื่อให้ผลกล้วยเจริญเติบโตเร็วขึ้น
    • การห่อผล หากผลิตเพื่อการส่งออก ควรห่อผลเครือกล้วยด้วยถุงพลาสติกสีฟ้าบางๆระยะ 25 – 30 วันหลังจากตัดปลีกล้วยทิ้ง ซึ่งจะช่วยทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น
  1. การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
    4.1 โรคใบจุด โดยการตัดใบกล้วยที่เป็ดโรคไปเผาทิ้ง
    4.2 ด้วงงวง จะเข้าทำลายบริเวณรากและเหง้าของกล้วย
    ป้องกันโดยทำความสะอาดสวน หรือใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม
  2. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
    5.1 การเก็บเกี่ยว
    – เมื่อกล้วยมีอายุได้ 60 -70 วัน
    – ผลอ้วนกลมไม่มีเหลี่ยม ผิวบางใสสีเขียวอมเหลือง
    – ให้เลือกตัดเครือที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดก่อน
    5.2 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
    – นำเครือกล้วยแขวนบนราวให้ระยะห่างกันเล็กน้อย
  • ทำความสะอาดปลายผล โดยใช้ฟองนน้ำชื้นๆ เช็ดกลีบแห้งที่ติดกับปลายผลออกอย่างระมัดระวัง
  • แบ่งกล้วยออกเป็นหวีๆ โดยใช้มีดคมๆ แต่งขั้วให้บางและเรียบ ระวังอย่าให้ยางหยดใส่หวีอื่น
    – คัดขนาดกล้วยที่ถูกทำลายด้วยโรคและแมลงออก
    – ล้างนน้ำทำความสะอาด
    – จุ่มหวีกล้วยลงในสารไธอะเบนดาโซล เข้มข้น 500 ส่วนต่อล้านส่วน เป่าลมให้แห้ง
    – บรรจุหีบห่อ โดยบรรจุในถุงพลาสติก (PE) เปิดถุงและบรรจุกล่อง
    – เก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 13 – 14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85 – 92% สามารถอยู่ได้ประมาณ 40 วัน การบ่มด้วยถ่านแก๊ส (แคลเซียมคาร์ไบด์) ใช้เวลา 3 วัน กล้วยจะสุกเนื้อมีคุณภาพดี