อาชีพ ทำกิน รายได้

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การผลิต การปลูกผักลอยแพ

    ในสภาวะที่เกิดอุทกภัยน้ำท่วมร้ายแรงครั้งใหญ่ในหลายพื้นที่ ในปี 2554 บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเส้นทางสัญจรไปมารวมทั้งพื้นที่ทางการเกษตรเกิดความเสียหายมากมาย ผู้คนเดือดร้อนในเรื่องของปัจจัย 4ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานของชีวิต โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของชีวิต แต่ด้วยสภาพพื้นดินที่ได้เปลี่ยนเป็นพื้นน้ำ ทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรเพื่อดำรงชีวิต คุณฮวด ไม้เนื้อทองชาวหมู่บ้านราชธานีอโศก ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ทดลองทำแพปลูกผักเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ไม่มีที่ดินเพาะปลูก ซึ่งคุณฮวดฯ ได้ลองผิดลองถูกหลายวิธีสำหรับการทำแพปลูกผักจนได้แพปลูกผักที่มีอายุการใช้งานได้หลายปี วัสดุทำแพปลูกผัก 1. เศษโฟม ขนาดต่างๆ2. ไม้ไผ่3. สแลน4. ถุงปุ๋ยและเข็มเย็บกระสอบ5. เชือกพลาสติก6. ผักตบชวาหรือพืชน้ำย่อยสลายง่าย7. ดินและปุ๋ยอินทรีย์ ขั้นตอนในการทำแพ 1. นำเศษโฟมขนาดใดก็ได้มาหักให้เป็นชิ้นเล็กนำมาอัดลงในกระสอบปุ๋ยเหมือนลักษณะนำนุ่นมายัดหมอน เทคนิคพิเศษ ควรหาโฟมที่มีความยาวและความกว้างมาวางเป็นโครงตั้งรอบกระสอบปุ๋ยในลักษณะ 5 หรือ 6 เหลี่ยม ซึ่งสามารถลอยน้ำได้ดีกว่า 4 เหลี่ยม จากนั้นนำโฟมขนาดพอดีกับปากกระสอบปุ๋ยมาวาง ใช้เข็มเย็บกระสอบสานและเย็บเชือกปิดปากถุงจะได้ทุนกระสอบโฟม2. นำสแลนแบบหนาขนาดมาตรฐานมาซ้อนกัน 2 ผืน จากนั้นเย็บเป็นช่องโดยแต่ละช่องจะใส่ทุ่นกระสอบได้ 4 ทุ่น3. นำไม้ไผ่มาวางพาด ตามข้างๆ เป็นโครงการตามรองของทุ่นกระสอบแล้วมัดยึดกับทุ่นโฟมจะได้รูปร่างเป็นแพลอยน้ำ4. นำผักตบชวามาใส่บนแพ ให้คนย่ำไปมาอัดผักตบชวาในแน่น จนได้ความหนาประมาณ 50 เซนติเมตร หรือมากกว่านี้ก็ได้ เมื่อหนาได้ตามขนาดที่ต้องการ จึงใช้มีดสับใบและก้านของผักตบชวา เพื่อเวลาใส่ดินและปุ๋ยรองพื้นดินจะแน่นไม่ไหลหนี5. เตรียมดิน นำดินคลุกกับปุ๋ยอินทรีย์หรือจะนำดินปลูกก็ได้ใส่ลงในผักตบชวาจากนั้นก็สามารถปลูกพืชผักได้ตามต้องการ จากการทดลองปลูกแล้วได้ผลผลิตที่ดี คือ พืชผักสวนครัวทุกชนิด เช่น ผักบุ้ง มะเขือเทศ โหรพาใบแมงลัก แตงกวา ถั่ว ฟักทอง และอีกหลายชนิด ถ้าอยากให้ได้ผลผลิตที่ดียิ่งขึ้น ควรจะนำน้ำหมักจุลินทรีย์มารดก็จะช่วยให้ผลผลิตงามมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจทั้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิและอีกหลายสายพันธุ์ ข้อดี ไม่ต้องลงทุนสูง ไม่ต้องรดน้ำ ประหยัดเวลา เงิน และพลังงาน อีกทั้งยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยกำจัดโฟม และผักตบชวา โดยเฉพาะสามารถลากแพไปทุกที่ตามที่ต้องการได้ และยังสามารถสร้างกระท่อมเล็กๆ อาศัยได้ การทำแพปลูกผัก หวังว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ที่ประสบปัญหาอุทกภัยและเดือดร้อนในเรื่องพื้นที่สำหรับเพาะปลูกอยู่ในขณะนี้ แหล่งข้อมูล : ชุมชนราชธานีอโศก 99 หมู่ 10 หมู่บ้านราชธานีอโศก ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี 34190 โทรศัพท์ 0-4524-0584-5, 08-4960-665, 08-5008-6174 โทรสาร 0-4532-3360 E-mail address:…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิตถั่วลิสงหลังนา

    ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้ประโยชน์ทั้งเป็นพืชบำรุงดินและขายเป็นรายได้สำหรับเกษตรกรนำมาปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวได้ ทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานและไม่อาศัยน้ำชลประทาน แต่การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยไม่อาศัยน้ำชลประทานสามารถทำได้ในบางพื้นที่เท่านั้น 1. การเลือกพื้นที่ปลูกพื้นที่ทำนาที่สามารถปลูกถั่วลิสงได้ดีโดยไม่อาศัยน้ำชลประทานตลอดฤดูกาล จะต้องมีระดับน้ำใต้ผิวดินตื้นในช่วงฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีความชื้นในดินดีในช่วงฤดูแล้งกล่าวโดยทั่วไปพื้นที่นาดังกล่าวระดับน้ำใต้ผิวดินจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ หลังเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งจะอยู่ลึกไม่เกิน 1.50-2.00 เมตร ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2. การปลูก นอกจากระดับน้ำใต้ผิวดินตื้นจะเป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จของการปลูกพืชฤดูแล้งในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยไม่อาศัยน้ำชลประทานแล้ว การเตรียมดิน การเตรียมเมล็ด ความลึกของการปลูก และการใช้วัสดุคลุมดินก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มผลผลิตของการปลูกพืชฤดูแล้งในนาโดยไม่อาศัยน้ำชลประทาน 2.1 การเตรียมดิน หลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว รีบตัดตอซังข้าวออกจากแปลงนาและเก็บไว้ที่คันนา การตัดตอซังข้าว ออกจากแปลงนาจะช่วยให้น้ำขังอยู่ในแปลงนา (ถ้ามี) ควรหยอดเมล็ดลงในร่องหรือหลุมลึก 10-15 เซนติเมตร การปลูกลึกทำให้รากถั่วลิสงหยั่งลงไปในดินได้ลึก เพื่อดูดความชื้นใต้ดินชั้นล่างได้มาก การใช้ตอซังข้าวที่ตัดออกแล้วนำกลับมาคลุมดินหลังจากปลูกถั่วลิสงได้ประมาณ 10-15 วัน จะช่วยรักษาความชื้นในดินไว้ได้นาน 2.2 การใส่ปุ๋ย การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวอาจจะไม่ใส่ปุ๋ยเคมีก็ได้ โดยอาศัยปุ๋ยที่เหลือตกค้างจากการที่ใส่ให้กับข้าว แต่ถ้าจะให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นควรใส่ปุ๋ย 25 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ยในร่องพร้อมกับการหยอดเมล็ด 2.3 การกำจัดวัชพืช กล่าวโดยทั่วไป การปลูกถั่วลิสงในฤดูแล้งโดยไม่ให้น้ำชลประทานจะมีวัชพืชน้อยมาก ในกรณีที่มีวัชพืชเกิดขึ้นให้ใช้มือถอนออกจากแปลง 2.4 การป้องกันกำจัดโรคและแมลง ศัตรูพืชที่สำคัญในการปลูกถั่วลิสงก็คือ เสี้ยนดิน แต่การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยที่ดินผ่านสภาพน้ำขังมาก่อนจะมีปัญหาเสี้ยนดินน้อย 2.5 การเก็บเกี่ยว ใช้มือถอนต้นจากดินแล้วปลิดฝักออกจากต้น ถ้าดินแน่นให้ใช้จอบขุด เมื่อปลิดฝักออกจากต้นแล้วนำฝักถั่วลิสงตากแดดแล้วนำไปขายต่อไป หรืออาจจะขายในรูปของฝักสดก็ได้ ต้นถั่วลิสงที่ปลิดฝักออกแล้วทิ้งเศษซากไว้ในแปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับข้าวต่อไป ควรหยอดเมล็ดลงในร่องหรือหลุมลึก 10-15 เซนติเมตรการปลูกลึกทำให้รากถั่วลิสงหยั่งลงไปในดินได้ลึกเพื่อดูดความชื้นในดินชั้นล่างได้มาก การใช้ตอซังข้าวที่ตัดออกแล้วนำกลับมาคลุมดินหลังจากปลูกถั่วลิสงได้ประมาณ 10-15 วัน จะช่วยรักษาความชื้นในดินไว้ได้นาน ต้นทุนในการผลิตถั่วลิสงหลังนา รายการ บาท 1. ค่าจ้างไถดะ 300 2. ค่าจ้างไถแปร 300 3. ค่าจ้างไถพรวน 300 4. ค่าเมล็ดพันธุ์ (2.5-3 ถังต่อไร่) 3,000 5. ค่าจ้างปลูก 300 6. ค่าปุ๋ยรองพื้น (50 กิโลกรัมต่อไร่) 750 7. ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและแมลง (9 ครั้งๆ ละ 200) 1,800 8. ค่าจ้างเก็บเกี่ยว 1,500 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,250 ราคาถั่วลิสง ฝักสด ไร่ละ…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การผลิต การปลูกถั่วลิสง

    ถั่วลิสงชอบพื้นที่ดอน ดินมีการระบายน้ำดี ไม่ชอบที่น้ำขัง ลักษณะดินร่วน/ร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ชอบแสงแดดจัดอุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส ควรมีแหล่งน้ำพอเพียง ถั่วลิสงสามารถปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยมีช่วงระยะเวลาเพาะปลูกที่เหมาะสมดังนี้ การปลูกและดูแลรักษา การปลูกถั่วลิสงควรเลือกพันธุ์ปลูกตามความต้องการของตลาด คือ 1. ใช้เพื่อการกะเทาะเมล็ด เช่น เมล็ดถั่วลิสงแห้ง ถั่วลิสงแห้งเมล็ดโตที่ใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร นิยมใช้พันธุ์ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีชมพูอ่อน พันธุ์ไทนาน9 พันธุ์ขอนแก่น60–1 พันธุ์ขอนแก่น5พันธุ์ขอนแก่น4 และพันธุ์ขอนแก่น6 2. ใช้ผลผลิตทั้งฝัก เช่น ถั่วลิสงต้ม(ฝักสด) ถั่วลิสงอบแห้งทั้งฝัก ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนิยมใช้พันธุ์ที่มี 3–4 เมล็ดต่อฝัก และมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เช่น พันธุ์ สข38 พันธุ์กาฬสินธุ์1 ส่วนพันธุ์มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีชมพูอ่อนได้แก่พันธุ์ขอนแก่น60–2 พันธุ์ขอนแก่น4 และพันธุ์ขอนแก่น6 นอกจากนั้นยังมีพันธุ์กาฬสินธุ์2 (เยื่อหุ้มเมล็ดสีชมพูลายขีดสีม่วง) การเตรียมดินปลูก ให้ไถ/พรวนดิน 1-2 ครั้ง มีความลึกประมาณ 10–20 เซนติเมตรตากดิน 7-10 วันสำหรับการปลูกหลังนาในฤดูแล้ง ควรยกร่องเพื่อให้น้ำไหลตามร่องปลูก ระยะการปลูกถั่วลิสงที่เหมาะสมโดยทั่วไป ควรมีระยะระหว่างแถว 30-50 เซนติเมตร และระยะระหว่างหลุม 10–20 เซนติเมตรโดยหยอดเมล็ดพันธุ์ 2–3 เมล็ดต่อหลุม ที่ความลึกประมาณ 5–8 เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ25-30 กิโลกรัม(ทั้งฝักแห้ง) ต่อไร่ ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบียม (เพื่อช่วยให้รากถั่วลิสงมีปมติดดีขึ้น ทำให้ถั่วลิสงตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มากขึ้น) และยากันราเพื่อป้องกันโรคโคนเน่าหรือโคนเน่าขาด (สารไอโปรไดโอนหรือคาร์เบนดาซิมตามอัตราแนะนำ) หรือเชื้อไตรโคเดอร์มาซึ่งเป็นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อโรค สำหรับการให้น้ำควรให้น้ำทุก 7 วันในระยะเดือนแรก จากนั้นควรให้น้ำทุก 7-10 วัน อย่าให้ถั่วลิสงขาดน้ำในระยะออกดอก ลงเข็มสร้างฝักและเมล็ด เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก ส่วนการกำจัดวัชพืช ครั้งแรกที่อายุ 15 วัน และครั้งที่ 2 ที่อายุ 30 วันหลังงอก การเก็บเกี่ยวถั่วลิสงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตถั่วลิสงให้มีคุณภาพดี ระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสังเกตได้ที่สีของเปลือกฝักด้านในเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลดำมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรือโดยการนับอายุ ถั่วลิสงที่ปลูกเพื่อบริโภคฝักสด (ถั่วต้ม) อายุประมาณ 85–95 วัน และฝักแก่เต็มที่อายุประมาณ 95–110 วัน การเก็บเกี่ยวในขณะที่ดินยังมีความชื้นจะช่วยให้ถอนต้นถั่วขึ้นได้โดยง่ายการปลิดฝักควรเลือกเฉพาะฝักที่ดีไม่เป็นโรค และตากฝักถั่วลิสงบนตะแกรง ตาข่าย แคร่ หรือผ้าใบเพื่อไม่ให้ฝักถั่วสัมผัสพื้นดิน ซึ่งไม่ควรตากหนาเกิน 5…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิต ถั่วเขียวครบวงจร

    ถั่วเขียว เป็นพืชที่มีอายุ ใช้น้ำน้อย มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-75 วัน ปลูกได้ตลอดปีคือ ฤดูแล้งหลังทำนาปี ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝนหลังเก็บเกี่ยวพืชไร่หลัก เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ปอ เป็นต้น พื้นที่ปลูกถั่วเขียวในแต่ละปีประมาณ 9 แสนไร่ ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ 1. พันธุ์ ใช้พันธุ์กำแพงแสน 1, กำแพงแสน 2, ชัยนาท 60, ชัยนาท 72, ชัยนาท 36, มอ 1,มทส 1 ที่มีความพอดี อัตราส่วนที่ใช้ 5-8 กิโลกรัมต่อไร่2. เชื้อไรโซเบียม 1 ถุง (200 กรัม) ต่อไร่ หมายเหตุหากดินเป็นกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.0) ต้องมีการปรับปรุงดินด้วยปูนขาวหรือปูนบดเสียก่อนเพื่อลดความเป็นกรด และลดพิษอลูมินั่มและเหล็ก ขั้นตอนการดำเนินงาน การเตรียมดินควรไถด้วยผาน 3 ตากดินทิ้งไว้ คราดเก็บเศษวัชพืชออกให้หมด แล้วจึงไถด้วยผาน 7 จากนั้นควรทำร่องระบายน้ำระหว่างร่องปลูกเพื่อกันมิให้น้ำท่วมขัง แล้วจึงหยอดหรือหว่านการปลูก ปลูกได้ 2 วิธี 1. การปลูกแบบหว่านหลังจากไถด้วยผาน 7 ให้หว่านเมล็ดที่คลุกเชื้อไรโซเบียมแล้วให้สม่ำเสมอที่แปลงอัตราเมล็ดที่ใช้ประมาณ 5-6 กิโลกรัมต่อไร่ หลังไถคราดกลบเพื่อรักษาความชื้นในดิน 2. การปลูกแบบหว่านโดยโรยเป็นแถวระยะแถว 50 เซนติเมตร อัตราการใช้เมล็ด 15-20 เมล็ด ต่อแถวยาว 1 เมตรถั่วเขียวมีความต้องการไนโตรเจนสูงโดยธรรมชาติ พืชตระกูลถั่วสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาช้ประโยชน์โดยการทำงานของจุลินทรีย์ไรโซเบียมที่รากจึงควรคลุกเมล็ดด้วยไรโซเบียมถั่วเขียว ก่อนปลูกทุกครั้ง ถ้าปลูกในดินร่วนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการเพาะแปลงทำลายวัชพืช และควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเพิ่มเติมและใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 3 กิโลกรัมต่อไร่ ถั่วเขียวแม้จะเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย แต่ไม่ควรให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงออกดอกและติดฝักสร้างเมล็ด เพราะจะทำให้ผลผลิตต่ำ ควรให้น้ำทุกๆ 10-14 วัน