• อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิต ผักปลอดภัยจากสารพิษ

    ผัก เป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมรับประทานกันมาก เนื่องจากให้คุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงาม ไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผักต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงในปริมาณที่มาก ทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยการนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์รวมกัน จึงเป็นทางเลือกสำหรับความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่หรือมีการตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ในประกาศกระทรวสาธารณสุขฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 17 มกราคม 2548 เรื่องอาหารที่มีสารพิษที่ตกค้าง ปัจจัยที่จำเป็น พื้นที่ปลูก พันธุ์ ปุ๋ย วัสดุป้องกันกำจัดศัตรูพืช (เช่น กับดัก กาวเหนียว กับดักแสงไฟ วัสดุคลุมดินสารชีวภัณฑ์์ สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ) โรงเรือนมุ้งตาข่าย ฯลฯ ขึ้นกับวิธีที่เลือกใช้ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การเลือกพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมควรเป็นพื้นที่ราบ สม่ำเสมอ ไม่มีน้ำท่วมขัง ระบายน้ำได้ดี ใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด และมีน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก 2. การเตรียมพันธุ์เลือกใช้พันธุ์ที่ต้านทานศัตรูพืชและปลอดเชื้อโรค กรณีที่ใช้เมล็ดพันธุ์ควรดำเนินการดังนี้2.1 คัดแยกเมล็ดที่เสียออก2.2 แช่เมล็ดในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 15-30 นาทีเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ และถ้ามีเมล็ดบางส่วนลอยขึ้นมาให้นำไปทิ้ง เนื่องจากเป็นเมล็ดที่ไม่ได้คุณภาพ 3. การเตรียมดินไถและพรวนดินให้ละเอียด โดยไถดะลึก 1 ครั้ง และตากดินไว้ไม่น้อยกว่า 7 วันและไถพรวนดินอีก 1 ครั้ง แล้วยกร่องตากดินประมาณ 7 วัน เพื่อกำจัดแมลงและเชื้อโรคที่อยู่ในดิน 4. การปรับปรุงดินแปลงปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ โดยคลุกเคล้าให้ทั่วแปลงเป็นเนื้อเดียวกันกับดิน และควรมีการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมโดยใช้ปูนขาวหรือปูนมาร์ลอัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแล้วคลุกเคล้ากับดิน 5. การปลูกและดูแลรักษาระยะปลูก ควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นเกินไป เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดีการใส่ปุ๋ย ธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้วในดิน แต่ธาตุไนโตรเจนและโพแตสเซียมจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจะต้องให้ปุ๋ยทั้งสองในระหว่างการเจริญเติบโตของผัก แต่อย่าให้ชิดโคนต้น โดยใส่ครั้งแรกหลังปลูกผักไปแล้ว 3 สัปดาห์ และครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ หรือเมื่อผักเริ่มออกดอกติดผล เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินกลบและรดน้ำการควบคุมวัชพืชการควบคุมวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี เช่น การคลุมดินโดยฟางข้าวหรือพลาสติกสีเทาเงินจะช่วยรักษาความชื้นในดิน และบังแสงสว่างทำให้เมล็ดวัชพืชโตช้า…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การปลูก การผลิตตะไคร้

    ตะไคร้ เป็นพืชเครื่องเทศ/สมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารจำพวกยำ หรือแกงต่างๆ หรือแม้แต่ต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นอาหารที่คนรู้จักกันทั่วโลกก็ยังมีตะไคร้เป็นส่วนประกอบ และในปัจจุบันได้มีบริษัทอุตสาหกรรมบางแห่งได้ผลิตเครื่องปรุงอาหารไทสำเร็จรูปเพื่อวางจำหน่ายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ และส่งออก ทำให้เห็นได้ว่าตะไคร้ยังมีโอกาสในการทำตลาดได้แต่ทั้งนี้ผลผลิตต้องมีปริมาณและคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการด้วย ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องมีการวางแผนการผลิตและการตลาดเป็นอย่างดี 1. การขยายพันธุ์สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือเหง้าไปปลูก2. การเตรียมแปลงปลูกโดยการไถดินตากก่อนประมาณ 7 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช โรคและแมลงในดิน ตามด้วยการไถพรวนเพื่อย่อยดิน การยกร่องทำแบบเดียวกับการปลูกพืชโดยทั่วๆ ไประยะห่างระหว่างร่องประมาณ 50×50 เซนติเมตร แล้วนำส่วนของหน่อหรือเหง้าลงปลูกระหว่างข้างร่อง หรือกลางร่อง หลุมละประมาณ 1-2 ต้น โดยปักให้เอียง 45 องศาเซลเซียสในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้หน่อหรือเหง้าประมาณ 6,400–12,800 ต้น แล้วแต่ระยะห่างระหว่างเหง้า3. การให้น้ำสามารถทำได้ 2 แบบ คือให้น้ำแบบสปริงเกอร์ และปล่อยน้ำไหลเข้าร่องพอให้ดินเปียก การให้ปุ๋ย หลังจากปลูกประมาณ 20-50 วัน ใส่ปุ๋ย เมื่อตะไคร้เริ่มมีการแตกกอในช่วงตั้งแต่ 120-150 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรเดิมเดือนละครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตส่วนของเหง้าและใบ 4. การดูแลรักษาตะไคร้ตะไคร้เป็นพืชที่ทนต่อโรคแมลง และทนแล้งได้ดีซึ่งง่ายต่อการดูแล ปัญหาที่มักพบกับต้นตะไคร้บ้าน คือ หนอนกอเข้าทำลายในระยะต้นกำลังเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันได้ด้วยการกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และดูแลให้ต้นตะไคร้แข็งแรงโดยการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน 5. การวางแผนการผลิตต่อการตลาดจัดประชุมวางแผนการผลิตและการตลาดในท้องถิ่น เพื่อกำหนดทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มก่อนปลูก โดยประสานกับผู้รับซื้อที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือลูกค้าเป้าหมายของกลุ่ม 6. ผลผลิต(ผลผลิตสด) เริ่มให้ผลผลิตได้หลังปลูก 90 วัน (ผลผลิต 2 ตันต่อไร่ต่อปี) 7. ตลาดและผลตอบแทนเริ่มให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้หลังปลูก 90 วัน (ผลผลิต 2 ตันต่อไร่ต่อปี) ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทน– ต้นทุนการผลิต 2,585 บาทต่อไร่– ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัมต่อไร่– ราคาที่เกษตรกรขายได้ 4-6 บาทต่อกิโลกรัม– รายได้รวม 10,000 บาทต่อไร่– รายได้สุทธิ 7,415 บาทต่อไร่ หมายเหตุ : กำหนดให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่เท่ากับ 3,760 บาท