เนื้อสัตว์จากพืช ผัก Plant Based Meat,  โรงงาน OEM ผลิต สร้าง ทำ แบรนด์ รับทำ อาหารสำเร็จ

ทำไม? Plant-based Food จึงเป็นโอกาสทองของธุรกิจอาหาร โรงงาน|ผลิต|ทำแบรนด์|สร้างแบรนด์|อาหาร|กึ่ง|สำเร็จ

หากพูดถึงแรงผลักดันที่ทำให้กระแส Plant-based Food กลายเป็นเทรนด์แรงระดับโลก เชื่อว่ามาจาก 3 ประเด็นหลักๆ ดังนี้

1.ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกบริโภคในสิ่งที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการหันมาบริโภคพืชผักผลไม้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง เพราะความกังวลด้านสุขภาพ เนื่องจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารจากเนื้อสัตว์นั่นเอง อีกทั้งการแพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19 ยิ่งทำให้คนตื่นตัวและเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ตลอดจนลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงเพราะมองว่าอาจเป็นที่มาของการแพร่เชื้อนั่นเอง ยกตัวอย่าง ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกามีถึง 23 เปอร์เซ็นต์ที่เลือกบริโภคอาหารจากพืชมากขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19

2.แรงหนุนจากเทรนด์รักษ์โลกใส่ใจสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่กระแสรักสุขภาพที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้ตลาด Plant-based Food ขยายตัวในเวลาอันรวดเร็ว ผู้บริโภคที่ตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกกลุ่มก้อนใหญ่ที่ช่วยออกแรงผลักดันทำให้เทรนด์ Plant-based Food ติดลมบนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ หากดูผลกระทบจากการผลิตอาหารที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จะพบว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตภัณฑ์จากพืช อีกทั้ง การผลิตและบริโภคเนื้อจากพืช ยังช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย เนื่องจากกระบวนการผลิตเนื้อจากพืชนั้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์จริง 30-90 เปอร์เซ็นต์นั่นจึงทำให้เชื่อว่า การบริโภคเนื้อจากพืชจะช่วยลดโลกร้อนนั่นเองนอกจากนี้ ประเด็นในเรื่องของ Food Security หรือความมั่นคงทางด้านอาหาร นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น และคนเริ่มตระหนักในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

เพราะจากประมาณการจำนวนประชากรโลกในอีก 30 ปีข้างหน้า ซึ่ง UN คาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.7 พันล้านคนในปี 2050 จะยิ่งมีผลกระทบต่อ Food Security ในอนาคต ทำให้ Plantbased Food ยิ่งมีความจำเป็น เพราะจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหา Food Security

3.พฤติกรรมเปลี่ยน แจ้งเกิด Flexitarian ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ จากงานวิจัยโดย Human Research Council บอกจากงานวิจัยโดย Human Research Council บอกไว้ว่า 5 ใน 6 ของกลุ่มคนรับประทานมังสวิรัติและวีแกน จะล้มเลิกความตั้งใจกลางคัน ซึ่งสาเหตุมาจากการบริโภค แบบ Full-time นั้นต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก ทำได้ยาก และรบกวนวิถีชีวิตประจำวัน เช่น การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ในร้านอาหารทั่วไปปัจจุบันมีตัวเลือกน้อย เมนูจำเจ และไม่อร่อยนัก ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันคนส่วนมากจึงหันมาบริโภคแบบ Flexitarian หรือ การบริโภคมังสวิรัติ เป็นครั้งคราวมากขึ้นทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของ อีไอซี (SCB EIC) เผยถึงพฤติกรรมผู้บริโภค Flexitarian ว่า เป็นกลุ่มคนที่พยายามลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ในลักษณะที่ว่า เป็นการรับประทานบางอย่าง ไม่รับประทานบางอย่าง หรือรับประทานบ้าง ไม่รับประทานบ้าง ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น บางกลุ่มเลือกที่จะไม่รับประทานเพียงเนื้อแดงเท่านั้น บางกลุ่มไม่รับประทานนม หรือไข่ บางกลุ่มเลือกที่จะรับประทานวีแกนบางมื้อหรือบางวัน โดยสถาบันวิจัยตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคระดับโลกอย่าง Mintel ได้ออกมายืนยันว่า การกินแบบ Flexitarian นั้นกำลังเป็นที่นิยมโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรป ในขณะ ที่คนไทยเองก็รับประทานเนื้อสัตว์น้อยลงเช่นกัน จากข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า สัดส่วนของคนไทยที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น จาก 4 เปอร์เซ็นต์ในปี 2013 เป็น 12 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2017 ของประชากรไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป

เรียกได้ว่า พฤติกรรมการบริโภคมังสวิรัติเป็นครั้งคราวของผู้บริโภคกลุ่มนี้ จะยิ่งผลักดันให้กระแส Plant-based Food แพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารไม่สามารถ เพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนี้ได้จำเป็นต้องปรับตัวตาม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น