อาหาร ต้าน ต่อสู้ Covid19 โควิด19,  อาหารเพื่อสุขภาพ Cook Book

vitamin d วิตามินดี เสริม สร้าง ภูมิคุ้มกัน สุขภาพ สู้ โรค โควิด19 Covid19

มีการศึกษาหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าการ เสริมวิตามินดีช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ทางเดินหายใจเฉียบพลันลงประมาณ 12% ถึง 75% ซึ่งการศึกษาที่นำมาใช้ในการ วิเคราะห์รวมถึงการติดเชื้อในช่วงที่มีการระบาดของ H1N1 ในปี 2009 พบว่าการเสริมวิตามินดี ทำให้อาการลดลงและทำให้หายเร็วขึ้น โดยขนาดวิตามินดีที่ใช้มากกว่า 1000 IU19 แต่ประโยชน์ของวิตามินดีจะชัดเจนมากในผู้ป่วย ที่ขาดวิตามินดีหรือมีปริมาณวิตามินดีในเลือดต่ำกว่าปกติ

การเสริมสารอาหารหรือวิตามินในรูปแบบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขนาดสูงนั้น ควรทำในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าขาดสารอาหารนั้นๆเท่านั้น เพราะการได้รับสารอาหารหรือวิตามินมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ จึงควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญแต่การเสริมในรูปแบบของอาหารที่มีวิตามินแต่ละชนิดเด่นๆ สามารถทำได้ในระดับประชาชนและยังมีการศึกษาอีกว่าสารอาหารหลายชนิดที่มีในอาหารจะมีส่วนเสริมให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

นอกจากงานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินหายใจที่สามารถนำมาปรับใช้กับการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการทั่วโลกได้ออกมาให้คำแนะนำในการบริโภคอาหารบางประเภทในสัดส่วนที่มากขึ้น ได้แก่