และหยุดให้น้ำเมื่อฝักเขียวแก่เต็มที่ฝักแรกเริ่มเป็นสีดำซึ่งตลอดฤดูปลูกจะให้น้ำประมาณ 4 ครั้ง สำหรับการปลูกถั่วเขียวในฤดูฝนควรมีการให้น้ำระยะฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะออกดอกถึงระยะสร้างฝักและเมล็ด ผลผลิต ถั่วเขียวนอกจากสามารถนำไปบริโภคได้โดยตรง เช่น นำไปต้มน้ำตาล หรือเต้าส่วน ยังนำไปเพาะถั่วงอกได้ เพื่อนำไปประกอบอาหารมากมาย รวมทั้งสามารถแปรรูปในระดับอุตสาหกรรม ได้แก่การทำวุ้นเส้น…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิตชมพู่

    ชมพู่ เป็นผลไม้เขตร้อนซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับฝรั่งหว้า ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ชอบน้ำ จัดเป็นผลไม้ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบ ผลมีรสหวานกรอบ คนไทยนิยมปลูกเป็นไม้มงคลประจำบ้าน ชมพู่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอผลนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์์ต่างๆ ได้ เช่น เยลลี่ แยม และ แช่อิ่ม เป็นต้น ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ ชมพู่ เป็นผลไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่เจริญเติบโตได้ดีที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคตะวันตก สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 6.5-7.0 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การเตรียมแปลงปลูกในการปลูกชมพู่ สามารถปลูกได้แบบยกร่องในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งการปลูกแบบยกร่องนี้ ส่วนหลังร่องกว้างประมาณ 3 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1-1.50 เมตรมีแนวชายร่องข้างละ 0.50 เซนติเมตร ซึ่งหลังยกร่องแล้วควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินให้ดินล่างลงไปอยู่ด้านล่าง และดินบนซึ่งถูกทับขณะขุดร่องกลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม ช่วงพลิกนี่เองที่ชาวสวนสามารถทำการปรับสภาพดิน โดยใช้ปูนขาวและปุ๋ยคอกลงไปในดินได้เลย สำหรับพื้นที่ดอนควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดิน และใส่ปุ๋ยคอก 2. กำหนดระยะการปลูก2.1 แบบยกร่อง ส่วนใหญ่ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 4 เมตร2.2 บนพื้นที่ดอน ใช้ระยะ 4×4 เมตร หรือ 6×6 เมตร แล้วแต่สภาพความสมบูรณ์ของดินด้วย ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ ควรปลูกระยะ 6×6 เมตร 3. การเตรียมหลุมปลูกโดยทั่วๆ ไปหลุมปลูกจะใช้ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร (กว้างxยาวxลึก) โดยแยกดินหน้าไว้ข้างหนึ่งและดินล่างไว้อีกข้างหนึ่ง แล้วเอาปุ๋ยคอกประมาณ 50 กิโลกรัมผสมกับหน้าดินอัตราส่วน1:1 และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 500 กรัม กลบลงไปในหลุมจนพูน 4. การปลูกต้นพันธุ์ชมพู่ที่คัดเลือกไว้แล้ว นำมาถอดภาชนะเพาะชำออก แล้วตรวจดูว่ามีรากขดหรือไม่ขยายรากออก หันทิศทางของกิ่งให้เหมาะสม แล้วฝังลงในหลุมที่เตรียมไว้ โดยให้ระดับสูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย หลังจากบ่มนำดินล่างมาเติมบนปากหลุมจนพูนแล้วอัดดินให้แน่น ปักไม้และผูกเชือกลำต้น พร้อมปักทางมะพร้าวพรางแสงในทิศทางตะวันตก และตะวันออก เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชมพู่ที่ปลูกใหม่เหี่ยวเฉา หลังจากต้นชมพู่ตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยนำทางมะพร้าวออก ผลผลิต สามารถให้ผลผลิตหลังจากปลูกไปแล้ว 15-18 เดือน ตลาด และผลตอบแทน ตลาดชมพู่ส่วนใหญ่ เป็นตลาดภายในประเทศ ได้แก่…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิตมะม่วง เพื่อการส่งออก

