อาชีพ ทำกิน รายได้

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิต การปลูกส้มโอ

    ส้มโอ เป็นไม้กึ่งร้อนที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เพราะเป็นที่นิยมบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาสูงและมีระยะเวลาในการวางตลาดได้นาน จึงทำให้เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ 1. พันธุ์ส้มโอที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีมากมายกว่า 30 พันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่– พันธุ์ขาวทองดี มีขนาดผลปานกลาง ทรงผลกลมแป้น ส่วนหัวนูน น้ำหนักผลประมาณ940-1,060 กรัม เปลือกผลค่อนข้างบางมีความหวานสูง– พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง มีขนาดผลใหญ่ ทรงผลกลมน้ำหนักผลประมาณ 1,800 กรัม เปลือกผลหนารสชาติปะแล่มๆ หรือหวานอมเปรี้ยว 2. ดินส้มโอสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินทราย ดินร่วน ดินร่วนปนทรายหรือร่วนดินเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงสภาพให้ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขังหรือแฉะ ดินที่ปลูกส้มโอแล้วให้ผลผลิตคุณภาพควรลึกอย่างน้อย 1 เมตร มีความเป็นกรดและด่าง (pH) 5.5-6.5หมายเหตุ ผลผลิตที่ได้จะต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพดินในแต่ละที่ 3. ปุ๋ยส้มโอ เป็นพืชที่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ อาทิ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การปลูก– การปลูกในพื้นที่ดอนที่น้ำไม่ขัง ไม่ต้องยกร่อง ควรปรับพื้นที่ให้เรียบ แล้วกำจัดวัชพืชการปลูกเป็นแถว ควรขุดหลุมปลูกขนาดประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร ควรใช้ระยะปลูก 8×8 เซนติเมตรเพราะรากจะเจริญลงลึกในแนวดิ่ง– การปลูกในที่ลุ่ม ทำการเตรียมดินในช่วงฝนแล้งแล้วทิ้งไว้ให้ดินสุก (ดินสุกคือดินที่แห้งร่วนและระบายน้ำได้ดี) โดยขุดเป็นร่องใช้สันร่องปลูก สันร่องกว้างประมาณ 6.5 เมตร สำหรับร่องน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ควรยกร่องขวางทางแสงอาทิตย์จะทำให้ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอถ้าเป็นที่ลุ่มมาก ต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวน โดยฝังท่อระบายน้ำเข้า-ออกจากสวน ขุดหลุมปลูกโดยใช้ระยะประมาณ 6×8 เมตร– นำพันธุ์ส้มโอที่ต้องการปลูกมาใส่ตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ กดดินบริเวณโคนกิ่งพันธุ์ให้แน่นพอประมาณ จากนั้นใช้ไม้หลักปักยึดกิ่งพันธุ์ไม่ให้โยก รดน้ำให้ชุ่มแล้วหาเศษฟางแห้งมาคลุมดิน เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำในระยะที่ต้นยังเล็กอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นส้มโอตั้งตัวได้เร็วขึ้น 2. การให้น้ำให้น้ำอย่างสม่ำเสมอหลังการปลูกโดยควรให้น้ำในตอนเช้า และเมื่อต้นส้มโอใกล้ออกดอกควรงดน้ำประมาณ 5-30 วัน 3. การเก็บเกี่ยวโดยทั่วไปส้มโอจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ส้มโอจะเจริญเติบโตนับจากช่วงออกดอกติดผลถึงผลแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 7-8 เดือน โดยคุณภาพของส้มโอ 2 ชุดนี้จะต่างกัน ส้มโอที่ติดผลชุดหลัง (สิงหาคม–ตุลาคม) จะมีรสชาติที่เข้มข้นกว่า เพราะมีปริมาณกรดและน้ำตาลสูงกว่า (มีปริมาณน้ำในผลน้อยกว่าเพราะเจริญเติบโตในช่วงฤดูหนาวและเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง)…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิตฝรั่งคุณภาพ

