smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

เทคโนโลยี smart farm IoT ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วางระบบ คู่มือ การใช้

iot | Zoondia

Internet of Things (IoT) ตามนิยามของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) หมายถึง โครงข่ายสื่อสารที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ อาคารสิ่งก่อสร้าง หรือวัตถุอื่น โดยอาศัยการฝังระบบอิเล็กทรอนิกส์ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์เซนเซอร์ และส่วนเชื่อมต่อโครงข่าย ที่จะช่วยให้อุปกรณ์และวัตถุดังกล่าวสามารถเก็บ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ (ITU, 2012) ในการประยุกต์ใช้งาน คำว่า “Things” ในInternet of Things นั้นสามารถมีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง ตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสารหลากหลายชนิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว ไปจนถึง ระบบอากาศยาน แผงโซล่าเซลล์วาล์วจ่ายน้ำและแผงวงจรขนาดเล็กที่ฝังลงในปศุสัตว์ ฯลฯ

หากจินตนาการไปถึงอนาคตอันใกล้ผู้คนจำนวนมากอาจตื่นขึ้นจากการปลุกของแรงสั่นจากอุปกรณ์สายรัดข้อมือที่สามารถบันทึกข้อมูลการนอนของผู้ใช้งาน เช่น วงจรการนอน ระยะเวลาที่หลับลึก เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานได้วิเคราะห์ประสิทธิภาพการนอนของตน อุปกรณ์ดังกล่าว ยังสามารถเก็บข้อมูลการออกกำลังกาย ความดันโลหิต จังหวะการเต้นของตัวใจ พร้อมทั้งข้อมูลการออกกำลังกายเพื่อใช้ในการสร้างฐานข้อมูลสุขภาพที่สามารถเรียกค้นโดยทีมงานแพทย์ประจำตัว ขณะที่กลับจากการออกกำลังกายตอนเช้า เครื่องอาบน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ และหม้อหุงข้าวอาจจะเริ่มทำงานเพื่อต้อนรับการกลับมาของเจ้าของบ้าน ในขณะเดียวกันผู้คนบางส่วนในท้องถนนอาจกำลังไปทำงานด้วยการโดยสารรถยนต์ที่ขับขี่ด้วยตนเอง (Self-Driving Vehicles) รถยนต์ดังกล่าวเคลื่อนที่ผ่านบ้านเรือนที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถปรับตามทิศทางของแสงแดดไว้บนหลังคา โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ใช้งาน ส่วนหนึ่งจะจ่ายเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับเจ้าของบ้านผู้ติดตั้ง โดยอาศัยกลไก อุปสงค์-อุปทาน ของพลังงานไฟฟ้า ณ ขณะนั้น ที่จัดการโดยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Power Grid) ในอนาคตประเทศไทยอาจยังคงเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรมรายใหญ่ของโลก ด้วยการสนับสนุนของเทคโนโลยีเกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart Farming) ที่สามารถจ่ายน้ำ ให้ปุ๋ย และปรับม่านบังแสงแดดอัตโนมัติโดยอาศัยการทำงานร่วมกันของเซนเซอร์วัดความชื้นและแสงแดด ผ่านการควบคุมของระบบฐานข้อมูลที่เก็บสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตรของพืชหลากหลายชนิด และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่ได้รับจากระบบอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ตัวอย่างของสถานการณ์ดังกล่าวอาจฟังดูคล้ายกับนิยายวิทยาศาสตร์ที่ไกลตัวแต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงในหลายประเทศของโลกและกำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี IoT อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเทคโนโลยี IoT นั้นยังอยู่ในขั้นแรกเริ่มการพัฒนา และมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตสูงมากในอนาคต มีการประมาณการจากบริษัท Cisco Systems ว่า ในปี2016 มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นจำนวนทั้งสิ้น 12.4 พันล้านอุปกรณ์ค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 พันล้านอุปกรณ์ ในปี 2020 ซึ่งจะเป็นจำนวนที่สูงกว่าจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายเท่าตัว (Cisco, 2013) การเจริญเติบโตดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้มีการสร้างนวัตกรรมและการบริการรูปแบบใหม่ รวมถึงช่วยให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างหลากหลายในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งจะช่วยสร้างเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในอนาคต อย่างไรก็ตาม การขยายตัวดังกล่าวต้องการการรองรับของโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมและทรัพยากรทางโครงข่ายที่เพียงพอและการบริหารจัดการที่มีความยืดหยุ่นสูง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีโอกาสจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน ซึ่งถ้าขาดการเตรียมการและวางแผนเพื่อให้มีกระบวนการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างสภาวะแวดล้อม(Ecosystem) ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เทคโนโลยี IoT พัฒนาได้อย่างรวดเร็วและเชื่อมต่อกันอย่างทั่วถึงแล้ว อาจส่งผลให้การเจริญเติบโตอยู่ในรูปแบบไร้ทิศทาง เกิดความความซ้ำซ้อน ความไม่เชื่อมโยงและขาดแคลนทรัพยากรคลื่นความถี่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในภายหลังแนวคิดการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในกรอบระยะเวลา 5 และ 10 ปี ตามลำดับ หัวข้อที่ 2 ในบทความนี้กล่าวถึงรูปแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี IoT ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในประเทศไทย หัวข้อที่ 3กล่าวถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเจริญเติบโตของเทคโนโลยี IoTในขณะที่ข้อมูลทางเทคนิคและมาตรฐานเทคโนโลยี IoT ที่สำคัญจะถูกรวบรวมไว้ใน หัวข้อที่ 4 และหัวข้อที่ 5 ซึ่งเป็นหัวข้อสุดท้ายจะกล่าวถึงปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลพร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง