smart farm เกษตรอัจฉริยะ

เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ทุเรียน การเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต

ข้อมูลสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของทุเรียน

สภาพแวดล้อมความเหมาะสมข้อจำกัด
1. สภาพภูมิอากาศ
1.1 อุณหภูมิ
อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสและไม่เกิน 46 องศา
เซลเซียส
– ทุเรียนเป็นไม้ผลเขตร้อนชื้น จึงไม่สามารถขึ้นได้ในพื้นที่เขตร้อน
ที่มีน้ำค้างแข็ง เพราะการเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก
– อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ใบอ่อนจะร่วง ออกดอกยาก
และติดผลน้อย
– ทุเรียนทนทานต่ออุณหภูมิสูงได้ถึง 46 องศาเซลเซียส
1.2 ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30 %ความชื้นต่ำทำให้ใบแห้ง ใบร่วง มีปัญหาเรื่องการผสมเกสรและการติดผล
1.3 ความยาวช่วงแสง400 – 700 นาโนเมตร
1.4 ความเข้มของแสง– ต้นทุเรียนที่ปลูกใหม่ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตต้องการ
ร่มเงาหรือการพรางแสงประมาณ 30 – 40 %
– ระยะปลูกคือ 8 X 8 – 10 X 10 เมตร ปลูกได้ประมาณ 16 – 25 ต้น
ต่อไร่ ต้องมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นทุเรียนมีโครงสร้างและทรง
พุ่มโปร่ง เพื่อให้ใบได้รับแสงอย่างทั่วถึง สามารถสังเคราะห์แสง
ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความเข้มแสงใต้ทรงพุ่มน้อยกว่า
หรือเท่ากับ 90 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที
– ทุเรียนเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ ไม่แนะนำให้ปลูกระยะชิด
– การตัดแต่งกิ่งเพื่อทรงพุ่มโปร่ง นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพการ
สังเคราะห์แสงดีขึ้น ยังส่งผลดีต่อการถ่ายเทอากาศช่วยลดความชื้น
ภายในทรงพุ่ม ความความเสียหายจากการเข้าทำลายของเชื้อ
สาเหตุของโรคที่สำคัญ เช่น โรคใบติด และโรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อรา
หลายชนิดที่เชื้อจะแพร่จากใบไปสู่ผล เช่น ไฟทอฟธอรา แอนแทรคโนส
เป็นต้น
1.5 ฝนปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,600 – 4,000 มิลลิเมตรต่อปี
การกระจายตัวของฝนดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน
1.6 ความเร็วลมไม่เป็นพื้นที่ที่มีลมกรรโชกแรงลมแรงเสี่ยงต่อการทำให้กิ่งฉีกหรือหัก ต้นโค่นล้ม โดยเฉพาะต้นทุเรียน
ที่กำลังติดผล จึงควรป้องกันด้วยการโยงกิ่งและผล
สภาพแวดล้อมความเหมาะสมข้อจำกัด
2. สภาพพื้นที่
2.1 ความสูงจากระดับ
น้ำทะเล
ไม่เกิน 650 เมตร
2.2 ความลาดชันของพื้นที่เป็นพื้นที่ราบหรือพื้นที่มีความลาดเอียงระดับ 1 – 3 % แต่ไม่ควรเกิน 15 %ความชื้นต่ำทำให้ใบแห้ง ใบร่วงและมีปัญหาเรื่องการผสมเกสรและการติดผล
2.3 อื่นๆไม่มีน้ำท่วมถึงทุเรียนอ่อนแอต่อสภาพน้ำท่วมขัง เพราะรากที่แช่นน้ำขาดอากาศหายใจ
จะเน่าและทำให้เชื้อไฟทอฟธอราเข้าทำลายง่ายขึ้น
3. สภาพดิน
3.1 ลักษณะของเนื้อดิน
เป็นดินร่วนปนทราย มีความสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
3.2 ความลึกของหน้าดินหน้าดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า
75 เซนติเมตร
3.3 ความเป็นกรด
– ด่างของดิน
5.0 – 6.5ถ้า pH สูงหรือต่ำเกินไป ธาตุอาหารพืชในดินจะอยู่ในรูปที่พืช
ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
3.4 ความเค็มของดินค่าความเค็มของดินต่ำกว่า 4.0 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร (dS/m)
หมายเหตุ เป็นค่ามาตรฐานสำหรับพืชทั่วไป
3.5 ปริมาณอินทรียวัตถุ2 – 3 %
3.6 ปริมาณธาตุอาหาร
ในดิน
ฟอสฟอรัส 35 – 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เหล็ก 60 – 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
แมกนีเซียม 250 – 450 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โบรอน 4 – 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
แคลเซียม 800 -1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สังกะสี 3 – 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
แมงกานีส 20 – 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทองแดง 3 – 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
โพแตสเซียม 100 – 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
หมายเหตุ เป็นปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมในดินทั่วไป
– ดินที่ใช้ปลูกทุเรียนไประยะหนึ่ง จะสูญเสียธาตุอาหารไปกับผลผลิต
ที่เก็บเกี่ยวในแต่ละปี และมีสภาพของดินเปลี่ยนไปตามวิธีการจัดการดิน
และปุ๋ยของแต่ละสวน จึงควรมีการวิเคราะห์ดินเพื่อตรวจสอบ
ระดับธาตุอาหารเพื่อเป็นแนวทางการใส่ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
– ต้นทุเรียนต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง และจุลธาตุอย่างสมดุล
เพื่อการเจริญเติบโต การติดผล และคุณภาพผลที่ดี

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและแหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

  1. การตรวจวิเคราะห์ดินและใบพืชเพื่อสามารถให้ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์เป็นการลดต้นทุนและไม่เกิดผลเสียต่อดิน
  2. การตัดแต่งช่อดอกและผล เพื่อให้ผลทุเรียนจะทำให้สามารถส่งเข้าตลาดได้ ใช้ปุ๋ยน้อยลง การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย
  3. การให้ปุ๋ยที่ถูกต้องเหมาะสมกับระยะขยายผล จะช่วยให้ประหยัดต้นทุนและแรงงานในการจัดการ
  4. เก็บเกี่ยวผลทุเรียนที่สุกแก่เหมาะสมพร้อมการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องทำให้ผลผลิตมีคุณภาพส่งถึงผู้บริโภค
  5. การผสมเกสรในช่วงดอกบานเวลา19.00 น. ช่วยให้ทุเรียนติดผล มีรูปทรงสวยเต็มทรง

แหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2547. คู่มือพืชเศรษฐกิจ.กรุงเทพฯ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2555.52 สัปดาห์รู้แล้วรวย. กรุงเทพฯ