เนื้อสัตว์จากพืช ผัก Plant Based Meat,  โรงงาน OEM ผลิต สร้าง ทำ แบรนด์ รับทำ อาหารสำเร็จ

ผู้ประกอบการประเภทไหน ที่ควรขยายตลาดไปสู่ Plant-based Food โรงงาน|ผลิต|ทำแบรนด์|สร้างแบรนด์|อาหาร|กึ่ง|สำเร็จ

ในบทความส่วนนี้ Krungthai COMPASS นำเสนอธุรกิจที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการ
ขยายตลาดไปสู่ Plant-based Food และช่องทางการทำตลาดที่น่าสนใจ รวมท้ัง
แนะนำให้ผู้ประกอบการทำความรู้จักและเป็น Partnership กับหน่วยงานที่มีความ
เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย

1) Ingredient Makers
2) หน่วยงานวิจัยจากภาครัฐ
เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาดได้ง่ายขึ้น

ผู้ประกอบการประเภทไหนที่มี Potential ในการขยายตลาดไปสู่ Plant-based Food?

Krungthai COMPASS มองว่า Plant-based Food จะช่วยเพิ่มโอกาสในการต่อยอด ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจอาหารใน 2 Segments ได้แก่

1) ธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ (Processed Meat) และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ (Animal Product) เนื่องจากบริษัทเหล่านี้อยู่ในตลาดอาหารในกลุ่มโปรตีนอยู่แล้ว การต่อยอดไปสู่ตลาด Plant-based Meat จึงไม่ใช่เรื่องยาก ยกตัวอย่างบริษัทในต่างประเทศ เช่นไทสัน ฟู้ดส์ (Tyson Foods) หนึ่งในผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่ของโลก ที่เข้ามาจับตลาด Plant-based Food เช่น การออกผลิตภัณฑ์นักเก็ตไก่ที่ทำจากส่วนผสมของโปรตีนจากถั่วลันเตา เย่ือไผ่ และไข่ขาว หรอื เจบีเอส (JBS) ผู้ผลิตเนื้อวัวรายใหญ่ที่สุดในโลกหันมาทาตลาดเบอร์เกอร์ถั่วเหลืองโดยเบอร์เกอร์นี้มีส่วนผสมของบีทรูท กระเทียมและหัวหอมใหญ่ โดยมีความเหมือนเนื้อวัวบดระดับสุกไม่มาก

2) ธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูปทั้งแบบพร้อมปรุงและพร้อมทาน (Ready-to-cook and Ready-to-eat) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถใช้ Plant-based Food มาพัฒนา ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ตลอดจนการผลิตอาหารสำเร็จรูปแบบพร้อมทานที่ตอบโจทย์ ชีวิตคนรุ่นใหม่ที่เน้นสะดวก รวดเร็ว แต่ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ ยกตัวอย่าง ผู้ประกอบการไทยชื่อบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (NRF) ที่พัฒนา Plant-based Food ในกลุ่มอาหารสำเร็จรูปที่หลากหลาย เช่น เนื้อบาร์บีคิวที่ทำจากขนุน ไส้กรอกที่ทาจากพืช ข้าวปั้นหน้าปลาไหลที่ทาจากมะเขือพวง เป็นต้น นอกจากนี้กระแสความนิยมผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากออร์แกนิค19 หรือการไม่ใช้สารพิษ ยาฆ่าแมลง และสารเคมี (No-Toxic, Pesticides or Chemicals) น่าจะเป็นโอกาสของ ผู้ประกอบการอาหารสาเร็จรูปท้ังแบบพร้อมปรุงและพร้อมทาน ในการเพิ่มสัดส่วนสินค้าในกลุ่ม Plant-based Food ที่ ทำมากจากออร์แกนิค จะเห็นได้จากมี Ingredient Makers เข้ามาทำตลาดนี้มากขึ้น เช่น บริษัท Tradin Organic ที่พัฒนา Ingredient ที่เป็น Organic Meat Replacers ซึ่งทาจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลูกไก่ ขนุน

ช่องทางการขายไหนน่าสนใจระหว่าง B2C กับ B2B?

ปัจจุบัน แนวโน้มยอดขายของตลาด Plant-based Food ทั้งในไทยและต่างประเทศ นั้นขยายตัวตามการเติบโตของตลาดระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค (Businessto-consumer: B2C) แต่นับจากนี้ไปยังมีแรงหนุนจากตลาดระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ (Business-to-business: B2B) ที่น่าจะมีบทบาทมากขึ้นในระยะข้างหน้า เห็นได้จากแนวโน้มร้าน Foodservice ในต่างประเทศ โดยเฉพาะร้านอาหาร Quick Service Restaurants (QSR) ที่มีการออกเมนูที่เป็น Plant-based Food เพิ่มขึ้น เพื่อจับตลาดกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยจากข้อมูลของบริษัทว ัยตลาด NPD ที่ระบุว่าในปี 2019 ยอดส่ังซ้ือ Plant-based Meat ของร้าน Foodservice ใน สหรัฐฯ เติบโตถึง 37%YoY ขณะที่จากข้อมูลของ Dataassential Menu Trends ระบุว่าสัดส่วนจำนวนเมนูที่เป็น Plant-based Food ต่อจานวนเมนูท้ังหมดในสหรฐั ฯ เพิ่มขึ้นจาก 1.9% ในปี 2008 เป็น 11.2% ในปี 2018 บ่งบอกว่าร้าน Foodservice มีแนวโน้มที่จะขยายตลาดเพื่อรองรับผู้บริโภคในกลุ่มนี้ ดังน้ัน จึงเป็นโอกาสที่ ผู้ประกอบการ Plant-based Food จะขยายกิจการเข้าสู่ตลาดแบบ B2B มากขึ้น
เช่นกัน

เป็น Plant-based Food ต้องรู้จักใครบ้าง?

ในเบื้องต้นผู้ประกอบการต้องชูจุดขายให้กับผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น Goals on Protein หรือในเรื่อง Agriculture Emission นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์และการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในตลาด Plant-based Food ได้ง่ายขึ้น20 โดยเรา แนะนำให้ผู้ประกอบการเป็น Partnership กับผู้เชี่ยวชาญ 2 กลุ่ม ดังนี้

1) Ingredient Makers
ส่วนใหญ่มีบริษัทแม่จากต่างประเทศ ซึ่งในการเลือกที่จะเป็น Partner กับ Ingredient Makers รายใด อาจพิจารณาเบื้องต้นจากชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญของประเภทสารอาหาร เช่น บริษัท ADM ที่มีการพัฒนาส่วนผสมของสารอาหารที่ทำจากพืชและสารอาหารประเภทโปรตีนที่หลากหลายให้ผู้ผลิตอาหารสามารถนำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย หรือ บริษัท Kerry ที่พัฒนา Ingredient สำหรับ Plant-based Food ที่ชื่อ PlantFare ซึ่งให้สารอาหาร รสชาติ กลิ่นและเนื้อสัมผัส ใกล้เคียงกับเนื้อจริง เช่นเดียวกับบริษัทivaudan ที่พัