Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

เทรนด์ Food Traceability จะส่งผลกระทบต่อไทยในรูปแบบใด?

ระดับความเข้มงวดของมาตรฐานและกฎระเบียบของอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้นใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพอาจเป็นอุปสรรคทางการค้าสำหรับผู้ส่งออกไทยดังนั้น ผู้ประกอบการควรต้องมีความเข้าใจและติดตามความเคลื่อนไหวของกฎระเบียบทางการค้าเหล่านี้เพื่อให้สามารถปฎิบัติได้ตามมาตรฐานที่คู่ค้ากำหนด

มาตรฐานและกฎระเบียบด้านการตรวจสอบย้อนกลับระหว่างประเทศ
ครอบคลุมตั้งแต่ด้านความปลอดภัยอาหาร สุขอนามัย ของสัตวและสวัสดิภาพแรงงาน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม

●พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าเพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ ปี 2016มาตรา 14 (8)
●พระราชกำหนดการประมงพ.ศ. 2558 ประกอบกับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 ปี 2017
●เครื่องหมายรับรองตนเองในสถานประกอบการอุตสาหกรรมตามมาตรการควบคุม ติดตาม และป้องกันการปนเปื้ อนของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ IPHA(Industrial and Production Hygiene Administration)
●ระบบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยในสินค้าอาหารของ Codex
●มาตรฐานด้านสุขอนามัยของสัตว์และคนขององค์การโรคระบาดสัตว์ ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health : OIE)
●มาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO)
●Regulation (EC) No.178/2002
●กฎระเบียบป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง ที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (IUU fishing) ของ EU หรือRegulation(EC) No1005/2008
●Food Safety Modernization Act (FSMA) เรื่องการบันทึกข้อมูลตรวจสอบย้อนกลับอาหารปี 2011

มาตรการใหม่ๆ ในระยะข้างหน้ามีอะไรบ้าง?
(1) มาตรฐานเพิ่มเติมของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวกับการ
ติดตามแบบย้อนกลับสำหรับอาหาร (Requirements for Additional Traceability Records for Certain Foods)

FOOD TRACEABILITY
● วางรากฐานแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการจัดเก็บบันทึกเพื่ อการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลมากขึ้น
● สามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลตลอดห่วงโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
● สามารถระบุแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ที่
ปนเปื้อนได้รวดเร็วขึ้น
● ลดขอบเขตของการเรียกคืนผลิตภัณฑ์

(2) นโยบายฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork) ประกาศโดยคณะกรรมธิการยุโรปในเดือนพฤษภาคม 2020
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงยุโรปสีเขียว (European Green Deal)

ลดความสูญเสียจากอาหารและขยะ
●ลดขยะจากอาหาร 50%
●ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร

การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน
●ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 50%
●ลดการใช้ปุ๋ยอย่างน้อย 20%
●ลดการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ 50%

การบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน
●ลดการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป
●เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้อินทรีย์
●บังคับการติดฉลากแสดงข้อมูล
สารอาหารหน้าผลิตภัณฑ์

การแปรรูปและจำหน่ายอาหารอย่างยั่งยืน
●กำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม
●ลดคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ในการผลิตอาหาร