• การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผัก ผลไม้ ส้มเขียวหวาน การเก็บผลไม้ ผลไม้อินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของส้มเขียวหวานคือ ประมาณ 8-9 เดือน หลังจากดอกบาน การเก็บเกี่ยวผลควรใช้กรรไกรตัดที่ขั้วผลทีละผล อย่าใช้แรงดึงเพราะจะทำให้ขั้วหลุดและเกิดเป็นแผลที่ผล ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย ทำให้ผลเน่าระหว่างเก็บรักษา อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(สัปดาห์) หมายเหตุ 5-10 2-4 ส้มจะแสดงอาการสะท้านหนาวเมื่อเก็บรักษานานขึ้น โดยมีอาการเริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลกระจายที่ผิว ในอาการรุนแรงจะเป็นพื้นสีน้ำตาลที่ผิวและเปลือกยุบตัว 25 2 อายุเก็บรักษาสำหรับส้มที่ผ่านการเคลือบผิว ส้มที่ไม่เคลือบผิวจะเก็บรักษาได้ประมาณ 7-9 วัน * ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% บรรจุภัณฑ์ที่นิยมบรรจุส้มเพื่อวางจำหน่าย มี 3 ประเภท คือ ถุงตาข่ายกล่องกระดาษลูกฟูก และตะกร้าพลาสติก โดยที่ขนาดบรรจุขึ้นกับเทศกาลและความต้องการของตลาด

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผัก ผลไม้ ลำไย การเก็บผลไม้ ผลไม้อินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวของลำไยที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 6-7 เดือน หลังดอกบานทั้งนี้ขึ้นกับฤดูกาล หากเก็บเกี่ยวเมื่อผลแก่จัดเกินไปเนื้อลำไยจะแห้ง มีสีขาวขุ่นความหวานลดลง และเมล็ดขึ้นหัวหรือเริ่มงอก อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(สัปดาห์) หมายเหตุ 0.5-1 4-6 สำหรับลำไยที่ผ่านการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 5 3-4 ลำไยที่ไม่รมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อเก็บรักษานานขึ้นผิวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เปลือกจะแข็งและเนื้อจะแห้งลง 25-30 0.5-1 * ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% การบรรจุเพื่อส่งออกส่วนใหญ่จะบรรจุในตะกร้าพลาสติก ความจุ 2 หรือ 10 กิโลกรัม ซึ่งจะบรรจุทั้งแบบผลเดี่ยวและผลเป็นช่อ ส่วนการบรรจุขนาดขายปลีกควรใช้ถุงพลาสติก เพื่อช่วยรักษาความสดและชะลอการสูญเสียน้ำ ซึ่งจะทำให้เปลือกลำไยแข็งช้าลง

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผัก ผลไม้ ลองกอง การเก็บผลไม้ ผลไม้อินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของลองกองคือ 12-13 สัปดาห์ หลังดอกบานผลมีสีผิวเหลืองสม่ำเสมอโดยไม่มีสีเขียวปน ผลที่ปลายช่อเริ่มนิ่มลงเล็กน้อย ควรเก็บเกี่ยวผลลองกองในช่วงเช้า หากผลหรือช่อเปียกน้ำต้องผึ่งให้แห้งก่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา การเน่าเสีย และการหลุดร่วงของผล อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(วัน) หมายเหตุ < 10 – เกิดอาการสะท้านหนาว โดยผิวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในอาการรุนแรง ผิวจะมีสีน้ำตาลเข้มกลิ่นผิดปกติและเน่าเสีย 15-18 18-28 25 3-4 * ความชื้นสัมพัทธ์ 80-85% บรรจุภัณฑ์สำหรับลองกอง ส่วนใหญ่จะใช้กล่องกระดาษลูกฟูก โดยเรียงช่อผลหนึ่งถึงสองชั้น ส่วนการบรรจุเพื่อขายปลีกสามารถบรรจุถาดแล้วหุ้มด้วยฟิล์มเพื่อรักษาคุณภาพ และลดการชอกช้ำเสียหายจากการจัดเรียง และการเลือกซื้อของผู้บริโภค

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผัก ผลไม้ มังคุด การเก็บผลไม้ ผลไม้อินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวของผลมังคุด คือ ช่วง 11-13 สัปดาห์ (77-91 วัน)หลังดอกบาน หรืออาจใช้การเปลี่ยนแปลงสีผิวเป็นตัวชี้วัดหรือดัชนีเก็บเกี่ยวได้ดังนี้ระยะ 1 สีผิวผลเป็นสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และมีจุดสีชมพูกระจายทั่วผล เนื้อยังไม่แยกจากเปลือก ผลที่เก็บเกี่ยวในระยะนี้เรียกว่า“ระยะสายเลือด”ระยะ 2 สีผลเป็นสีเหลืองอมชมพู และมีจุดสีชมพูกระจายทั่วผล เนื้อแยกออกจากเปลือกได้ระยะ 3 สีผิวเริ่มมีสีชมพูกระจายทั่วทั้งผล เนื้อแยกตัวออกจากเปลือกเต็มที่ จัดเป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวเพื่อการส่งออกระยะ 4 ผิวผลมีสีแดงหรือน้ำตาลแดง เป็นระยะที่เริ่มสามารถนำมาบริโภคสดและส่งออกระยะ 5 ผิวผลเป็นสีแดงอมม่วง ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับการรับประทานสดภายในประเทศระยะ 6 ผิวผลมีสีม่วง ม่วงเข้ม หรือ สีม่วงดำ เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการรับประทานสด และเป็นที่ต้องการของตลาดในออสเตรเลีย อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(วัน) หมายเหตุ <5 5 การเก็บรักษานานขึ้น ผลมังคุดจะเกิดอาการสะท้านหนาว คือ สีผิวไม่พัฒนาเข้มขึ้น ในอาการรุนแรงสีผิว ขั้วและกลีบเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เปลือกแข็ง เนื้อมีกลิ่นผิดปกติ และเน่าเสีย 8-10 8-10 13-15 14-28 >20 10-14 * ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% นอกจากอุณหภูมิแล้ว กรรมวิธีอื่นหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้นว่าการรมด้วยสารเมทธิลโบรไมด์ จะมีผลกระทบทำให้อายุการเก็บรักษาของมังคุดสั้นลงได้สำหรับการบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้มังคุดคงความสดได้ดี คือ การบุกล่องด้วยถุงหรือฟิล์มพลาสติก