    ฝรั่ง เป็นผลไม้ที่คุ้นเคยกับชีวิตประจำวันของคนไทยมาช้านานทั้งเป็นผลไม้ที่มีขายตลอดทั้งปีสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่ถ้าปลูกในดินร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก และมีการระบายน้ำดีก็จะได้ผลผลิตที่ดี ต้นฝรั่งสามารถทนสภาพความแห้งแล้งได้ดี เกษตรกรสามารถปลูกฝรั่งเพื่อเป็นอาชีพหลัก หรือเป็นอาชีพเสริม แม้กระทั่งปลูกเพื่อเก็บผลมาบริโภคภายในครัวเรือนก็ได้ ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ 1. พันธุ์ ฝรั่งสามารถจัดประเภทพันธุ์ออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ– กลุ่มรับประทานสด ได้แก่ ฝรั่งที่มีผลใหญ่ มีรสชาติอร่อยกลมกล่อม เช่น พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่พันธุ์ขี้นก ฝรั่งพันธุ์จีน ได้แก่ พันธุ์บางเสาธง พันธุ์หลวงท่องสื่อ ฝรั่งพันธุ์อินเดีย ได้แก่ พันธุ์อีแห้ว พันธุ์อาลาฮาบัด พันธุ์เวียดนาม ได้แก่ กลมสาลี่ ขาวเศวต แป้นสีทอง เป็นต้น– กลุ่มฝรั่งประดับ ส่วนใหญ่จะมีผลขนาดเล็กมาก มีทรงต้นเป็นพันธุ์ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบมีลักษณะเล็กและแคบอาจมีใบเป็นจีบ ดอกสีขาว ผลสีเขียวเข้ม– กลุ่มฝรั่งแปรรูป เป็นฝรั่งที่มีลักษณะเหมาะที่จะใช้ในการแปรรูปต่างๆ เช่น น้ำฝรั่ง โดยนิยมใช้พันธุ์เบอมองท์ พันธุ์คาฮัวลูคา โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดผลไม่ใหญ่มากนัก ที่สำคัญเนื้อมีสีชมพูมีกลิ่นหอมและฉ่ำน้ำมาก 2. ดิน ฝรั่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นและออกดอกผลได้ในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินปนทรายแต่ดินที่จะให้ผลดีที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย หรือดินตกตะกอนริมแม่น้ำลำคลอง หากปลูกในดินเหนียวจะต้องยกร่อง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวก โดยร่องที่จะยกไม่ควรต่ำกว่า 6 เมตร และท้องร่องควรกว้าง 1.5 เมตร 3. ปุ๋ย ปุ๋ยมีความสำคัญต่อฝรั่งเป็นอย่างมาก หากไม่ใส่ปุ๋ยจะได้ผลน้อยลงเป็นลำดับ ปุ๋ยที่นิยม ได้แก่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลสัตว์ โดยควรใส่ปุ๋ยตั้งแต่แรกปลูก จากนั้นก็ใส่สม่ำเสมอทุกๆ ปี ปีละ 3 ครั้งหมายเหตุ ฝรั่งเป็นพืชที่ชอบแสงแดด แต่ไม่ชอบลมพัดแรง ดังนั้นหากปลูกในที่โล่งควรมีต้นไม้กำบัง ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การเตรียมดิน ฝรั่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นง่าย แม้ไม่ต้องเตรียมหลุมก็สามารถขึ้นได้ แต่ถ้าต้องการให้ฝรั่งโตเร็วและออกผลต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดตอน ควรมีการเตรียมหลุมปลูก และเตรียมดินที่ใช้ปลูก ดังนี้ วิธีเตรียมหลุมปลูก– ขุดหลุมกว้าง ยาว ลึก อย่างละ 1 เมตร แยกดินชั้นบนและชั้นล่างไว้ต่างหากคนละกอง นำเอาเศษไม้ใบหญ้าแห้งมาใส่หลุมนี้ แล้วเอามูลสัตว์ทับชั้นบน รดน้ำให้ชุ่มปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-4 เดือน หมายเหตุ หากขุดหลุม แล้วมีน้ำซึมออกมาจากก้นหลุมให้เปลี่ยน เพราะรากฝรั่งจะแช่น้ำ ทำให้ปลูกไม่ได้ผล วิธีเตรียมดินปลูก– นำเอาดินชั้นบนที่ขุดแยกไว้ มาผสมปุ๋ยหมัก…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การปลูกไผ่ตง

    ไผ่ ถูกจัดให้เป็นพืชอเนกประสงค์ และสารพัดประโยชน์ เนื่องจากส่วนต่างๆ ของไผ่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ หน่อสามารถนำมาประกอบอาหาร หรือแปรรูปเป็นหน่อไม้ปิ๊บ(ต้มบรรจุปิ๊บ) ลำต้นสามารถใช้ในการก่อสร้าง เช่น ทำนั่งร้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือทำเยื่อกระดาษใบใช้ห่อขนม ทำหมวก ทำหลังคา กิ่งและแขนงใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ และกิ่งแขนงของไผ่ยังนิยมใช้มาเป็นส่วนขยายพันธุ์ พันธุ์ไผ่ที่สำคัญ และเป็นที่นิยมปลูกในการบริโภค ได้แก่ ไผ่ตง ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกไผ่ตงเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมก็ได้ เพราะไผ่ตงเป็นไม้โตเร็ว สามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิดและเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ 