อาชีพ ทำกิน รายได้

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก กระชายดำ

    กระชายดำเป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตามบริเวณป่าดิบร้อนชื้น แหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปคือ เขตปลูกอำเภอนาแห้วอำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ปัจจุบันปลูกมากในเขตจังหวัดเลย เป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูงมากจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งอื่นๆ เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เช่นเดียวกับขิงและขมิ้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora ลักษณะทางพฤษศาสตร์ กระชายดำแตกต่างจากกระชายทั่วไป (ที่ใช้เป็นเครื่องแกง) คือ กระชายทั่วไปใช้ส่วนที่เป็นราก(tuber) ซึ่งงอกออกมาจากเหง้า (ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน) มีกาบใบและใบซ้อนโผล่ขึ้นอยู่เหนือดินส่วนกระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว ลักษณะคล้ายขิงหรือขมิ้นแต่มีขนาดเล็กกว่า ใบใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากระชายทั่วไป ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตรยาว 30-35 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยกาบใบมีสีแดงจางๆ และหนาอวบ กำเนิดมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยง ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วงเกสรสีเหลือง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน หัวมีสีเข้มแตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท (ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความแตกต่างของสีขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อายุ หรือพันธุกรรม) สีของหัวเมื่อนำไปดองสุราจะถูกฟอกออกมา พันธุ์ ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่หากจำแนกตามลักษณะของสีของเนื้อหัว พอจะแยกได้ 3 สายพันธุ์ คือ– สายพันธุ์ที่มีเนื้อหัวสีดำ– สีม่วงเข้ม– สีม่วงอ่อนหรือสีน้ำตาล ส่วนใหญ่แล้ว จะพบกระชายที่มีสีม่วงเข้มและสีม่วงอ่อน ส่วนกระชายที่มีสีดำสนิทจะมีลักษณะหัวค่อนข้างเล็ก ชาวเขาเรียกว่า กระชายลิง ซึ่งมีไม่มากนักจัดว่าเป็นกระชายที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด แหล่งปลูกที่เหมาะสม เนื่องจากกระชายดำเป็นพืชดั้งเดิมของชาวเขา จึงเชื่อกันว่ากระชายดำที่ดี มีคุณภาพ จะต้องปลูกบนพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร เกษตรกรจึงนิยมปลูกกระชายดำระหว่างแถวไม้ยืนต้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูล ยืนยันว่าปลูกกลางแจ้งกับปลูกในที่ร่มรำไรมีผลแตกต่างกันอย่างไร ทั้งในด้านคุณภาพและการเจริญเติบโต การปลูก การเตรียมพันธุ์ปลูกโดยการใช้หัวแก่จัดมีอายุประมาณ 11-12 เดือน ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนานประมาณ 1-3 เดือน ก่อนเก็บรักษาควรจุ่มหัวพันธุ์ในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา โดยใช้ไดโฟลาแทน 80 หรือ แมนเซ็ทดี ผสมน้ำอัตรา 2-4 ช้อนแกง/น้ำ 20…

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูก ปูเล่ เพื่อการค้า

    ปูเล่ เป็นพืชตระกูลกะหล่ำที่ปลูกกันมากทางภาคใต้ของประเทศไทยมานานแล้ว นิยมปลูกในกระถางหรือภาชนะอื่นๆ มีอายุยืนไม่ต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งต่างจากผักทั่วไป มีลักษณะเด่น คือ มีแขนงขึ้นตามลำต้นสามารถนำไปชำปลูกขยายพันธุ์ต่อไปได้ และเนื่องจากปูเล่เป็นพืชที่สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้ จึงสามารถควบคุมการใช้สารเคมีเพื่อเป็นผักปลอดสารพิษที่บริโภคได้อย่างปลอดภัย หากมีการบำรุงรักษาที่ดีจะทำให้ปูเล่เป็นทั้งพืชที่ใช้บริโภค และเป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่งบ้านได้ ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ 1. พันธุ์ปูเล่2. สถานที่ หรือแปลงดินสำหรับการเพาะปลูกแต่ถ้าปลูกในกระถางจะเหมาะกว่า3. ดินที่มีปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักผสมกับดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ดินที่มีปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักผสมกับดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี2. กดดินรอบโคนให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น วางไว้ที่แจ้ง เนื่องจากปูเล่เป็นพืชที่ชอบแดด3. เติมดินผสม เพื่อกลบโคนต้นเป็นระยะทุก 2 อาทิตย์ การป้องกัน กำจัด ถ้าพบแมลงศัตรูพืชให้ใช้มือทำลายก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ผลผลิต การเก็บ การนำใบไปบริโภค เมื่อต้นปูเล่มีอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป ผู้ปลูกสามารถเก็บผักปูเล่ได้โดยเด็ดใบล่างขึ้นไปเรื่อยๆ ควรเหลือใบบนไว้กับต้นบ้างเพื่อให้ใบส่วนที่เหลือสามารถสังเคราะห์แสงเพื่อการเจริญเติบโต ตลาด และผลตอบแทน ต้นปูเล่ นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้ว ด้วยลักษณะและรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจึงทำให้ต้นปูเล่สามารถเป็นต้นไม้ประดับไว้ตามบ้านได้เช่นกัน ตลาดในปัจจุบันปูเล่นับว่าเป็นพืชชนิดใหม่ที่ปลอดภัยจากสารพิษ และสามารถปลูกเองได้ในครัวเรือน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีผู้ปลูกเพื่อตัดใบในเชิงการค้า นับว่าเป็นตลาดใหม่ของผักปลอดสารพิษ สามารถทำการตกลงด้านการตลาดล่วงหน้ากับซูเปอร์มาร์เก็ตและจัดการให้มีภาชนะบรรจุให้เหมาะสมกับสภาพของผลผลิต รวมถึงการกำหนดราคาในการขายได้จากผู้ผลิต ทั้งนี้ ต้นทุนและผลตอบแทนขึ้นกับปริมาณการผลิต และความต้องการของตลาด

  • อาชีพ ทำกิน รายได้,  อาชีพ พอเพียง,  เกษตร เศรษฐกิจ พอเพียง การปลูก

    อาชีพ เกษตร พอเพียง การปลูกกล้วยไข่

    การปลูกกล้วยไข่ กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญ คือ จีนและฮ่องกง กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิต คือ การปนเปื้อนของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้น กระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม แหล่งปลูกที่เหมาะสม สภาพพื้นที่– พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง– ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร– มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน– การคมนาคมสะดวก ลักษณะดิน– ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย– มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี– ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร– ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0 สภาพภูมิอากาศ– อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส– ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี– ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ– มีแสงแดดจัด แหล่งน้ำ– มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก– เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0 21 พันธุ์กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อคโกแลต ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก เนื้อมีสีเหลือง รสชาติหวาน2. กล้วยไข่พระตะบอง ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาติจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร การปลูก การเตรียมดิน– วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก– ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช– คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงฤดูปลูก– ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน วิธีการปลูก – ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี– เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร– รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา…