เนื้อสัตว์จากพืช ผัก Plant Based Meat,  โรงงาน OEM ผลิต สร้าง ทำ แบรนด์ รับทำ อาหารสำเร็จ

พร้อมไหม? ก้าวสู่ตลาด Plant-based Food โรงงาน|ผลิต|ทำแบรนด์|สร้างแบรนด์|อาหาร|กึ่ง|สำเร็จ

จากแรงหนุนทั้งหมดที่กล่าวมา ถือได้ว่าเป็นตัวเร่งให้ ผู้ประกอบการอาหารต้องมองหาโอกาสจากตลาด Plantbased Food ซึ่งจะมีผู้ประกอบการกลุ่มไหนบ้างที่ควรขยายตลาดไปสู่ Plant-based Food นั้น จากการวิเคราะห์ของ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย บอกไว้ว่า Plant-based Food นั้น สามารถช่วยต่อยอดและเพิ่มโอกาส ให้แก่ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

ธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ (Processed Meat) และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ (Animal Product) เนื่องจากธุรกิจกลุ่มนี้อยู่ในตลาดอาหารกลุ่มโปรตีนอยู่แล้ว ดังนั้น การจะต่อยอดไปสู่ตลาด Plantbased Food จึงไม่ใช่เรื่องยาก

ธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูป ทั้งแบบพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานเป็นกลุ่มที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ตอบโจทย์ชีวิตคนรุ่นใหม่ที่เน้นสะดวกรวดเร็ว แต่ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ

สำหรับการทำตลาด Plant-based Food ในไทย คาดว่าจะเริ่มต้นจากตลาด B2B ระหว่างผู้ผลิต Plant-based Food กับร้านอาหาร ด้วยการนำวัตถุดิบไปประกอบอาหารเป็นเมนูทางเลือกให้กับ ลูกค้าที่รักสุขภาพ เช่นเดียวกับที่ ต่างประเทศ ที่ร้านอาหารประเภทจานด่วนมีเมนูเป็น Plant-based Food เพิ่มขึ้นนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ดี ก่อนที่ผู้ประกอบการจะกระโดดลงสู่สนาม Plant-based Food ต้องทำความเข้าใจและศึกษาตลาดนี้ อย่างรอบด้าน โดยอย่างแรกที่ผู้ประกอบการต้องรู้ นั่นคือ

รสชาติยังเป็นสิ่งสำคัญ

ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS บอกไว้ว่า รสชาติ เป็น ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ Plant-based Food มากที่สุดอยู่ที่ 52 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ 39 เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องของสุขภาพสิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องรู้นั่นคือ “การเพิ่มสารอาหารที่เป็น ประโยชน์ เป็นสิ่งจำเป็น” เนื่องจากโปรตีนจากพืชอาจให้คุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าโปรตีนจากสัต

ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการทดแทนโปรตีนจากพืช เช่น การเติมวิตามินและแร่ธาตุที่มักขาดในวัตถุดิบจากพืช เช่น วิตามินบี 12 วิตามินดีโอเมก้า-3 สังกะสี และธาตุเหล็ก เป็นต้นเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก่อนที่ผู้ประกอบการจะลงมือคว้าโอกาสในตลาด Plantbased Food จำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชให้สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งความอร่อยควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพด้วยจากแนวโน้มการเติบโตของอาหารแห่งอนาคตนี้ ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ต้องเร่งผลักดันและเดินหน้านโยบาย เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้ก้าวสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็งและสามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้ในอนาคต

มูลค่าตลาด Plant-based Food ทั่วโลก ปี 2019 มีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ คาดปี2024 มีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เติบโต10.5 %ประเทศไทย ปี 2019 มีมูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาทคาดปี 2024เติบโต10 %

ประเทศไทยมีผู้บริโภคกลุ่ม Flexitarian ราว 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ
17–18 ล้านคนจากประชากรไทย 67–68 ล้านคนผู้บริโภคกลุ่ม Flexitarian

ไลฟ์สไตล์ของ Flexitarian แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

บริโภคมังสวิรัติเป็นครั้งคราว เพราะต้องการดูแลสุขภาพ คิดเป็นสัดส่วน 65%

บริโภคมังสวิรัติเป็นครั้งคราว เพราะต้องการควบคุมน้ำหนักคิดเป็นสัดส่วน 20%

เจาะพฤติกรรมการบริโภค Plant-based Food แต่ละประเทศ 23% ผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ หันมาบริโภค Plant-based Food มากขึ้นในช่วง COVID-19 เพราะเป็นสินค้าที่มีอายุเก็บรักษานาน และมักไม่ค่อยขาดตลาด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

25% ผู้บริโภคในสหภาพยุโรปตั้งใจจะลดการรับประทานเนื้อสัตว์ให้ได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ

62% ผู้บริโภคชาวจีนมีแนวโน้มที่จะซื้อPlant-based Meatเป็นประจำ

63% ผู้บริโภคชาวอินเดียเต็มใจหันมารับประทานเนื้อสัตว์จากพืชทดแทนการรับประทานเนื้อสัตว์

53% ผู้บริโภคชาวไทยต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ขณะที่ 45%สนใจที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่การรับประทานอาหารแบบมังสวิรัติวีแกน และอาหารจากพืช