1. พันธุ์ไผ่ตงไผ่ตง สามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่างๆ ได้ 5 พันธุ์ ด้วยกันคือ “ตงดำหรือตงจีน” เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและตลาดมีความต้องการมาก ให้ผลผลิตสูง และเป็นพันธุ์ที่นิยมนำมาใช้เป็นตงหมก (ไผ่ตงหวาน)ซึ่งจะขายได้ราคาสูงกว่าไผ่ตงธรรมดาที่ไม่ได้หมักถึง 2 เท่าตัว “ตงหม้อหรือตงใหญ่” เป็นพันธุ์ที่มีต้นขนาดใหญ่และมีการแตกกิ่งแขนงน้อย ทำให้การขยายพันธุ์เป็นไปได้น้อยและช้า การออกหน่อไม่ดก เพราะออกเฉพาะช่วงกลางฤดูฝน และช่วงเวลาที่ออกหน่อสั้นมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมปลูกมากนัก “ไผ่ตงเขียว” เป็นไผ่ขนาดกลาง และสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี ให้ผลผลิตสูง มีช่วงการออกหน่อกว้างกว่าพันธุ์อื่น คือ จะออกหน่อถึง 2 ช่วง คือฤดูฝนและระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงที่มีไผ่ตงออกสู่ตลาดน้อย ทำให้ขายได้ราคาสูง แม้คุณภาพจะด้อยกว่าไผ่ตงดำ “ไผ่ตงไต้หวันชนิดใหญ่” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “มาจู” และไผ่ตงไต้หวันชนิดเล็ก หรือ“ลิ่วจู” ซึ่งหน่อของไผ่ตงทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถรับประทานดิบๆ ได้เพราะมีรสหวานกรอบ และเนื้อละเอียด หมายเหตุ การปลูกไผ่ตงพันธุ์ไต้หวัน เช่น ไผ่มาจูจะต้องมีการกลบดินสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตรในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ก่อนที่จะแทงหน่อ เพราะหากหน่อถูกแสงแดดกาบจะเป็นสีเขียว มีรสขมและไม่สามารถรับประทานได้ 2. ดินไผ่ตงจะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดี ไม่ชอบสภาพดินปลูกที่มีน้ำท่วมขังเพราะถ้าโดนน้ำท่วมขังจะทำให้ราก หน่อ และเหง้าเน่าตายได้ง่าย และดินที่เหมาะกับการปลูกควรเป็นดินกรดหรือดินเปรี้ยว หมายเหตุ ถ้าจะปลูกในบริเวณที่ลุ่มมีน้ำท่วมถึง ควรทำการยกร่องให้สูงพ้นน้ำ 3. ภูมิอากาศ ไผ่ตงเป็นพืชที่ทนความแล้งได้ดี พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำตั้งแต่ 1,100 มิลลิเมตร ขึ้นไปก็สามารถปลูกได้ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. การเตรียมดินควรทำในช่วงก่อนฤดูฝน โดยกำจัดวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมด ไถพรวนดิน 2 ครั้งครั้งแรกให้ไถดะตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงไถพรวนอีกครั้งให้ดินย่อยละเอียด…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การปลูกมะพร้าวอ่อน

    มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่มีประโยชน์มากที่สุด ทั้งนี้ เพราะแทบทุกส่วนของมะพร้าวมีประโยชน์ทั้งสิ้น นับตั้งแต่รากไปจนถึงยอด และมะพร้าวหอมเป็นมะพร้าวอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกกันอย่างกว้างขวางเพราะมีคุณลักษณะพิเศษ คือ น้ำมะพร้าวหอม เนื้อมะพร้าวมีรสชาติหวาน กลมกล่อม และมีกลิ่นหอมชื่นใจ ปัจจัยที่จำเป็น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมน้ำฝน ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตรต่อปี และไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิลิตร นานเกิน 3 เดือนสภาพภูมิอากาศ ควรเป็นพื้นที่ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียสแสงแดด ควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน แสงแดดสาดส่องสม่ำเสมอตลอดปีจึงจะเติบโตดีลม ควรมีลดพัดอ่อนๆ แต่สม่ำเสมอดิน ไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด เป็นดินอะไรก็ได้ที่มีปุ๋ยเพียงพอ และความชื้นพอเหมาะแหล่งน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ผลผลิตมะพร้าวอ่อนตลอดปี ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลมะพร้าวมีทิ้งช่วงข้อควรจำ ถ้าเป็นดินน้ำไหล ทรายมูล ที่เกิดจากน้ำพัดพามาสะสม เช่น ดินริมแม่น้ำ จะปลูกมะพร้าวได้ดีที่สุด ขั้นตอนการดำเนินงาน การปลูกในที่ลุ่ม พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง จำเป็นต้องยกร่องให้สูงกว่าระดับน้ำ ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร คันร่องกว้าง 5-8 เมตร ร่องลึก 10 เมตร กว้าง 1.5-2 เมตร ข้อควรจำ ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลุ่มมีน้ำขังการปลูกในที่ดอน ถ้าเป็นพื้นที่รกร้าง ต้องถางให้เตียน โค่นต้นไม้ และขุดออกให้หมด เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาต่อไปข้อควรจำ ไม่ควรปลูกในพื้นที่เป็นดินดาน หรือเป็นชั้นหินที่มีหน้าดินลึกน้อยกว่า 1 เมตร วิธีปลูก – การเตรียมหลุม ขุดหลุมขนาดกว้าง ลึก ยาวประมาณ 1 เมตร ล่วงหน้า 1-2 เดือน ก่อนปลูกแยกดินบนและดินล่างไว้คนละด้านของขอบหลุม ทิ้งไว้ 7 วัน ใช้เศษหญ้าหรือไม้รองก้นหลุม ใช้ดินบน 1 ส่วนผสมปุ๋ยคอก 7 ส่วนรองก้นหลุม แล้วใส่ดินล่างผสมกับปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 121- ต่อหลุมใส่ลงให้เต็มหลุมทิ้งไว้จนถึงฤดูฝน – การปลูก หลังจากฝนตกหนัก 2 ครั้ง ในช่วงฤดูฝนจึงเริ่มปลูก โดยขุดดินตรงกลางหลุมขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อมะพร้าววางลง จัดรากให้แผ่ตามธรรมชาติ เอาดินกลบเหยียบด้านข้างให้แบนกลบดินให้เสมอผิวของผลมะพร้าว ปักหลักกันลมโยก ในระยะแรกๆ ควรทำร่มบังแดดด้วย หมายเหตุ ระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูก คือ…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก อ้อยคั้นน้ำครบวงจร

    น้ำอ้อยเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไปว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์รสชาติหวานหอมอร่อยแก้กระหายได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในเขตที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว การจำหน่ายน้ำอ้อยจึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี พันธุ์ของอ้อยที่นิยมนำมาคั้นน้ำกันมากได้แก่ พันธุ์สิงคโปร์ พันธุ์สุพรรณบุรี50 พันธุ์สุพรรณบุรี72 พันธุ์เมอริซาร์ท ปัจจัยที่ใช้ในการปลูกอ้อยพันธุ์คั้นน้ำ สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง การคมนาคมสะดวก ห่างไกลจากแหล่งมลพิษควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว ร่วนปนทรายหรือดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางขึ้นไประดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-7.0สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 30-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีแหล่งน้ำเพียงพอ ลักษณะพันธุ์ พันธุ์สุพรรณบุรี 50 ใบสีเขียวเข้ม ลำมีขนาดใหญ่สีเขียวอมเหลือง ปล้องยาวเป็นรูปทรงกระบอกแตกกอ 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ 3-4 ครั้ง ทนทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือนผลผลิตน้ำอ้อย 4,600-5,200 ลิตรต่อไร่ ความหวาน 15-17 บริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกทั้งในสภาพที่ดอนและที่ลุ่ม พันธุ์สิงคโปร์ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิยมปลูกในอดีต ใบสีเขียวอ่อน ลำมีขนาดใหญ่สีเหลืองเข้ม ปล้องสั้นเป็นรูปข้ามต้มหรือป่องกลาง แตกกอ 3-4 ลำต่อกอ ไว้ตอไม่ได้ อ่อนแอต่อโรคลำต้นเน่าแดง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อย 2,100-2,800 ลิตรต่อไร่ ความหวาน 13-15 บริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกในสภาพที่ลุ่ม การเตรียมดิน การปลูกอ้อยในพื้นที่ต่างกันจะต้องเตรียมดินต่างกัน ดังนี้– ในสภาพที่ลุ่ม ต้องขุดเป็นร่องหรือยกร่อง โดยมีสันร่องกว้าง 5-6 เมตร ความยาวร่องตามขนาดพื้นที่ และให้มีคูน้ำรอบแปลงลึกประมาณ 1 เมตร– ในสภาพที่ดอน เป็นการปลูกในพื้นที่ราบ จึงควรมีการปรับระดับพื้นให้มีความลาดเอียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ กรณีถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบไถด้วยผานสาม 1 ครั้ง ลึก 30-50 เซนติเมตรตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผานเจ็ด 1-2 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษ ซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก การผลิต ผักปลอดภัยจากสารพิษ