    มะม่วง จัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน เพราะสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ เกษตรกรจึงสามารถปลูกมะม่วงเพื่อเป็นพืชเสริมรายได้ หรือปลูกในลักษณะเป็นสวนเพื่อการส่งออก ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ 1. พันธุ์ มะม่วงมีพันธุ์มากมายประมาณกว่า 150 สายพันธุ์ แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ คือ– มะม่วงสำหรับรับประทานผลดิบ เช่น เขียวเสวย ฟ้าลั่น พิมเสนมัน แรด มันหนองแซง เป็นต้น– มะม่วงสำหรับรับประทานผลสุก เช่น น้ำดอกไม้ อกร่อง หนังกลางวัน ทองคำ เป็นต้น– มะม่วงที่ปลูกเพื่อการอุตสาหกรรมแปรรูป ได้แก่ มะม่วงแก้ว มะม่วงสามปี และมะม่วงโชคอนันต์2. ดิน มะม่วงชอบดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถระบายน้ำได้ดี หากปลูกในที่ราบลุ่มซึ่งดินส่วนใหญ่จะเป็นดินเหนียว จะต้องยกร่อง และควรมีดินความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง (pH) 5.5-7.53. ระดับน้ำในดิน และความลึกของหน้าดิน ถ้าระดับน้ำในดินตื้นรากมะม่วงจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเท่าที่ควร เพราะไม่สามารถยึดดินเพื่อประคองลำต้นได้ ทำให้ลำต้นแคระแกร็น และโค่นล้มได้ง่าย (ควรมีเนื้อดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร )4. อุณหภูมิ มะม่วงเป็นพืชที่เจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 20-34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิก่อนการออกดอก 5-20 องศาเซลเซียส ต่อกัน 2 สัปดาห์ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การเตรียมดิน – การปลูกในที่ลุ่ม ต้องขุดร่องสวนไถพรวนดิน แล้วตากดินไว้จนสุก (ประมาณ 15-30 วัน)จากนั้นจึงขุดยกร่องสำหรับการระบายน้ำ ขนาดของร่องสวนทั่วไปนั้น ฐานร่องกว้างประมาณ 6-6.5 เมตรสันร่องกว้าง 5.5 เมตร ท้องร่องกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1.4 เมตร ให้มีค่าความเป็น กรด-ด่าง เหมาะสมเมื่อขุดยกร่องเสร็จแล้ว ต้องปรับสภาพดินแล้วจึงปรับให้ดินร่วนซุย โดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก จากนั้นให้ตากดินอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงพรวนดินบนสันร่องเพื่อกลับหน้าดิน และเริ่มลงมือขุดหลุมปลูก – การปลูกในที่ดอน ก่อนที่จะปรับปรุงดิน วิเคราะห์ค่า (pH) ความเป็นกรดด่างของดินแล้วปรับสภาพดินโดยการพรวนดินประมาณ 1-2 ครั้ง สำหรับดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ก็กำจัดวัชพืชแล้วลงมือขุดหลุมปลูกได้เลย แต่ถ้าหากเป็นดินทรายจัด มีอินทรีย์วัตถุอยู่น้อยก็ให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มเติม 2. การขุดหลุมปลูก – โดยปกติจะกำหนดให้หลุมมีความกว้าง ยาว และลึกประมาณ…