smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

อุปกรณ์ I IoT แผงวงจร LED ไฟสัญญาณ WARNING LIGHT FLASHER 20 LED ไฟกระพริบ ไฟแสดงผล ไฟเกมส์

วงจรไฟกระพริบเตือนชุดนี้ เป็นวงจรไฟกระพริบชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นสัญญาณเตือนตาม ที่ตางๆ ที่ต้องการหรือจะนําไปประดับ เพื่อความสวยงามก็ได้ ลักษณะในการกระพริบนั้น เรา สามารถที่จะปรับเวลาในการกระพริบในขณะติดและขณะดับได้โดยอิสระ นอกจากนั้นยัง สามารถเปลี่ยนลักษณะการกระพริบได้ 2 รูปแบบ

ข้อมูลทางด้านเทคนิค – ใช้แหล่งจ่ายไฟขนาด 110 โวลทเอซี หรือ 220 โวลทเอซี – มีเกือกมาไว้สําหรับปรับความเร็วในการกระพริบได้ – เลือกลักษณะการกระพริบได้ 2 รูปแบบ – ขนาดแผนวงจรพิมพ: 3.34 x 3.30 นิ้ว การทํางานของวงจร

วงจรนี้จะมีวงจรหลักๆ อยู่ด้วยกัน 3 สวน คือ สวนจายไฟ, สวนควบคุมการกระพริบ และสวนขับตัว LED

โดยเมื่อเราเริ่มจายไฟกระแสสลับขนาด 220 โวลท เขาวงจรที่จุด 220VAC ไฟกระแส สลับจะถูกเปลี่ยนเป็นไฟกระแสตรง โดยไดโอด D1-D5 เมื่อทําการเปลี่ยนเป็นไฟกระแสตรง เรียบร้อยแล้ว มันจะถูกแยกออกเป็น 2 ทาง โดยทางหนึ่งจะไปเขาสวนควบคุมการกระพริบ ไฟกระแสตรงนี้จะไหลมาจากไดโอด D5 ผ่าน R4 และ R5 จากนั้นจะถูกลดระดับแรงดันลง ให้เหลือประมาณ 12 โวลท์ โดยใช้ซีเนอร์ไดโอด ZD1 แล้วจึงจายให้สวนควบคุมการกระพริบ ต่อไป ส่วนไฟกระแสตรงอีกส่วนหนึ่งจะส่งออกมาทางวงจรบริดจไดโอด DI-D4 ไปเขาสวน ขับตัว LED ต่อไป

การทํางานของส่วนควบคุมการกระพริบ จะเริ่มจากไอซี IC/1 จะถูกต่อในลักษณะ วงจรกําเนิดความถี่ โดยมี R9,C3,D6,D7,VR1 และ VR2 เป็นตัวกําหนดความถี่ที่ผลิตออกมา ซึ่งความถี่นี้สามารถปรับการทํางานในช่วงออนและออฟได้ โดย VRH จะเป็นตัวปรับในช่วง ออฟและ VR2 จะเป็นปรับในช่วงออน

ความถี่ที่ได้จากไอซี IC/1 จะถูกส่งไปยังสวนขับตัว LED โดยมี IC/2, ICI/3, TRI และ TR2 โดย ICU2 และ IC/3 จะทํางานสลับกันตามความถี่ที่เข้ามา ทําให้ TRI และ TR2 ทํางานสลับกันตามไปด้วย LED ในชุดของ TRI และ TR2 ก็จะติดตามการทํางานของ ทรานซิสเตอร์ทั้งสองตัว สําหรับสวิตซที่ตออยู่ตรงขาคอลเล็กเตอร์ของทรานซิสเตอร์ทั้ง สองตัว จะเป็นตัวปรับลักษณะการกระพริบของ LED

การประกอบวงจร

รูปการลงอุปกรณ์และการต่ออุปกรณ์ภายนอกแสดงไว้ในรูปที่ 2 ในการประกอบวงจร ควรจะเริ่มจากอุปกรณที่มีความสูงที่นอยที่สุดก่อน เพื่อความสวยงามและการประกอบที่งาย โดยให้เริ่มจากไดโอดตามด้วยตัวต้านทานและไล่ความสูงไปเรื่อยๆ สําหรับอุปกรณ์ที่มีขั้ว ตางๆ เชน ไดโอด, คาปาซิสเตอรแบบอิเล็กทรอไลตและทรานซิสเตอร เป็นตน ควรใช้ความ ระมัดระวังในการประกอบวงจร ก่อนการใส่อุปกรณ์เหล่านี้จะต้องให้ขั้วที่แผ่นวงจรพิมพกับ ตัวอุปกรณให้ตรงกัน เพราะถ้าหากใส่กลับขั้วแล้ว อาจจะทําให้อุปกรณหรือวงจรเสียหายได้ วิธีการดูขั้วและการใส่อุปกรณ์นั้นได้แสดงไว้ในรูปที่ 1 แล้ว ในการบัดกรีให้ใช้หัวแรงขนาด ไม่เกิน 40 วัตต์ และใช้ตะกั่วบัดกรีที่มีอัตราส่วนของดีบุกและตะกั่วอยู่ระหว่าง 60/40 รวมทั้ง จะต้องมีน้ํายาประสานอยู่ภายในตะกั่วด้วย หลังจากที่ได้ใส่อุปกรณ์และบัดกรีเรียบร้อยแล้ว ให้ทําการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจแกตัวเราเอง แต่ถ้าเกิด ใส่อุปกรณผิดตําแหน่ง ควรใช้ที่ดูดตะกั่วหรือลวดซับตะกั่ว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจ จะเกิดกับลายวงจรพิมพ์ได้

การทดสอบ

เนื่องมาจากว่าวงจรนี้ใช้ไฟกระแสสลับ 220 โวลท ดังนั้นในขณะทดสอบ ควรจะใช้ ความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟดูด โดยในการปรับแต่งวงจรทุกครั้ง จะต้องทํา การถอดปลักออกทุกครั้ง

ก่อนทําการจ่ายไฟ ให้ทําการเลื่อนสวิตซ์ไปที่ตําแหน่งที่ “1” แล้วทําการปรับเกือกมาทั้ง สองตัวไปทางซ้ายมือสุด จากนั้นให้ทําการจายไฟกระแสสลับ ขนาด 220 โวลทเขาที่วงจร จะ สังเกตเห็นว่า LED จะกระพริบสลับกันไปมาเป็นจังหวะ จากนั้นให้ถอดปลักออก แล้วปรับ VRI มาทางขวามือสุด เสียบปลักใหม่อีกครั้ง จะสังเกตเห็นว่า ช่วงเวลาในการดับของ LED จะนานขึ้น แตชวงเวลาในการติดจะเท่าเดิม ถอดปลักออก แล้วปรับ VRH กลับมาทางซ้ายมือ สุด สวน VR2 ให้ปรับมาทางขวามือสุดแทน เสียบปลัก จะสังเกตเห็นว่า ช่วงเวลาในการดับ ของ LED จะเร็วขึ้น แตชวงเวลาในการติดจะนานขึ้นแทน

เมื่อทดลองได้ตามนี้ ก็ให้ทําการเลื่อนสวิตซมาทางตําแหน่งที่ “” พร้อมกับปรับเกือกมา ทั้งสองตัวมาทางด้านซ้ายมือสุด ทําการเสียบปลักไฟ ตัว LED จะกระพริบในลักษณะติดและ ดับพร้อมๆ กัน