    ผัก เป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมรับประทานกันมาก เนื่องจากให้คุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงาม ไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผักต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงในปริมาณที่มาก ทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยการนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์รวมกัน จึงเป็นทางเลือกสำหรับความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่หรือมีการตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ในประกาศกระทรวสาธารณสุขฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 17 มกราคม 2548 เรื่องอาหารที่มีสารพิษที่ตกค้าง ปัจจัยที่จำเป็น พื้นที่ปลูก พันธุ์ ปุ๋ย วัสดุป้องกันกำจัดศัตรูพืช (เช่น กับดัก กาวเหนียว กับดักแสงไฟ วัสดุคลุมดินสารชีวภัณฑ์์ สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ) โรงเรือนมุ้งตาข่าย ฯลฯ ขึ้นกับวิธีที่เลือกใช้ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การเลือกพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมควรเป็นพื้นที่ราบ สม่ำเสมอ ไม่มีน้ำท่วมขัง ระบายน้ำได้ดี ใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด และมีน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก 2. การเตรียมพันธุ์เลือกใช้พันธุ์ที่ต้านทานศัตรูพืชและปลอดเชื้อโรค กรณีที่ใช้เมล็ดพันธุ์ควรดำเนินการดังนี้2.1 คัดแยกเมล็ดที่เสียออก2.2 แช่เมล็ดในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 15-30 นาทีเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ และถ้ามีเมล็ดบางส่วนลอยขึ้นมาให้นำไปทิ้ง เนื่องจากเป็นเมล็ดที่ไม่ได้คุณภาพ 3. การเตรียมดินไถและพรวนดินให้ละเอียด โดยไถดะลึก 1 ครั้ง และตากดินไว้ไม่น้อยกว่า 7 วันและไถพรวนดินอีก 1 ครั้ง แล้วยกร่องตากดินประมาณ 7 วัน เพื่อกำจัดแมลงและเชื้อโรคที่อยู่ในดิน 4. การปรับปรุงดินแปลงปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ โดยคลุกเคล้าให้ทั่วแปลงเป็นเนื้อเดียวกันกับดิน และควรมีการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมโดยใช้ปูนขาวหรือปูนมาร์ลอัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแล้วคลุกเคล้ากับดิน 5. การปลูกและดูแลรักษาระยะปลูก ควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นเกินไป เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดีการใส่ปุ๋ย ธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้วในดิน แต่ธาตุไนโตรเจนและโพแตสเซียมจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจะต้องให้ปุ๋ยทั้งสองในระหว่างการเจริญเติบโตของผัก แต่อย่าให้ชิดโคนต้น โดยใส่ครั้งแรกหลังปลูกผักไปแล้ว 3 สัปดาห์ และครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ หรือเมื่อผักเริ่มออกดอกติดผล เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินกลบและรดน้ำการควบคุมวัชพืชการควบคุมวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี เช่น การคลุมดินโดยฟางข้าวหรือพลาสติกสีเทาเงินจะช่วยรักษาความชื้นในดิน และบังแสงสว่างทำให้เมล็ดวัชพืชโตช้า…