Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. NCTC

เปิดให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้านอาหารด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยสามารถวิเคราะห์งานที่มีความซับซ้อนได้ โดยมีทีมวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการ 7 วัน ตลอด 24 ชั่วโมงพร้อมกันนั้นยังเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ทดสอบอย่างรอบด้านด้วยการทำงานประสานกับศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ 20 แห่ง รวม NCTC เพื่อยกระดับความปลอดภัยของสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและอุตสาหกรรมอาหารให้มีมูลค่าสูงขึ้นผ่านห้องปฏิบัติการสุดล้ำ ช่วยให้ภาคเอกชนลดค่าใช้จ่ายในการส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบยังต่างประเทศ โดยในส่วนของการวิเคราะห์ทดสอบด้านอาหาร แบ่งออกเป็นกลุ่มห้องปฏิบัติการย่อย 3 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  1. กลุ่มห้องปฏิบัติการลักษณะเฉพาะทางชีวภาพ (Biological Characterization Property Laboratory) รองรับการวิเคราะห์ทดสอบทุกบริการ ดังนี้

วิเคราะห์หาค่ากิจกรรมเอนไซม์ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเพิ่มอัตราการดูดซึมสารโภชนาการ การย่อยในร่างกาย ด้วยวิธีการทดสอบที่ได้มาตรฐานและมีวิธีปฏิบัติงานตาม NSTDA Standard Method

  1. กลุ่มห้องปฏิบัติการลักษณะเฉพาะทางกายภาพ (Physical Characterization Property Laboratory) เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพประกอบด้วย
    2.1 ห้องปฏิบัติการ Microscopy วิเคราะห์ลักษณะของพื้นผิวของตัวอย่างต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่นเนื้อสัตว์ เปลือกกุ้ง เซลลูโลส วุ้น เป็นต้น และวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุในอาหารและบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหาร
    2.2 ห้องปฏิบัติการ X-Ray Technique วิเคราะห์หาขนาดและลักษณะรูปร่างของสารโมเลกุลใหญ่ เช่นคอลลาเจน โปรตีน เป็นต้น
    2.3 ห้องปฏิบัติการ Material Property วิเคราะห์คุณสมบัติทางความร้อนต่างๆ ของอาหารและสารในอาหาร เช่น อุณหภูมิที่คงตัว อุณหภูมิที่อ่อนตัว อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมีเป็นต้นรวมทั้งวิเคราะห์หาจุดหลอมเหลวของอาหารต่างๆ เช่น มาการีน เจลลี่ วุ้นเป็นต้น และยังวิเคราะห์คุณสมบัติทางความร้อนในการปรับปรุง ออกแบบ จัดการ แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ
  2. กลุ่มห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี(Chemical Analysis Laboratory) เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางเคมี ประกอบด้วย
    3.1 Gas Chromatography and MassSpectrometry Lab วิเคราะห์หาสารปนเปื้อนอันตรายในอาหารและของเหลว เช่น ยาฆ่าแมลง ยาพิษจากเชื้อรา ยาปฏิชีวนะ สารตกค้างในเนื้อสัตว์หรือในอาหารทะเล เป็นต้น
    3.2 Elemental Analysis Lab วิเคราะห์เพื่อหาปริมาณของโลหะหนักที่ปนเปื้อน รวมทั้งแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบในอาหารภายในมีเครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบต่างๆเช่น Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) with Headspace Samplers (HS), Gas Chromatography-Mass Spectrometry/Mass Spectrometry(GC-MS/MS),LiquidChromatographyMass Spectrometry/Mass Spectrometry (LC-MS/MS), Thermal Desorption System (TD), Inductively Coupled Plasma-Atomic Emission Spectroscopy (ICP-AES), Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry (ICP-MS), Small Angle X-Ray Scattering (SAXS), Field Emission Scanning Electron Microscope (FE-SEM) รวมถึงเครื่องมือ เตรียมตัวอย่างที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น Robotic & Multipurpose Sample Preparation System, Microwave Digestion เป็นต้น