smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

เทคโนโลยี smart farm IoT การประยุกต์ใช้งาน อุตสาหกรรมและการผลิต วาง ระบบ คู่มือ การใช้

การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี IoT ในช่วงแรกจะเป็นการพัฒนาต่อยอดระบบที่ทำงานเป็นอิสระ(Stand Alone) ไม่เชื่อมกับระบบอื่น หรือ เป็นระบบโครงข่ายภายในที่ไม่ต่อเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ตผู้เชี่ยวชาญเรียกระบบเหล่านี้ว่า Intranet of Things อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายในรูปแบบใหม่ส่งผลให้ระบบ วัตถุ และอุปกรณ์ทั้งหลายที่เคยทำงานแยกกันสามารถเชื่อมต่อถึงกันสื่อสารกัน และสร้างช่องทางให้มนุษย์สามารถเข้าถึง ควบคุม เก็บข้อมูล และใช้งานได้ โดยรูปแบบการสื่อสารของแนวคิด IoT นั้น เป็นผลพวงของการพัฒนาต่อยอดระบบอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเอื้อให้เกิดการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบใหม่ในประเทศไทย ดังต่อไปนี้

อุตสาหกรรมและการผลิต

ระบบควบคุมเครื่องจักรกลการผลิตโดยอัตโนมัติและการใช้หุ่นยนต์เป็นเครื่องมืออันสำคัญของวงการอุตสาหกรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน หัวใจของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ในอุตสาหกรรมคือการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนจากการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) โดยใช้ข้อมูลและผลของการวัดที่เก็บผ่านโครงข่ายของเซนเซอร์ร่วมกับการทำงานของระบบการตัดสินใจโดยอัตโนมัติการทำงานในลักษณะที่เครื่องจักร หุ่นยนต์ และเซนเซอร์ทุกตัวสามารถสื่อสารกันได้จะเพิ่มความแม่นยำและช่วยให้ระบบทำงานได้สอดคล้องกันอย่างเป็นอัตโนมัติ

ผลการสำรวจและการวิจัยของ World Economic Forum พบว่า 79% ของผู้ถูกสำรวจจากวงการอุตสาหกรรมทั่วโลกเชื่อมั่นว่าภายในระยะเวลา 5 ปี เทคโนโลยี IoT จะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ (Disruptive Factor) ต่อการประกอบการอุตสาหกรรม(World Economic Forum, 2015a) โดยในการประชุม IoT World Forum มีการกล่าวถึงการปฏิวัติ
อุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0)และมีการรายงานตัวเลขการลงทุนในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม (Industrial Internet) ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2014 ทั้งสิ้นจำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(Cisco System, 2014) ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นกันในฐานะที่เป็นฐานการผลิตใหญ่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์

ตัวอย่างของระบบที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมแสดงในภาพที่ 1 ตามแนวคิดของบริษัท National Instrument ซึ่งระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) จะสามารถความคุมอัตราการผลิตให้สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานของตลาดซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมของผู้บริโภค และทรัพยากรที่ได้รับจากสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ระบบส่งน้ำอัจฉริยะ ฯลฯ

ภาพที่ 1 ตัวอย่างของระบบอุตสาหกรรมที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อการควบคุมระบบอุตสาหกรรมให้ทำงานสอดคล้องกับระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และอุปสงค์-อุปทานของตลาดปรับปรุงจำก :เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง Access to Enabling Technologies for Innovationโดย Eloisa Acha และ Rudi Ngnepi บริษัท National Instruments ปีลิขสิทธิ์ 2015