อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิต ถั่วเขียวครบวงจร

ถั่วเขียว เป็นพืชที่มีอายุ ใช้น้ำน้อย มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-75 วัน ปลูกได้ตลอดปีคือ ฤดูแล้งหลังทำนาปี ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝนหลังเก็บเกี่ยวพืชไร่หลัก เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ปอ เป็นต้น พื้นที่ปลูกถั่วเขียวในแต่ละปีประมาณ 9 แสนไร่

ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้

1. พันธุ์ ใช้พันธุ์กำแพงแสน 1, กำแพงแสน 2, ชัยนาท 60, ชัยนาท 72, ชัยนาท 36, มอ 1,มทส 1 ที่มีความพอดี อัตราส่วนที่ใช้ 5-8 กิโลกรัมต่อไร่
2. เชื้อไรโซเบียม 1 ถุง (200 กรัม) ต่อไร่

หมายเหตุ
หากดินเป็นกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.0) ต้องมีการปรับปรุงดินด้วยปูนขาวหรือปูนบดเสียก่อนเพื่อลดความเป็นกรด และลดพิษอลูมินั่มและเหล็ก

ขั้นตอนการดำเนินงาน

การเตรียมดิน
ควรไถด้วยผาน 3 ตากดินทิ้งไว้ คราดเก็บเศษวัชพืชออกให้หมด แล้วจึงไถด้วยผาน 7 จากนั้นควรทำร่องระบายน้ำระหว่างร่องปลูกเพื่อกันมิให้น้ำท่วมขัง แล้วจึงหยอดหรือหว่านการปลูก ปลูกได้ 2 วิธี

1. การปลูกแบบหว่าน
หลังจากไถด้วยผาน 7 ให้หว่านเมล็ดที่คลุกเชื้อไรโซเบียมแล้วให้สม่ำเสมอที่แปลงอัตราเมล็ดที่ใช้ประมาณ 5-6 กิโลกรัมต่อไร่ หลังไถคราดกลบเพื่อรักษาความชื้นในดิน

2. การปลูกแบบหว่าน
โดยโรยเป็นแถวระยะแถว 50 เซนติเมตร อัตราการใช้เมล็ด 15-20 เมล็ด ต่อแถวยาว 1 เมตรถั่วเขียวมีความต้องการไนโตรเจนสูงโดยธรรมชาติ พืชตระกูลถั่วสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมา
ช้ประโยชน์โดยการทำงานของจุลินทรีย์ไรโซเบียมที่รากจึงควรคลุกเมล็ดด้วยไรโซเบียมถั่วเขียว ก่อนปลูกทุกครั้ง ถ้าปลูกในดินร่วนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการเพาะแปลงทำลายวัชพืช และควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเพิ่มเติมและใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 3 กิโลกรัมต่อไร่

ถั่วเขียวแม้จะเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย แต่ไม่ควรให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงออกดอกและติดฝักสร้างเมล็ด เพราะจะทำให้ผลผลิตต่ำ ควรให้น้ำทุกๆ 10-14 วัน และหยุดให้น้ำเมื่อฝักเขียวแก่เต็มที่ฝักแรกเริ่มเป็นสีดำซึ่งตลอดฤดูปลูกจะให้น้ำประมาณ 4 ครั้ง สำหรับการปลูกถั่วเขียวในฤดูฝนควรมีการให้น้ำระยะฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะออกดอกถึงระยะสร้างฝักและเมล็ด

ผลผลิต

ถั่วเขียวนอกจากสามารถนำไปบริโภคได้โดยตรง เช่น นำไปต้มน้ำตาล หรือเต้าส่วน ยังนำไปเพาะถั่วงอกได้ เพื่อนำไปประกอบอาหารมากมาย รวมทั้งสามารถแปรรูปในระดับอุตสาหกรรม ได้แก่การทำวุ้นเส้น การทำแป้งถั่วเขียว การทำเนื้อเทียมจากโปรตีนสกัด และการนำแป้งถั่วเขียวมาทำซาหริ่ม

ตลาด และผลตอบแทน

การปลูกถั่วเขียวเกษตรกรมักใช้เทคโนโลยีต่ำ ไม่บำรุงดูแลเท่าที่ควร จึงทำให้ผลผลิตต่ำ หาเกษตรกรสามารถให้น้ำสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืชได้มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร ก็จะทำให้ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 200 กิโลกรัมต่อไร่

ราคาที่เกษตรกรได้รับ

ต้นทุนการผลิตประมาณ
ราคาที่เกษตรกรได้รับเฉลี่ย
1,500
17-19
บาทต่อไร่
บาทต่อกิโลกรัม