• อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การปลูก การผลิตหน่อไม้ฝรั่ง

    หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชผักที่มีศักยภาพในการส่งออก มีแนวโน้มในการส่งออกที่ดี โดยเฉพาะการส่งออกผลผลิตสด และยังเป็นพืชผักทางเลือกอีกชนิดหนึ่งของเกษตรกรที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยมีการส่งเสริมในรูปแบบครบวงจร เพาะปลูกมากในเขตจังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี โดยตลาดต่างประเทศที่สำคัญ คือ ประเทศญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่ ตลาดยุโรป และตลาดในแถบเอเซีย ปัจจัยที่สำคัญ 1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ควรซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตมาจากบริษัทเจ้าของพันธุ์ และซื้อกับบริษัทที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะสามารถปลูกได้ ประมาณ 2-4 ไร่ ใช้พื้นที่เพาะกล้าประมาณ 500-600 ตารางเมตร อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการผลิตต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อใช้ในการปลูก ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ตรงตามพันธุ์ แต่มีข้อระวังคือต้องการคัดต้นพันธุ์ (Clone) ที่ดีเพื่อนำมาขยายพันธุ์ต่อ 2. การเตรียมแปลงเพาะกล้าควรเป็นที่โล่งแจ้ง ใกล้แหล่งน้ำ ไม่มีน้ำท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ประมาณ6.5-7.0 ปราศจากวัชพืช ในการเพาะกล้าขนาด 1 ไร่ ให้เตรียมแปลงเพาะขนาด 1×10 เมตร จำนวน 8 แปลงใส่ปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 30 กิโลกรัม (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตามความเหมาะสม) และปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อแปลงเพาะ คลุกเคล้าให้ทั่ว เกลี่ยดินบนแปลงให้เรียบและใช้ไม้ทำร่องลึก 1-2 เซนติเมตรตามแนวขวางของแปลง แต่ละร่องห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร 3. วัสดุปรับปรุงดินมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับสภาพดินที่ใช้ในการเพาะกล้า ควรเลือกใช้ดังนี้3.1 ปุ๋ยอินทรีย์3.2 ปูนขาว3.3 สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์กำจัดโรครา3.4 สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์กำจัดแมลงซึ่งปลอดภัยต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ปลูก3.5 แกลบ ฟาง3.6 บัวรดน้ำ3.7 อุปกรณ์การเตรียมแปลง จอบ คราด ไม้ปาดแปลง ไม้ชักร่อง ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การเพาะกล้าหน่อไม้ฝรั่งนำเมล็ดมาหยอดลงในร่องที่เตรียมไว้จุดละ 1 เมล็ด ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร กรณีมีมดหรือแมลงให้โรยทับด้วยปูนขาวบางๆ จากนั้นกลบดินในร่องบางๆ แล้วใช้ฟางคลุมทับบนแปลงหนาพอประมาณ ใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการลดเชื้อราใส่บัวรดน้ำราดให้ทั่ว จากนั้นรดน้ำตามให้เชุ่มระยะแรกๆ ต้องรดน้ำให้บ่อยครั้ง อย่าปล่อยให้แปลงแห้งประมาณ 10-15 วัน ต้นกล้าจะเริ่มงอกเปิดฟางออกให้เหลือฟางเพียงบางๆ เพื่อให้ต้นกล้างอกสะดวก ในช่วงต้นการให้ปุ๋ยจะต้องให้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน 2. การย้ายกล้าหน่อไม้ฝรั่งหลังจากที่กล้ามีอายุได้ 4-6 เดือน ต้นกล้าจะมีความแข็งแรง และมีอัตราการรอดตายสูงก่อนย้ายต้องงดให้น้ำในแปลงกล้า 2 อาทิตย์ เพื่อให้รากมีความเหนียว ก่อนถึงวันกำหนดย้ายกล้า 2-3 วันควรให้น้ำเพื่อให้ดินอ่อนตัวจะได้ทำการขุดได้ง่าย ควรตัดลำต้นเหนือดินออกโดยเหลือความสูงไว้ประมาณ15-20…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก ข้าวโพดฝักอ่อน

    ข้าวโพดฝักอ่อน เป็นข้าวโพดที่เก็บฝักมารับประทานเมื่อฝักอ่อนอยู่ หรือที่แกนกลางฝัก (ซัง) ยังไม่แข็งแรง การดูแลรักษาทั่วไปจึงไม่ต่างจากข้าวโพดฝักสดอื่นๆ ยกเว้นการใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวและการใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพราะมูลค่าการส่งออกข้าวโพดฝักอ่อนบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นทุกปี ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น และสามารถปลูกได้ปีละหลายครั้ง พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนสามารแบ่งตามวิธีการผลิตพันธุ์ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งไม่มีการควบคุมการผสมเกสรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ มีเพียงการคัดเลือกต้นที่ไม่ต้องการทิ้งไปก่อนออกดอก สามารถเก็บเมล็ดเพื่อใช้เป็นพันธุ์ในฤดูต่อไปได้ 2-3 รุ่น โดยผลผลิตลดลงเพียงเล็กน้อย พันธุ์ประเภทนี้จะมีขนาดฝักและลักษณะต่างๆ ไม่ค่อยสม่ำเสมอ ดังนั้น ผลผลิตจึงมักไม่เป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมแต่สามารถส่งขายตลาดสดได้ อาทิพันธุ์รังสิต 1 พันธุ์เชียงใหม่ 90 2. พันธุ์ลูกผสม เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วการผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องมีการควบคุมการผสมเกสร และผลผลิตของสายพันธุ์แท้ค่อนข้างต่ำ ทำให้ราคาเมล็ดพันธุ์สูงกว่าพันธุ์ผสมเปิดมาก และไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ แต่จะมีลักษณะต่างๆ เช่นลำต้น ขนาด และสีของฝักสม่ำเสมอ อีกทั้งให้ผลผลิตสูงเป็นที่ต้องการของโรงงาน ได้แก่ พันธุ์ G5414,G5445, NTB017, NTB018, Pacific16, Pacific421, Baby1, B50, IB991, CNB0308, CNB0305 และSXB 28 ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ พื้นที่ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนควรอยู่ในเขตชลประทานหรือใกล้แหล่งน้ำสะอาด ที่สามารถระบายน้ได้ดี ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินที่มีการระบายน้ำดี ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) อยู่ระหว่าง 6.5-7.0 มีอินทรีย์วัตถุสูงกว่า 1.5% มีฟอสฟอรัสไม่ต่ำกว่า 20 ส่วนในล้านมีโพแทสเซียมไม่ต่ำกว่า 100 ส่วนในล้านส่วน โดยทั่วไปข้าวโพดเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ10-40 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 27 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิกลางวันสูงและกลางคืนต่ำ มีแสงแดดจัด การออกดอกจะเร็วขึ้นถ้าปลูกในฤดูที่มีความยาวของกลางวันน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ขั้นตอนการดำเนินงาน 1) ฤดูปลูก สามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดปีถ้ามีน้ำ แต่ที่ปลูกกันมากก็คือ ในช่วงฤดูฝนส่วนฤดูอื่นๆ จะสามารถปลูกได้ในแหล่งที่มีระบบการชลประทานดี หรือมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ 2) การเตรียมดิน ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วทำการไถแปร หรือพรวนดินให้ร่วนอีก 1-2 ครั้ง จากนั้นจัดทำร่องหรือแถวปลูก 3) การปลูกและระยะปลูก ระยะปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสม คือ…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การปลูกข้าวโพดฝักสด

    ข้าวโพดฝักสด หมายถึง ข้าวโพดทุกชนิดที่คนเราใช้เป็นอาหารก่อนที่เมล็ดข้าวโพดจะแก่ ซึ่งในปัจจุบันข้าวโพดฝักสดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและของโลก สำหรับข้าวโพดฝักสดในประเทศไทย ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน แต่ที่สำคัญคือ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน เป็นการบริโภคในท้องถิ่นและในอนาคตด้านตลาดมีแนวโน้มที่จะขยายมากขึ้น ข้าวโพดหวานเป็นพืชอายุสั้นให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรผู้ปลูกอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถจำหน่ายได้ในตลาดบริโภคสดและโรงงานอุตสาหกรรมกระป๋อง ข้าวโพดหวาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์ซุปเปอร์สวิท พันธุ์ซุปเปอร์ฮาร์โก้ เกษตรกรสามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น เหมาะสำหรับจำหน่ายในตลาดบริโภคสด พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พันธุ์อินทรี2 พันธุ์ซูการ์73 พันธุ์ซูการ์74 พันธุ์ไฮ-บริทซ์5 พันธุ์เอพันธุ์เอทีเอส-2 พันธุ์รอยัลสวีท พันธุ์ยูนิซีดส์ พันธุ์สวิททูโทน เป็นต้น ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดบริโภคสดและโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้ ข้าวโพดฝักอ่อน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ผสมเปิด ลักษณะฝักไม่ค่อยสม่ำเสมอ สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้และจะต้องปลูกห่างจากพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 200 เมตร หรือทิ้งช่วงการปลูกจากพันธุ์อื่นไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ ได้แก่พันธุ์เชียงใหม่ 90 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 48 วันหลังงอก พันธุ์สุวรรณ2 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 45 วันหลังงอก พันธุ์ลูกผสม ลักษณะฝักสม่ำเสมอ ผลผลิตสูงเป็นที่ต้องการของโรงงาน เกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์2 พันธุ์G 5414 พันธุ์แปซิฟิค 116 พันธุ์แปซิฟิค 421พันธุ์ IBG 710 เป็นต้น พันธุ์ข้าวเหนียว ได้แก่ข้าวโพดหวานพิเศษขอนแก่น ผลิตโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเมล็ดสีขาวขุ่น กลิ่นหอมอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 65-70 วัน ข้าวโพดเทียน ได้แก่ข้าวโพดเทียนสีขาว พันธุ์ SSRTW 8801 (สุโขทัย 1) ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร อายุเก็บเกี่ยว56-65 วัน ผลผลิตจำนวนฝักทั้งหมด 22,218 ฝักต่อไร่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ ข้าวโพดฝักสดสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชลประทาน ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี ดินมีความเป็นกรด-ด่าง (pH)…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิตพริกสด

    พริก เป็นผักที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอย่างมาก คนไทยนิยมใช้พริกในการประกอบอาหารประจำวัน เพราะพริกสามารถใช้เป็นทั้งพืชผักและเครื่องปรุงแต่งรส นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องปรุงแต่งรส อาทิ พริกแห้ง พริกป่น พริกแกง น้ำพริกเผาซอสพริก และที่สำคัญพริกเป็นพืชผักเพื่อการส่งออกที่สำคัญ โดยสามารถนำเงินเข้าประเทศปีละหลายล้านบาท ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง และผลิตภัณฑ์แปรรูป พริกจึงนับเป็นพืชผักที่สามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี พันธุ์พริกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทผลเรียวยาวเล็กถึงปานกลาง อาทิ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกเหลืองประเภทผลเป็นรูประฆัง และเผ็ดน้อย หรือไม่เผ็ดเลยได้แก่ พริกยักษ์หรือพริกหวาน ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ พื้นที่ปลูกพริกควรเป็นที่โล่งแจ้งได้รับแสงตลอดวัน ไม่ควรเป็นที่ลุ่มๆ ดอนๆ หรือที่สูง ดินแห้งและพื้นที่ดังกล่าวไม่ควรเป็นที่ที่เคยปลูกพริกติดต่อกันหลายปี เพราะอาจเป็นที่สะสมโรคแมลงได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องปลูกซ้ำที่เดิมควรปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียน พริกสามารถเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิดโดยเฉพาะดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายน้ำดี สามารถเก็บความชื้นได้พอเหมาะความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) อยู่ระหว่าง 6.0-6.8 โดยทั่วไปพริกเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อน ขั้นตอนการดำเนินงาน 1) การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะควรกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวขึ้นกับความต้องการ และความสะดวก ในการดูแลรักษาควรขุดพลิกดินลึก 8-10 นิ้ว ตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ 4-5 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร พรวนคลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับดินเกลี่ยหน้าดินให้เรียบ สำหรับการเพาะในกระบะ ใช้ดินร่วนซุยผสมปุ๋ยคอกที่แห้งและละเอียด ในอัตรา 2 :1ถ้ามีแกลบเผาสีดำให้นำมาผสมอีก 1 ส่วน จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วรดน้ำตากทิ้งไว้ 1 สัปดาห์จึงทำการเพาะเมล็ด2) การเพาะกล้า การปลูก ส่วนมากเพาะกล้าก่อนปลูก แล้วจึงย้ายไปปลูกในแปลง หรืออาจย้ายกล้าเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 นิ้วก่อน เมื่อกล้าอายุประมาณ 20 วันหลังจากย้ายลงถุงพลาสติก (หรือสูงประมาณ 15 เซนติเมตร ) จึงย้ายปลูกลงแปลง ถ้าความงอก 90%และต้องการปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ จำนวนต้นประมาณ 3,200 ต้น จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 50-100 กรัมโรยเป็นแถวในแปลงเพาะที่ทำรอยเป็นร่องตื้นๆ ลึก 0.50 เซนติเมตร แถวควรจะขวางความยาวของแปลง การเพาะกล้าเพื่อย้ายลงแปลงปลูกโดยตรง ควรมีระยะห่างมากขึ้นประมาณ 8–10…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การทำก้อนเชื้อเห็ดและเปิดดอก

    ปัจจุบันการเพาะเห็ดเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เพราะได้ผลผลิตเร็วและมีตลาดรองรับ การเพาะเห็ดจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงนัก แต่สร้างรายได้ให้เป็นที่น่พอใจสามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ การซื้อเชื้อเห็ดคุณภาพดี ไม่มีจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อน ให้ผลผลิตสูง และได้กำไรดีนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เพาะเห็ดที่ต้องจำเองว่าบริษัทหรือห้างร้านใดที่ผลิตเห็ดคุณภาพดี แต่บางครั้งเชื้อเห็ดจากร้านเดียวกันคุณภาพกลับไม่สม่ำเสมอก็มี ปัญหาเช่นนี้ทำให้ผู้เพาะดอกเห็ดขายหันมาสนใจที่จะผลิตเชื้อเห็ดเอง แม้จะลงทุนสูงกว่าการซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก หากแต่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการยึดการเพาะเห็ดเป็นอาชีพ ซึ่งต้องทำการสำรวจตลาดและค้นคว้าข้อมูลในการผลิตมาให้ดีเสียก่อนเห็ดมีหลายชนิดอาทิ เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เป็นต้น ปัจจัยจำเป็น 1) วัสดุเพาะ โดยทั่วไปจะใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร อาทิ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้อ่อนฟางข้าว ชานอ้อย ฯลฯ2) ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6.75×12.5 นิ้ว หรือ ขนาด 8×12 นิ้ว3) คอขวดพลาสติกเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 นิ้ว4) สำลี5) ยางรัด6) หม้อนึ่งเชื้อ7) โรงเรือนบ่มเส้นใย8) โรงเรือนเปิดดอก สูตรอาหารก้อนเชื้อเห็ด ขี้เลื่อยยางพาราแห้ง (ไม่ต้องหมัก)รำละเอียดปูนขาวยิปซัมดีเกลือ 1005120.2 กิโลกรัมกิโลกรัมกิโลกรัมกิโลกรัมกิโลกรัม (ปรับความชื้นในวัสดุเพาะประมาณ 60-65%) ขั้นตอนการดำเนินงาน 1) นำส่วนผสมข้างต้นผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสม ปรับความชื้นประมาณ 60-65%โดยการเติมน้ำลงไปพอประมาณ2) ใช้มือกำขี้เลื่อยขึ้นมาบีบให้แน่น แล้วสังเกตว่าถ้ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้วมือแสดงว่าเปียกไป ให้เติมขี้เลื่อยแห้ง แต่ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วนแสดงว่าใช้ได้ (มีความชื้นประมาณ 60-65%) แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวกันเป็นก้อนแสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำลงไปอีก3) เมื่อผสมคลุกเคล้าส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ให้บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนความร้อนน้ำหนักบรรจุ 8–10 ขีด หรือ 2 ใน 3 ของถุง แล้วกดให้แน่นพอประมาณ ใส่คอขวด รัดด้วยหนังยาง จุกสำลี4) นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 90-100 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง5) นำถุงพลาสติกออกพักให้เย็นในที่สะอาด เปิดจุกสำลี ต่อเชื้อที่ต้องการลงไปตรงคอขวด6) นำถุงเชื้อเห็ดไปบ่มไว้ที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวกพ่นยาฆ่าแมลงทุกวัน จนกว่าเส้นใยจะเต็มถุง(ระยะเวลาต่างกันตามชนิดของเห็ด)7) เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงแล้ว คัดเอาเฉพาะถุงที่ไม่มีการปนเปื้อนมาเปิดในโรงเรือนเปิดดอกเพื่อใหhเกิดดอกเห็ดต่อไป ภายในโรงเรือนต้องสะอาด มีอากาศถ่ายเทดี มีแสงสว่างและเก็บความชื้นได้ดีพอควร (ความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 70% ขึ้นไป) รดน้ำทุกวันเพื่อให้เห็ดออกดอก ลักษณะเชื้อเห็ดที่ดี มีวิธีสังเกตดังนี้ 1. เห็ดตระกูลนางรม (เห็ดนางรมฮังการี เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดยานางิ) เส้นใยเดินเต็มถุงมีสีขาว หากมีสีเหลือง แสดงว่าเส้นใยเห็ดเริ่มแก่แล้ว2. เห็ดเป๋าฮื้อ…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก กระชายดำ

    กระชายดำเป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตามบริเวณป่าดิบร้อนชื้น แหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปคือ เขตปลูกอำเภอนาแห้วอำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ปัจจุบันปลูกมากในเขตจังหวัดเลย เป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูงมากจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งอื่นๆ เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เช่นเดียวกับขิงและขมิ้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora ลักษณะทางพฤษศาสตร์ กระชายดำแตกต่างจากกระชายทั่วไป (ที่ใช้เป็นเครื่องแกง) คือ กระชายทั่วไปใช้ส่วนที่เป็นราก(tuber) ซึ่งงอกออกมาจากเหง้า (ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน) มีกาบใบและใบซ้อนโผล่ขึ้นอยู่เหนือดินส่วนกระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว ลักษณะคล้ายขิงหรือขมิ้นแต่มีขนาดเล็กกว่า ใบใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากระชายทั่วไป ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตรยาว 30-35 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยกาบใบมีสีแดงจางๆ และหนาอวบ กำเนิดมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยง ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วงเกสรสีเหลือง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน หัวมีสีเข้มแตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท (ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความแตกต่างของสีขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อายุ หรือพันธุกรรม) สีของหัวเมื่อนำไปดองสุราจะถูกฟอกออกมา พันธุ์ ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่หากจำแนกตามลักษณะของสีของเนื้อหัว พอจะแยกได้ 3 สายพันธุ์ คือ– สายพันธุ์ที่มีเนื้อหัวสีดำ– สีม่วงเข้ม– สีม่วงอ่อนหรือสีน้ำตาล ส่วนใหญ่แล้ว จะพบกระชายที่มีสีม่วงเข้มและสีม่วงอ่อน ส่วนกระชายที่มีสีดำสนิทจะมีลักษณะหัวค่อนข้างเล็ก ชาวเขาเรียกว่า กระชายลิง ซึ่งมีไม่มากนักจัดว่าเป็นกระชายที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด แหล่งปลูกที่เหมาะสม เนื่องจากกระชายดำเป็นพืชดั้งเดิมของชาวเขา จึงเชื่อกันว่ากระชายดำที่ดี มีคุณภาพ จะต้องปลูกบนพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร เกษตรกรจึงนิยมปลูกกระชายดำระหว่างแถวไม้ยืนต้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูล ยืนยันว่าปลูกกลางแจ้งกับปลูกในที่ร่มรำไรมีผลแตกต่างกันอย่างไร ทั้งในด้านคุณภาพและการเจริญเติบโต การปลูก การเตรียมพันธุ์ปลูกโดยการใช้หัวแก่จัดมีอายุประมาณ 11-12 เดือน ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนานประมาณ 1-3 เดือน ก่อนเก็บรักษาควรจุ่มหัวพันธุ์ในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา โดยใช้ไดโฟลาแทน 80 หรือ แมนเซ็ทดี ผสมน้ำอัตรา 2-4 ช้อนแกง/น้ำ 20…