  1. นมและผลิตภัณฑ์จากนม
    ในทางภูมิคุ้มกันวิทยาพบว่า ในน้ำนมมีสารที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น immunoglobulinlactoferrin, lactalbumin และ glycopeptidesเป็นต้น โดย lactoferrin มีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกันที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกันหลายชนิด เช่น lymphocytes และ macrophagesที่จะมีผลในการจดจำการติดเชื้อไวรัสนอกจากนั้นแล้ว lactoferrin ยังสามาถจับกับจุดที่ไวรัสผ่านเข้าเซลล์ ทำให้ไวรัสไม่สามารถผ่านเข้าเซลล์ได้ ส่วน α-lactalbumin อาจช่วยปรับการทำงานของแบคทีเรียดีในลำไส้ จึงมีผลช่วยให้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีChinese Centre for Disease Control and Prevention’s (CDC) ร่วมกับ National Institute for Nutrition and Health, the Chinese Medical Doctor Association ได้ระบุว่าปกติ การบริโภคนมของจีนนั้นอยู่ในปริมาณต่ำอยู่แล้วจึงแนะนำให้ มีการบริโภคน้ำนมประมาณ 300 กรัม/วัน หรือเทียบเท่ากับ 37.5 กรัมของนมผง หรือ ชีส 30 กรัม ปริมาณดังกล่าวน่าจะมีประโยชน์ในการช่วยปรับให้ภูมิคุ้มกันของ ร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น ในกรณีของหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร การบริโภคน้ำนมควรเพิ่มเป็น 500 กรัม หรือผลิตภัณฑ์นม 350 ถึง 500 กรัม ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีควรได้รับนมแม่จะดีที่สุด แต่หากไม่สามารถให้นมแม่ได้น้ำนมจากแหล่งอื่นก็สามารถใช้ได้ 21 อย่างไรก็ตามมีบางงานวิจัยพบว่านมมีสารก่อให้เกิดการแพ้ดังนั้นในผู้ที่แพ้ อาจเลือกรับประทานนมจากแหล่งอื่นได้
  2. อาหารที่มีโปรตีนสูง
    โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน การบริโภคอาหารโปรตีนคุณภาพดีเช่น ไข่ ปลา และเนื้อแดงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  3. อาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
    ผัก ผลไม้สด ผลไม้ตระกูลเบอร์รีกระเทียมและหัวหอม เป็นต้น อาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยวิตามินซี เอ และอี21 ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
    1. อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้มมะขามป้อม กีวี่ บร็อกโคลี สตอเบอร์รีกะหล่ำดาว เกรปฟรุต แคนตาลูป กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก
    2. อาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น ตับวัวมันหวาน ผักโขม แคร์รอต แคนตาลูป พริกมะม่วง ไข่ ถั่วดำ
    3. อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น เมล็ด-ทานตะวัน อัลมอนด์ เนยถั่ว ถั่วลิสง ผักโขม จมูกข้าว น้ำมันทานตะวัน น้ำมันคำฝอย มะเขือเทศ
  4. อาหารต้านการอักเสบ
    อาหารที่มีคุณค่าทางยาและอาหารสูง ที่เรียกว่า ซุปเปอร์ฟู้ด (superfood) เช่น ขมิ้นชันองุ่นดำและผลไม้ตระกูลเบอร์รี มะเขือเทศน้ำมันมะกอก ถั่ว ผักที่มีสีเขียวเข้ม มันหวาน ส้มชาเขียว ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี น้ำผึ้ง และปลา21มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  5. อาหารที่มีวิตามินดีสูง
    การศึกษาหลายชิ้นพบว่า การเสริมวิตามินดี สามารถลดความเสี่ยงของไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้หลักฐานที่สนับสนุนว่าวิตามินดีน่าจะมีส่วนช่วยนสถานการณ์โควิด-19 คือ การเกิดการระบาดในช่วงหน้าหนาว เป็นช่วงที่ระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ อัตราการตายของการติดเชื้อในทางเดินหายใจสัมพันธ์กับปริมาณวิตามินดีในร่างกาย20การกินอาหารที่มีวิตามินดีอาจช่วยได้ เช่น ทูน่าปลา เห็ด นม (รวมถึงนมอื่นๆ ที่เสริมวิตามินดี)ไข่ โยเกิร์ต ธัญพืชต่างๆ
  6. อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง
    อาหารที่มีสังกะสีสูง เช่น เนื้อวัวย่างขนมพายเนื้อ เนื้อหมูสันติดกระดูก ไก่ ถั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดฟักทอง โยเกิร์ตช่วยลดความรุนแรงการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  7. อาหารปรับอารมณ์
    ซอสแอปเปิ้ล ขนมปังโฮลวีท กรีกโยเกิร์ตใส่ขิงและข้าวโอ๊ต ชาขิง ชาเปปเปอร์มินท์ช่วยคลายกังวลจากความตึงเครียด ทำให้อารมณ์ดี
  8. อาหารที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศ
    เครื่องเทศหลายชนิดมีงานวิจัยช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น พริกไทย มีการศึกษาในอิตาลีปี 2019 พบว่า การบริโภคอาหารที่มีพริกไทยสัปดาห์ละ 4 วัน จะช่วยลดอัตราการตายส่วนการศึกษาในจีน ปี 2015 พบว่า การบริโภคพริกมีความสัมพันธ์กับการลดอัตราตายผู้ที่บริโภคเครื่องเทศเกือบทุกวันจะมีอัตราการตายลดลง 14% เมื่อเทียบกับผู้ที่บริโภคเครื่องเทศน้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์26 ซึ่งจากการศึกษาเหล่านี้ดำเนินการใช้เวลาหลายปี จึงมีความน่าเชื่อถือสูง ดังนั้นการเพิ่มเครื่องเทศในอาหารจึงจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
  9. อาหารที่มีผลต่อจุลินทรีย์ดีในลำไส้(โปรไบโอติกส์)
    ฐานข้อมูล Cochrane ในปี 2015 พบว่าการบริโภคอาหารที่มีโปรไบโอติกส์ ช่วยลดอัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญประโยชน์ของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ในด้านภูมิคุ้มกันนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า จุลินทรีย์-โปรไบโอติกส์ สามารถกระตุ้นเซลล์ macrophage และเพิ่มการสร้าง IgA ที่ระบบทางเดินอาหารส่งผลต่อการหลั่ง cytokines ชนิดต่างๆ ได้ผ่านระบบภูมิคุ้มกันที่เยื่อเมือกหรือเยื่อบุ( mucosal immune response) นอกจากนี้จุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ยังส่งผลต่อการทำงานของregulatory T cells ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาหารที่มีโปรไบโอ-ติกส์สูง ได้แก่ ข้าวหมาก เทมเป้ ผักดอง ทั้งนี้ควรเลือกอาหารที่ดองเอง

    นอกเหนือจากการบริโภคอาหารที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เอกสารฉบับนี้ยังได้รวบรวมสมุนไพรที่มีหลักฐานทางวิชาการในการเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบและต้านไวรัส (ไม่เพียงเฉพาะไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019) จำนวน37 ชนิด เพื่อพิจารณาเลือกใช้เป็นส่วนผสมหลักในอาหารที่บริโภคทุกวัน สมุนไพรเหล่านี้ควรบริโภคด้วยความหลากหลาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร ในสมุนไพรบางรายการยังไม่มีรายงานความปลอดภัย ดังนั้นควรบริโภคในรูปแบบของอาหาร และหลากหลายจะปลอดภัยที่สุด