Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

โอกาสและความหวังในยุคต่อไป

ถ้าถามถึงแนวทางพัฒนาของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารไทยมากที่สุดคงไม่แคล้วนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นส่วนผสมกับเขตเศรษฐกิจพิเศษและการสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 ด้าน หรือ S Curve กลายมาเป็นโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เพราะมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพและเน้นสร้างความเข้มแข็งจากภายในลดความเหลื่อมลำ้ นำประเทศหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยใช้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมอย่างชัดเจน

สำหรับ EEC นี้จะครอบคลุม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเดิม ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอีก 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน

อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

นอกจากนั้นรัฐบาลยังตั้งเป้าหมายภายใน 10 ปีต่อจากนี้ว่า อาหารของไทยภายใน 10 ปีต่อจากนี้จะสามารถก้าวขึ้นไปเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารติดอันดับ1ใน10ของโลกและตั้งเป้าตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ 20 ปี ผลักดันให้ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5ของโลก

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นโอกาสและความท้าทายที่ผู้ประกอบการควรเริ่มต้นประยุกต์ใช้ เพื่อปรับตัวและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมอาหารของตัวเองในทันทีทันใด โดยหนึ่งในหน่วยงานที่พร้อมสนับสนุนภาคเอกชนเรื่องงานวิจัยและนวัตกรรมได้ครบวงจรคือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช. ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านอาหารโดยเฉพาะและมีห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ และบริการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการอาหารไทย และสร้างผู้ประกอบการใหม่ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในเวทีโลก

ที่สำคัญที่สุด สวทช. ยังให้ความสำคัญกับประเด็น“อาหารเพื่ออนาคต” โดยบรรจุในแผนกลยุทธ์ฉบับที่ 6ขององค์กรอย่างชัดเจน โดยแผนดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่ออนาคตต่างๆ ไม่ว่าจะ
เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความปลอดภัยและคุณภาพสูงสารเสริมอาหารจากธรรมชาติเทคโนโลยีการผลิตอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย อาหารสำหรับผู้สูงอายุเทคโนโลยีเพื่อการผลิตอาหารและรองรับมาตรฐานด้านความยั่งยืนตลอดจนอาหารฟังก์ชัน(FunctionalFood)และสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่(FunctionalIngredient)ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่จะได้รับความนิยมสูงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ทั้งหมดนี้คงจะทำให้เห็นแล้วว่า นับตั้งแต่นี้ไปอุตสาหกรรมอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนโดยเฉพาะงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมจะเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้นชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป