• smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ชมพู่ การเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต

    สภาพแวดล้อม ความเหมาะสม ข้อจำกัด 1.สภาพภูมิอากาศ สามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพพื้นที่ – 2. สภาพพื้นที่ – สภาพความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5 – 6.5 – 3.สภาพดิน – สภาพดินร่วนและดินร่วนเหนียว ความอุดมสมบูรณ์สูง ดีที่สุดต้องเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำใหม่ที่แม่น้ำลำคลองพัดมาทับถมทุกปี เป็นดินใหม่อายุน้อย มีอินทรียวัตถุสูง หน้าดินลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร – 4. สภาพน้ำ – ปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอ – แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและแหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตัดแต่งช่อผลตั้งแต่เริ่มติดผล โดยไว้ผลประมาณ 3 – 4 ผลต่อช่อ เพื่อลดการใช้อาหารสะสมมากเกินไปทาาให้ผลมีขนาดเล็ก ตลาดไม่ต้องการ และการไว้ผลมากเกินใบอาจส่งผลต่อการออกดอกในครั้งต่อไปน้อยลง ควรทาาการห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้เข้าเจาะทาาลายหากห่อช้ากว่าระยะดอกบานจะทาา ให้เกิดภาวะเสี่ยงจากแมลงวันผลไม้เข้าเจาะทาาลาย เพราะระยะดอกบาน – ผลแก่ เพียง 45 วันเท่านั้น ควรงดการให้น้ำช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 3 – 5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินถ้าดินเหนียวควรงดการให้น้ำนานกว่านี้อาจเป็น 5 – 7 วัน การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยวหลังจากชมพู่อายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว คือ มีอายุวัน ผลเต่งอวบ สีซีด ในบางพันธุ์มีสีขาว บางพันธุ์มีสีแดงหรือชมพู ผิวเป็นมันเงา มีความหวานสูง ควรทาาการเก็บ หากทิ้งไว้เกินอายุการเก็บเกี่ยวจะทำให้ผลชมพู่แตกหรือร่วงเสียหายได้ แหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมกรมส่งเสริมการเกษตร.2547.คู่มือพืชเศรษฐกิจ.กรุงเทพฯสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.2555. 52 สัปดาห์รู้แล้วรวย.กรุงเทพฯ

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ชมพู่ ขั้นตอน การปลูก การดูแล รักษา

    เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาชมพู การเตรียมการก่อนปลูกการเตรียมดินแบบยกร่อง ยกร่องกว้างประมาณ 3 เมตร ร่องนำ กว้าง 1 – 1.50 เมตร มีแนวชายร่องข้างละ 0.50 เซนติเมตร ควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินซึ่งเป็นดินล่างลงไปอยู่ด้านล่าง และดินบน ซึ่งถูกทับอยู่กลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม ช่วงพลิกดินสามารถทำการปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินได้เลย ระยะปลูกห่างกันต้นละ 4 เมตรแบบไม่ยกร่อง ควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดินและใส่ปุ๋ยคอก ระยะปลูก4 x 4 เมตร หรือ 6 x 6 เมตร แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ควรปลูกระยะ 6 x 6 เมตร การเตรียมพันธุ์ใช้ต้นพันธุ์ชมพู่ที่ได้จาการตอนกิ่ง หรือปักชำ สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี พันธุ์ที่นิยมได้แก่ ทับทิมจันทร์ เพชรสุวรรณ เพชรสายรุ้ง เพชรสามพราน เพชรชมพูพล เป็นต้น การปลูก2.1 ใช้ต้นพันธุ์ชมพู่ที่ได้จากการตอนกิ่ง หรือปักชำ2.2 ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน2.3 ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร2.4 ผสมดินปุ๋ยคอก จำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต จำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม2.5 ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย2.6 ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)2.7 ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก2.8 กลบดินที่เหลือลงในหลุม2.9 กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น2.10 ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก2.11 หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง2.12 รดน้ำให้ชุ่ม2.13 ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดดด้วยทางมะพร้าวหรือตาข่ายพรางแสง การดูแลรักษา3.1 การใส่ปุ๋ย ปริมาณการใช้ปุ๋ย ครั้งละประมาณ1 – 2 กิโลกรัมต่อต้น สำหรับต้นชมพู่อายุ 8 ปี และเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามอายุและทรงพุ่ม– บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15– สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร…

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ

    เกษตร smart farm thailand ผลไม้ ชมพู่ ปฎิทิน ขั้นตอน การปลูก การดูแล รักษา

    การเตรียมดิน แบบยกร่อง ยกร่องกว้างประมาณ 3 เมตร ร่องน้ำกว้าง1 – 1.50 เมตร มีแนวชายร่องข้างละ 0.50 เซนติเมตรควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินซึ่งเป็นดินล่างลงไปอยู่ด้านล่างและดินบนซึ่งถูกทับอยู่กลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม ช่วงพลิกดินสามารถทำการปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินได้เลยระยะปลูกห่างกันต้นละ 4 เมตรแบบไม่ยกร่อง ควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดินและใส่ปุ๋ยคอก ระยะปลูก 4 x 4 เมตร หรือ 6 x 6 เมตร การเตรียมพันธุ์ ใช้ต้นพันธุ์ชมพู่ที่ได้จากการตอนกิ่ง หรือปักชำ สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี พันธุ์ที่นิยม ได้แก่ ทูลเกล้า ทับทิมจันทร์ เพชรชมพูพล เพชรสายรุ้ง เพชรสามพรานเพชรสุวรรณ เป็นต้น การปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ผสมดินปุ๋ยคอก จำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต จำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยกหาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้งรดน้ำให้ชุ่ม และทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด การเตรียมต้น เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ การตัดแต่งกิ่งจะนิยมทำการตัดให้สูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร เพื่อง่ายต่อการเก็บการจัดทรงพุ่ม (ตัดแต่งกิ่งหลังจากการเก็บผลผลิตแล้ว) การดูแลระยะดอก-ผลแก่ เมษายน-พฤษภาคม การห่อผลเมื่อดอกบานแล้ว 5 – 7 วัน ให้ทำการตัดแต่งผลให้เหลือ 3 – 5 ผลต่อช่อ และทำการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนห่อผลประมาณ 2 วัน ใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ขนาด 6 x 11 นิ้ว หรือ 6 x 14 นิ้ว เจาะรูขนาดเล็กข้างถุงประมาณ 8 รูหลังจากห่อแล้ว 25 –…

  • ปุ๋ย ธรรมชาติ ทำเอง อินทรีย์

    การผลิต ทำ ปุ๋ย อินทรีย์ หลักสำคัญ ข้อห้าม เกษตร พอเพียง ลดต้นทุน ปุ๋ย เคมี ปุ๋ย ธรรมชาติ

    หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีข้อห้าม หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกกองปุ๋ยด้วยวิธีการ 2 ขั้นตอนข้างต้น บริเวณใดที่แห้งเกินไปหรือแฉะเกินไปจุลินทรีย์จะไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้วัสดุไม่ย่อยสลาย กระบวนการอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือนถึง 1 ปีก็ได้ ข้อห้าม ของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้คือ1. ห้ามขึ้นเหยียบกองปุ๋ยให้แน่น หรือเอาผ้าคลุมกองปุ๋ย หรือเอาดินปกคลุมด้านบนกองปุ๋ย เพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถไหลถ่ายเทได้2. ห้ามละเลยการดูแลความชื้นทั้ง 2 ขั้นตอน เพราะถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไป จะทำให้ระยะเวลาแล้วเสร็จนานและปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพต่ำ3. ห้ามวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไป การวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไปจะทำให้จุลินทรีย์ที่มีในมูลสัตว์ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเศษพืชได้4. ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนของกองปุ๋ยอาจทำให้ต้นไม้ตายได้5. ห้ามระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย เพราะความร้อนสูงในกองปุ๋ยจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้เกิดการไหลเวียนของอากาศผ่านกองปุ๋ยอีกด้วย เศษพืชทุกชนิดสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้ เช่น ฟางข้าวซังและเปลือกข้าวโพด ผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ทั้งสดและแห้ง เป็นต้น ส่วนมูลสัตว์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ และมูลสุกรทั้งแห้งและเปียก โดยพบว่า ฟางข้าว ผักตบชวา และเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นเศษพืชที่ย่อยสลายได้ง่ายที่สุด ส่วนเมล็ดลำไยหรือลิ้นจี่ก็สามารถนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้แต่ต้องนำไปตีบดในเครื่องย่อยเศษพืชเสียก่อน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้จะช่วยลดการเผาฟางข้าวในนาได้โดยการไถกลบตอซังแล้วนำฟางข้าวกับมูลสัตว์ขึ้นกองปุ๋ยวิธีใหม่นี้ในนาใกล้แหล่งน้ำ เมื่อปุ๋ยอินทรีย์แห้งหรือถึงฤดูการเพาะปลูกก็นำไปใช้ในอัตรา 500–1,000 กก.ต่อไร่ แล้วไถกลบไปพร้อมกับการเตรียมดินได้เลยซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการขนวัสดุได้มาก ปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกผักอินทรีย์คือ 500–2,000 กก.ต่อไร่หรือ 1 กก.ต่อ 1 ตารางเมตร การทำกองปุ๋ยอินทรีย์ยาว 4 เมตร จะให้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน ใช้มูลสัตว์ประมาณ 30 กระสอบ คิดเป็นต้นทุนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตันละ 750 บาทในขณะที่ราคาจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ในท้องตลาดคือตันละ 5,000–7,000 บาท

  • ปุ๋ย ธรรมชาติ ทำเอง อินทรีย์

    การผลิต ทำ ปุ๋ย อินทรีย์วิธีใหม่ เกษตร พอเพียง ลดต้นทุน ปุ๋ย เคมี ปุ๋ย ธรรมชาติ

    การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีใหม่ จากผลการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ.2552 ได้มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง เกษตรกรจะสามารถผลิตได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีปริมาณมากครั้งละ 10–100 ตัน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2551 เสร็จภายในเวลาเพียง 60 วันเรียกว่าวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ที่ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อมไม่มีกลิ่นและน้ำเสีย วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชกับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้นโดยถ้าเศษพืชเป็นฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือผักตบชวา อัตราส่วนระหว่างฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดหรือผักตบกับมูลสัตว์คือ 4 ต่อ 1 โดยปริมาตรและถ้าเป็นเศษใบไม้ให้ใช้อัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” มีดังนี้ -ฟางข้าว 4 ส่วน มูลโค 1 ส่วน วางเป็นชั้นบางๆ หนา 10 ซม. ฐานกว้าง 2.5 เมตรรดน้ำแต่ละชั้นให้ชุ่ม-วางฟางสลับกับมูลสัตว์ 15–17 ชั้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยม สูง 1.5 เมตรมีความยาวของกองไม่จำกัด รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา (มีค่าประมาณร้อยละ 60–70) โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยวันละครั้ง โดยไม่ให้มีน้ำไหลนองออกมาจากกองปุ๋ยมากเกินไปขั้นตอนที่ 2 เมื่อครบวันที่ 10 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรู เพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำ เพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ จากข้อดีที่น้ำฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้ เกษตรกรจึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับกองปุ๋ยที่ทำได้ถูกวิธี ความร้อนสูงนี้เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์มีมากมายและ หลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยอีกด้วย (จุลินทรีย์กลุ่ม Thermophiles และ Mesophiles) หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงจนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน ขั้นตอนแรก รักษาความชื้นภายนอกกองโดยรดน้ำวันละครั้งขั้นตอนที่สอง เอาไม้แทงกองปุ๋ยทุก 10 วันเพื่อเติมน้ำภายในกอง เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น…

