Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางชีวภาพ Biosensing Technology Unit

    ทำงานวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมอาหารที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการตรวจวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยทางอาหาร และการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร โดยวิจัยและพัฒนาตัวอย่างที่มีความจำเพาะเจาะจงการพัฒนาเทคโนโลยีชุดตรวจที่สามารถตรวจสารบ่งชี้ทางชีวภาพได้ทีละหลายตัวพร้อมๆ กัน และการตรวจสารก่อโรคปนเปื้อนในอาหาร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีความปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า พร้อมกันนี้ได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์สารชีวโมเลกุล (Metabolites) การตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการตรวจสารเมตาโบไลต์การตรวจสารอาหารเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้คงเหลือสารอาหารที่ต้องการ และการตรวจสารอาหารที่สำคัญรวมถึงการให้บริการเชิงพาณิชย์ในการตรวจวัดระดับ Biomarker สำหรับงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมการเกษตรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมพืชเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยการค้นหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีความจำเพาะ และสามารถตรวจได้ทีละหลายตัวพร้อมๆ กันเช่นการนำเทคโนโลยีแบบอะเรย์ไม่ว่าจะเป็นแอนติบอดีอะเรย์หรือบีดอะเรย์เพื่อเป็นชุดตรวจเชื้อก่อโรคในพืชทีละหลายๆ ชนิด พร้อมกันนี้ยังมุ่งเน้นเรื่องการตรวจโรคในปลาและกุ้ง และการตรวจความสมบูรณ์พันธุ์ของกุ้งโดยการใช้ดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ Next Generation Sequencing และ In Silico Methods ทำการศึกษาในระดับ Genomics และ Transcriptomics เพื่อศึกษาหาสารชีวโมเลกุลที่บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์พันธุ์ของกุ้งกุลาดำ การใช้เทคโนโลยี Bead Array ศึกษาประชากรแบคทีเรียในลำไส้กุ้ง เพื่อหาตัวบ่งชี้ถึงแบคทีเรียกลุ่มที่มีประโยชน์ และอาจพัฒนาเป็น Probiotics ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันสัตว์น้ำ เช่น กุ้งกุลาดำ การใช้เทคโนโลยีแลมป์ร่วมกับวัสดุนาโน ร่วมกับเทคโนโลยี Microfluidics และแลมป์เปลี่ยนสี (LAMP-color) รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี Electrochemical Sensor เพื่อการตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    BIOTEC Bioprocessing Facilities

    โครงสร้างพื้นฐานของไบโอเทคที่เตรียมสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยด้านการพัฒนากระบวนการผลิตสารเมตาบอไลต์และสารมูลค่าสูงจากจุลินทรีย์สู่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รองรับงานที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (GMM) ในระดับขยาย

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ Food and Feed Innovation Cente

    วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของภาคเอกชนทั้งยังคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนทดสอบและพัฒนาระบบการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม จนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการทดลองในภาคสนาม และการประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ซึ่งจะผลักดันผลงานวิจัยให้ถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังประสานงานจัดหาและรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สร้างพันธมิตรวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ เป็นตัวกลางจัดหาและปรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการในไทยตลอดจนบริการทางวิชาการในด้านการเป็นที่ปรึกษา ทั้งยังมีการบริการด้านเทคนิค การบริการเช่าเครื่องมือสำหรับภาครัฐและเอกชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรมเฉพาะทางให้กับบุคลากร เพื่อยกระดับความสามารถทางเทคนิคของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและทักษะเพิ่มขึ้น ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ เพื่อกำหนดเกณฑ์ควบคุมความปลอดภัยในอาหารตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปลายทางการผลิต

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. NCTC

    เปิดให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้านอาหารด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยสามารถวิเคราะห์งานที่มีความซับซ้อนได้ โดยมีทีมวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการ 7 วัน ตลอด 24 ชั่วโมงพร้อมกันนั้นยังเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ทดสอบอย่างรอบด้านด้วยการทำงานประสานกับศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ 20 แห่ง รวม NCTC เพื่อยกระดับความปลอดภัยของสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและอุตสาหกรรมอาหารให้มีมูลค่าสูงขึ้นผ่านห้องปฏิบัติการสุดล้ำ ช่วยให้ภาคเอกชนลดค่าใช้จ่ายในการส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบยังต่างประเทศ โดยในส่วนของการวิเคราะห์ทดสอบด้านอาหาร แบ่งออกเป็นกลุ่มห้องปฏิบัติการย่อย 3 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ กลุ่มห้องปฏิบัติการลักษณะเฉพาะทางชีวภาพ (Biological Characterization Property Laboratory) รองรับการวิเคราะห์ทดสอบทุกบริการ ดังนี้ วิเคราะห์หาค่ากิจกรรมเอนไซม์ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเพิ่มอัตราการดูดซึมสารโภชนาการ การย่อยในร่างกาย ด้วยวิธีการทดสอบที่ได้มาตรฐานและมีวิธีปฏิบัติงานตาม NSTDA Standard Method กลุ่มห้องปฏิบัติการลักษณะเฉพาะทางกายภาพ (Physical Characterization Property Laboratory) เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพประกอบด้วย2.1 ห้องปฏิบัติการ Microscopy วิเคราะห์ลักษณะของพื้นผิวของตัวอย่างต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่นเนื้อสัตว์ เปลือกกุ้ง เซลลูโลส วุ้น เป็นต้น และวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุในอาหารและบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหาร2.2 ห้องปฏิบัติการ X-Ray Technique วิเคราะห์หาขนาดและลักษณะรูปร่างของสารโมเลกุลใหญ่ เช่นคอลลาเจน โปรตีน เป็นต้น2.3 ห้องปฏิบัติการ Material Property วิเคราะห์คุณสมบัติทางความร้อนต่างๆ ของอาหารและสารในอาหาร เช่น อุณหภูมิที่คงตัว อุณหภูมิที่อ่อนตัว อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมีเป็นต้นรวมทั้งวิเคราะห์หาจุดหลอมเหลวของอาหารต่างๆ เช่น มาการีน เจลลี่ วุ้นเป็นต้น และยังวิเคราะห์คุณสมบัติทางความร้อนในการปรับปรุง ออกแบบ จัดการ แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ กลุ่มห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี(Chemical Analysis Laboratory) เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางเคมี ประกอบด้วย3.1 Gas Chromatography and MassSpectrometry Lab วิเคราะห์หาสารปนเปื้อนอันตรายในอาหารและของเหลว เช่น ยาฆ่าแมลง ยาพิษจากเชื้อรา ยาปฏิชีวนะ สารตกค้างในเนื้อสัตว์หรือในอาหารทะเล เป็นต้น3.2 Elemental Analysis Lab วิเคราะห์เพื่อหาปริมาณของโลหะหนักที่ปนเปื้อน รวมทั้งแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบในอาหารภายในมีเครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบต่างๆเช่น Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) with Headspace Samplers (HS), Gas Chromatography-Mass Spectrometry/Mass Spectrometry(GC-MS/MS),LiquidChromatographyMass Spectrometry/Mass Spectrometry (LC-MS/MS),…

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    HIGH PRESSURE PROCESSING พิฆาตจุลินทรีย์ด้วยเทคนิคถนอมอาหารผ่านความดันสูง