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผัก ผลไม้ มะม่วง การเก็บผลไม้ ผลไม้อินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว มะม่วงเพื่อการบริโภคผลสุก ควรเก็บเกี่ยวเมื่อแก่ได้ที่ โดยพิจารณาจากจำนวนวันหลังดอกบาน สำหรับช่วงอายุที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวมะม่วงเพื่อการส่งออก คือ อายุ 90-100 วัน หลังจากดอกบานเต็มที่ ส่วนตลาดในประเทศควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีอายุ 110-120 วัน หลังจากดอกบานเต็มที่ อย่างไรก็ตาม อายุเก็บเกี่ยวของมะม่วงอาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นกับฤดูกาลและพื้นที่ปลูก ส่วนการคัดคุณภาพหลังเก็บเกี่ยวจะใช้ความถ่วงจำเพาะ โดยการนำมะม่วงมาลอยน้ำ ผลที่อ่อนจะลอยน้ำส่วนผลที่แก่จัดจะจมน้ำ อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(วัน) หมายเหตุ 2 2 การเก็บรักษาที่ 2-10 องศาเซลเซียส นานขึ้น จะเกิดอาการสะท้านหนาว โดยผิวของมะม่วงมีสีคล้ำท่อลำเลียงบริเวณผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อที่ผิวยุบตัวเป็นจุดๆ ในอาการรุนแรง มะม่วงจะไม่สุก และเน่าเสีย 5 5 10 7 13 15-20 >20 5-10 * ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% การบรรจุมะม่วงเพื่อการส่งออกนิยมเรียงผลมะม่วงในกล่องกระดาษลูกฟูกแบบเรียงชั้นเดียว รองก้นกล่องด้วยแผ่นฟองน้ำเพื่อกันกระแทก ส่วนผลมะม่วงจะหุ้มผลด้วยโฟมตาข่ายเพื่อกันการชอกช้ำเสียหาย สำหรับประเทศที่มีความเข้มงวดด้านกักกันพืช รูระบายอากาศที่กล่องต้องปิดด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันแมลง มะม่วงที่บรรจุเรียบร้อยแล้วหากขนส่งทางเรือควรลดอุณหภูมิผลมะม่วงให้เย็นก่อนบรรจุในตู้สินค้า

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผัก ผลไม้ ทุเรียน การเก็บผลไม้ ผลไม้อินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว การพิจารณาความแก่ของผลทุเรียนมีหลายวิธี เช่น นับอายุผล ตั้งแต่วันดอกบานจนถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 120-135 วันสำหรับพันธุ์หมอนทอง ลักษณะก้านผล เมื่อผลทุเรียนเริ่มแก่ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้นเมื่อสัมผัสจะรู้สึกสากมือ บริเวณปากปลิงจะขยายใหญ่ขึ้น เห็นรอยต่อชัดเจนเมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่าก้านผลมีสปริงมากขึ้น ลักษณะหนาม ปลายหนามเริ่มแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม ร่องหนามห่างเมื่อบีบหนามเข้าหากัน จะรู้สึกว่ามีสปริง ลักษณะรอยแยกบนพู ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีรอยแยกบนพูชัดเจนยกเว้นบางพันธุ์ที่มีลักษณะดังกล่าวไม่ชัดเจน เช่น พันธุ์ก้านยาว การเคาะผล ผลทุเรียนที่แก่เมื่อเคาะจะมีเสียงโปร่งๆ ส่วนเสียงจะหนักหรือเบาแตกต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์ สีเนื้อ ทุเรียนที่แก่ได้ที่สีเนื้อจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองเข้ม ตามลักษณะประจำของแต่ละพันธุ์ น้ำหนักเนื้อแห้ง ทุเรียนที่แก่ได้ที่โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง ซึ่งเป็นพันธุ์หลักในการส่งออก ควรมีเนื้อแห้งไม่น้อยกว่า 32% ส่วนพันธุ์อื่น เช่น ชะนีและกระดุมทอง ควรมีเนื้อแห้งไม่น้อยกว่า 30 และ 27% ตามลำดับ อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(วัน) หมายเหตุ 2-5 9 การเก็บรักษานานขึ้นผลทุเรียนจะเกิดอาการสะท้านหนาว โดยผิวเปลือกผลจะเป็นสีน้ำตาลบริเวณปลายหนาม แล้วแผ่ขยายจนทั่วผล เนื้อไม่สุก และมีอาการยุบตัว เมื่อนำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิห้องทุเรียนจะแสดงอาการผิดปกติรุนแรงขึ้น คือ เปลือกจะปลิ ผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำและเน่าเสียง่าย 10 12 13-15 14 20 5-12 >30 2-9 * ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90% ทุเรียนจะบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก ขนาดบรรจุ 10-18 กิโลกรัมต่อกล่องโดยเรียงหนึ่งถึงสองชั้น