  • ปุ๋ย ธรรมชาติ ทำเอง อินทรีย์

    เกษตร พอเพียง ความจำเป็นของการ ทำ ปุ๋ยอินทรีย์ ลดต้นทุน ปุ๋ยเคมี

    ในการเพาะปลูกของเกษตรกรสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดคือความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะได้มาจากการที่มีอินทรีย์วัตถุสะสมอยู่ในดินอยู่มาก จุลินทรีย์ดินจะใช้อินทรีย์วัตถุเป็นสารอาหารแล้วปลดปล่อยแร่ธาตุที่จำเป็นให้แก่พืชในปริมาณที่พืชต้องการอย่างเพียงพอ ซึ่งได้แก่ ธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน-N ฟอสฟอรัส-P2O5 และโพแทสเซียม-K2O) ธาตุอาหารรอง (ซัลเฟอร์ แคลเซียม และแมกนีเซียม) และ จุลธาตุ (แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก คลอรีน และสังกะสี)ดังนั้น การเติมความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินวิธีหนึ่งคือการใช้ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มแร่ธาตุให้กับพืชแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังช่วย ลดความเป็นกรดของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้าอย่างยาวนานได้อีกด้วย นอกจากนี้ ในอดีตก่อนที่จะมีการผลิตปุ๋ยเคมีขึ้นในโลก เกษตรกรในประเทศไทยก็ได้มีการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินในการเพาะปลูกโดยการใช้มูลสัตว์ต่างๆ เช่น มูลโค มูลกระบือ และมูลไก่ เป็นต้น ประเทศไทยในขณะนั้นสามารถส่งออกข้าวเป็นที่ 1 ของโลกมาโดยตลอด ทั้งๆ ที่ไม่มีปุ๋ยเคมีใช้ แต่ปัจจุบัน ภายหลังจากการ “ปฏิวัติเขียว” หรือการนำปุ๋ยเคมีเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ.2503 การเกษตรกรรมของไทยก็ได้ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และยาฆ่าหญ้าอย่างหนัก โดยลืมที่จะเติมความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินอย่างแต่ก่อน การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีอย่างยาวนาน 40-50 ปีได้ทำให้ดินเพาะปลูกเสื่อมสภาพลงอย่างมาก กลายเป็นดินที่แน่น แข็ง และเป็นกรด รากพืชไม่สามารถชอนไชหาอาหารได้ดี ความเป็นกรดของดินทำให้เกิดการละลายของธาตุอะลูมิเนียมออกมาแล้วดูดซึมเข้าทางรากพืช ทำให้พืชไม่แข็งแรงกลายเป็นโรคง่าย และเชื้อราที่เป็นโรคพืชบางชนิดยังทำงานได้ดีในดินที่เป็นกรดอีกด้วย ทำให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเพิ่มมากขึ้นทุกปีทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น และในขณะเดียวกัน การเผาทำลายเศษพืชในแต่ละครั้งก็ส่งผลให้อินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีอยู่น้อยพลอยสลายตัวหายไปอีก เพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินกลับคืนมาเกษตรกรจึงควรงดการเผาเศษพืช และนำเศษพืชมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีแล้วนำไปปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ที่จะส่งผลให้การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีลดลง ซึ่งหมายถึงต้นทุนการผลิตก็จะลดลง ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น มีผลกำไรมากขึ้น ดินเพาะปลูกจะกลับมาเป็นดินดำที่ฟูนุ่ม โครงสร้างเม็ดดินจะร่วนซุยขึ้น มีไส้เดือนกลับคืนมาที่ช่วยการชอนไชของรากพืช พืชก็จะกลับมาแข็งแรง เกษตรกรและประชาชนจะมีสุขภาวะที่ดีจากการลดควันพิษจากการเผาและลดการใช้สารเคมี