    จากการใช้ความดันสูงในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตเซรามิก เหล็กและซูเปอร์อัลลอยด์ สู่การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 สำหรับการแปรรูปอาหารด้วยความดันสูง หรือ High Hydrostatic Pressure (HHP) หรือ Ultra High Pressure (UHP) เป็นเทคโนโลยีการใช้ความดันสูงเพื่อการถนอมอาหาร(Food Preservation) ทำให้อาหารมีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น และนานกว่าการเก็บอาหารกระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์ทั่วไป โดยใช้ความดันที่สูงกว่าความดันบรรยากาศ และมีผลเทียบเท่าการแปรรูปอาหารด้วยความร้อนในแบบพาสเจอไรซ์ แต่ด้วยความที่อุณหภูมิอาหารเพิ่มขึ้นน้อยมาก จึงทำให้ลดการสูญเสียคุณภาพอาหารได้ดีกว่า รักษาสีกลิ่น และเนื้อสัมผัสของอาหารไว้ได้เต็มคุณค่ายิ่งขึ้น นอกจากนี้ประโยชน์ของการถนอมอาหารโดยใช้ความดันสูงยังช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น รายีสต์ แบคทีเรีย และทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อโรคอย่างแบคทีเรียและปรสิตซึ่งเป็นสาเหตุของอันตรายในอาหารและยังมีส่วนช่วยยับยั้งปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสียจึงทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้นานปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตและแปรรูปโดยใช้กระบวนการนี้และประสบผลสำเร็จในทางการค้าอย่างเช่นอาหารพร้อมรับประทาน(Ready to Eat) อาหารที่เป็นกรดอย่างแยม โยเกิร์ต น้ำผลไม้ และอาหารทะเล เช่น หอยนางรม เป็นต้นอย่างไรก็ตาม การใช้ความดันสูงในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในระดับอุตสาหกรรมอยู่ที่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ซึ่งต้องมีการออกแบบให้อุปกรณ์ทนต่อแรงดันที่สูงมาก จึงยังต้องทำการพัฒนาและปรับปรุงต่อไปในอนาคต

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    PROBIOTIC FOOD การพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ของโพรไบโอติก

    โพรไบโอติกเป็นคำที่เราคุ้นหูกันมานาน เพราะผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจำนวนมากในท้องตลาดมีการนำโพรไบโอติกมาเป็นส่วนประกอบอย่างเช่นนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรือน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์โพรไบโอติก ที่อุดมด้วยเชื้อจุลินทรีย์มีชีวิตซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายแม้ว่าจะได้รับความนิยมอยู่แล้ว แต่อุตสาหกรรมอาหารโพรไบโอติกก็ยังพบปัญหาเรื่องจำนวนจุลินทรีย์ที่มักลดลงไปในระหว่างที่เดินทางมาถึงลำไส้ เพราะต้องเจอกับสภาพความเป็นกรดที่รุนแรงในกระเพาะอาหารจนจุลินทรีย์เหลือไม่มากพอที่จะทำหน้าที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลให้กับระบบทางเดินอาหารได้ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “การใช้พาหนะห่อหุ้มนำส่ง” (Protective Delivery Vehicle) เพื่อช่วยนำส่งจุลินทรีย์มีชีวิตทั้งหมดให้มาถึงเป้าหมายได้อย่างปลอดภัย โดยพาหนะที่นำมาห่อหุ้มจุลินทรีย์นี้ทำจากวัสดุโพลิเมอร์ชนิดพิเศษที่ย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์(Biopolymer) และสามารถทนต่อสภาพกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยปกป้องจุลินทรีย์ขณะที่ผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหารได้ และเมื่อเข้ามาถึงลำไส้ซึ่งเป็นอวัยวะเป้าหมาย โพลิเมอร์ที่ห่อหุ้มก็จะสลายตัวไปพร้อมกับปล่อยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมดออกมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากโพลิเมอร์ชนิดพิเศษนี้จะมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมอาหารโพรไบโอติกแล้วนักวิจัยยังคาดว่าโพลิเมอร์ดังกล่าวยังนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิกได้อีกด้วยเช่น ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ เพื่อรักษาโครงสร้างและสภาวะของกระดูกให้มีสุขภาพที่ดี หรือนำมาใช้ห่อหุ้มตัวยาที่มีความเสถียรต่ำ ซึ่งมักจะสลายตัวก่อนส่งไปถึงลำไส้ เป็นต้น เท่ากับว่าการพัฒนาโพรไบโอติกนั้นช่วยเอื้อประโยชน์ให้ทั้งแวดวงอาหารและยาไปในตัว