Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    เทรนด์ Food Traceability จะส่งผลกระทบต่อไทยในรูปแบบใด?

    ระดับความเข้มงวดของมาตรฐานและกฎระเบียบของอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้นใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพอาจเป็นอุปสรรคทางการค้าสำหรับผู้ส่งออกไทยดังนั้น ผู้ประกอบการควรต้องมีความเข้าใจและติดตามความเคลื่อนไหวของกฎระเบียบทางการค้าเหล่านี้เพื่อให้สามารถปฎิบัติได้ตามมาตรฐานที่คู่ค้ากำหนด มาตรฐานและกฎระเบียบด้านการตรวจสอบย้อนกลับระหว่างประเทศครอบคลุมตั้งแต่ด้านความปลอดภัยอาหาร สุขอนามัย ของสัตวและสวัสดิภาพแรงงาน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ●พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าเพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ ปี 2016มาตรา 14 (8)●พระราชกำหนดการประมงพ.ศ. 2558 ประกอบกับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 ปี 2017●เครื่องหมายรับรองตนเองในสถานประกอบการอุตสาหกรรมตามมาตรการควบคุม ติดตาม และป้องกันการปนเปื้ อนของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ IPHA(Industrial and Production Hygiene Administration)●ระบบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยในสินค้าอาหารของ Codex●มาตรฐานด้านสุขอนามัยของสัตว์และคนขององค์การโรคระบาดสัตว์ ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health : OIE)●มาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO)●Regulation (EC) No.178/2002●กฎระเบียบป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง ที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (IUU fishing) ของ EU หรือRegulation(EC) No1005/2008●Food Safety Modernization Act (FSMA) เรื่องการบันทึกข้อมูลตรวจสอบย้อนกลับอาหารปี 2011 มาตรการใหม่ๆ ในระยะข้างหน้ามีอะไรบ้าง?(1) มาตรฐานเพิ่มเติมของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวกับการติดตามแบบย้อนกลับสำหรับอาหาร (Requirements for Additional Traceability Records for Certain Foods) FOOD TRACEABILITY● วางรากฐานแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการจัดเก็บบันทึกเพื่ อการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลมากขึ้น● สามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลตลอดห่วงโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ● สามารถระบุแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนได้รวดเร็วขึ้น● ลดขอบเขตของการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (2) นโยบายฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork) ประกาศโดยคณะกรรมธิการยุโรปในเดือนพฤษภาคม 2020ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงยุโรปสีเขียว (European Green Deal) ลดความสูญเสียจากอาหารและขยะ●ลดขยะจากอาหาร 50%●ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน●ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 50%●ลดการใช้ปุ๋ยอย่างน้อย 20%●ลดการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ 50% การบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน●ลดการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป●เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้อินทรีย์●บังคับการติดฉลากแสดงข้อมูลสารอาหารหน้าผลิตภัณฑ์ การแปรรูปและจำหน่ายอาหารอย่างยั่งยืน●กำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม●ลดคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ในการผลิตอาหาร

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    Food Traceability คืออะไร?

    คือ ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับและติดตามอาหาร และส่วนประกอบต่าง ๆที่ใช้ในการผลิตอาหาร โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป จนถึงการกระจายผลิตภัณฑ์อาหารสู่ผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า สินค้ามีมาตรฐานและความปลอดภัย กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) การตรวจสอบย้อนกลับช่วยให้ผู้บริโภคสามารถทราบแหล่งที่มาของอาหารได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต 1.ผู้บริโภค >2.ผู้ค้า >สินค้าสด ใหม่? ตัวอย่างข้อมูล ●วันและเวลาที่รับและขายสินค้า3.โรงงาน > มีการปนเปื้อนในระหว่างการผลิต? ตัวอย่างข้อมูล ●วันและเวลาที่ผลิต ●โรงงานที่ผลิต ●เวลาการรับ/ส่งออกสินค้า4.ไซโล/โกดัง > เก็บรักษาในสภาวะที่เหมาะสม? ตัวอย่างข้อมูล ●อุณหภูมิ ความชื้น CO25.เพาะปลูก > ป็นพืชที่มาจากการตัดต่อพันธุกรรม (GMO)หรือใช้สารเคมี? ตัวอย่างข้อมูล ●สายพันธุ์ ●ปริมาณการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง หัวใจสำคัญของ Food Traceability คืออะไร? คือ การับนทึกข้อมูลห่วงโซ่การผลิตซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบของเอกสารหรือการับนทึกข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 1.รูปแบบกระดาษหรือเอกสาร2.รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้แบบ Real Time ตลอดห่วงโซ่การผลิต ปัจจัยอะไรที่ทำให้เทรนด์อาหารโลกมุ่งสู่ Food Traceability?(1) ช่วยตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับ Food Safety มากขึ้น(2) การตรวจสอบย้อนกลับแรงงานผิดกฎหมายถูกนำมาเป็นเหตุผลของการกีดกันการค้า(3) เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องทราบว่า อาหารที่รับ ประทานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแค่ไหน(4) เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้ระบบ Food Traceability มีความก้าวหน้ามากขึ้น(5) ผลจากการระบาดของ Covid-19 เป็นปัจจัยเร่งให้ผู้บริโภคกังวลในการบริโภคอาหาร

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสติก (Plastic Technology Lab)

    มีความเชี่ยวชาญการวิจัยพัฒนาและการให้บริการด้านเทคนิคโดยอาศัยความสามารถและความเชี่ยวชาญของบุคลากร ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์วิเคราะห์สมบัติพื้นฐานของวัสดุ เพื่อสร้างฐานความรู้และทักษะด้านการพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบบต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับกิจกรรมของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสติกประกอบไปด้วย 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มพลาสติกผสมและคอมพาวนด์ 3.กลุ่มเทคโนโลยีฟิล์มพลาสติกสาหรับบรรจุภัณฑ์

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ และชีววัสดุ Biodiversity and Biotechnological Resource Unit

    ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทยและส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิวัฒนาการความหลากหลายทางชีวภาพและอนุกรมวิธานของจุลินทรีย์ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน และนิเวศวิทยา ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์อย่างเป็นระบบ (Systems Microbiology) เช่นการพัฒนาระบบการทำงานของจุลินทรีย์ในการผลิตโปรตีนเป้าหมายโดยอาศัยการสร้างความสามารถด้าน Bioinformatics, Molecular Biology และ SyntheticBiology เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และการพัฒนากระบวนการผลิตโปรตีนเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีศูนย์ชีววัสดุประเทศไทยที่ให้บริการชีววัสดุต่างๆ ได้แก่จุลินทรีย์ พลาสมิด และแอนติบอดี ผ่านทางเว็บไซต์ www.tbrcnetwork.org โดยมีจำนวนจุลินทรีย์ที่มีข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับให้บริการมากกว่า10,000 สายพันธุ์

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ และชีววัสดุ Biodiversity and Biotechnological Resource Unit

    ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทยและส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิวัฒนาการความหลากหลายทางชีวภาพและอนุกรมวิธานของจุลินทรีย์ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน และนิเวศวิทยา ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์อย่างเป็นระบบ (Systems Microbiology) เช่นการพัฒนาระบบการทำงานของจุลินทรีย์ในการผลิตโปรตีนเป้าหมายโดยอาศัยการสร้างความสามารถด้าน Bioinformatics, Molecular Biology และ SyntheticBiology เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และการพัฒนากระบวนการผลิตโปรตีนเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีศูนย์ชีววัสดุประเทศไทยที่ให้บริการชีววัสดุต่างๆ ได้แก่จุลินทรีย์ พลาสมิด และแอนติบอดี ผ่านทางเว็บไซต์ www.tbrcnetwork.org โดยมีจำนวนจุลินทรีย์ที่มีข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับให้บริการมากกว่า10,000 สายพันธุ์

  • Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

    หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยี แปรรูปมันสำปะหลังและแป้ง

    หน่วยงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังและแป้งตลอดจนยกระดับอุตสาหกรรมมันสำปะหลังและแป้งและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อมต่อภาครัฐและภาคเอกชน โดยทีมงานมีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์สมบัติโครงสร้าง เคมีกายภาพของคาร์โบไฮเดรตเชิงลึกเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานด้านเอนไซม์ย่อยแป้งเพื่อสนับสนุนการสร้างอาหารเพื่อสุขภาพ การดัดแปรแป้งมันสำปะหลังด้วยวิธีทางเคมีสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น