smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

เทคโนโลยี เกษตร การพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องอบข้าวฮางแบบรางเขย่า วางระบบ smart farm IoT เกษตรอินทรีย์ ออร์แกนิค organic

การพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องอบข้าวฮางแบบรางเขย่า(The Prototype Development of A Vibrated Bed Dryer For Parboiled paddy)

การทำข้าวฮางเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยภาคอีสานเพื่อให้เก็บข้าวเปลือกไว้ได้เป็นระยะเวลานาน สามารถทำได้ทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ข้าวฮางถือเป็นข้าวกล้องชนิดหนึ่ง แต่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า หอมและนุ่มกว่า เนื่องจากเป็นข้าวเปลือกที่นึ่งสุกแล้ว ส่วนประกอบของข้าวยังอยู่ 100% มีเพียงเปลือกข้าวที่สีออกไป ในการนึ่งข้าวเปลือก สีเหลืองของเปลือกข้าว จะซึมเข้าไปในเมล็ดข้าวทำให้ข้าวฮางมีสีเหลืองทองบางพื้นที่จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ข้าวหอมทอง” ส่วนกรรมวิธีในการผลิตข้าวฮางนั้นเริ่มต้นจาก การแช่ข้าว การนึ่งข้าว การตากข้าว การกะเทาะเปลือกการลดความชื้นข้าวก่อนบรรจุ และการบรรจุเตรียมจำหน่าย เพื่อให้ข้าวฮางแห้งสนิท ปลอดภัย ไม่เกิดเชื้อราในถุง และเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวสินค้าของผู้บริโภค ผู้พัฒนาจึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบเครื่องอบข้าวฮางอินทรีย์แบบรางเขย่า พร้อมกับการตรวจสอบความชื้นก่อนการบรรจุถุง โดยสามารถอบได้ครั้งละประมาณ250 – 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมง (ข้าวเปลือก) และมีอัตราการสิ้นเปลืองแก๊สประมาณ 1.26 – 1.60 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่อง

 •   โครงเครื่องทำจากเหล็กกล่องขนาด 50x50 mm.เชื่อมประกอบชิ้นงาน มีขนาด ก x ส x ย เท่ากับ 0.70 x 1.05 x3.90 เมตร และมีล้อเหล็กขนาด 6 นิ้วแบบหมุนรอบทิศทาง
 •   ชุดรางเขย่าและฝาครอบราง เป็นแบบลูกเบี้ยวมีระยะชัก50 mm. ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ ขนาด 1 แรงม้า 220 โวลต์
 •   ชุดความร้อนเป็นแบบหัวอินฟราเรดที่ใช้แก๊สหุงต้ม(LPG)เป็นเชื้อเพลิง จำนวน 2 หัว
 •   ชุดกระพ้อลำเลียงข้าว ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ ขนาด 1/2แรงม้า 220 โวลต์ ใช้ลูกกระพ้อขนาด 50 mm. กระพ้อมีความสูง3.60 m. ความเร็วของสายพานกระพ้อมีค่า 6.75 m/min
 •   ถังบรรจุข้าวส่วนกระพ้อสามารถบรรจุข้าวเปลือกได้ประมาณ 50 - 60 Kg
 •   รางส่งข้าวทำจากเหล็กกล่อง ขนาด 3 นิ้ว ภายในปูด้วยแผ่นสเตนเลส
 •   ชุดพัดลมทำความสะอาด ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ ขนาด1/2 แรงม้า 220 โวลต์

ราคาเริ่มต้นที่ 150,000 บาท/เครื่องพัฒนา ภายใต้ โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบทประจำปีงบประมาณ 2552

พัฒนาโดย : นายพัฒนา พึ่งพันธุ์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000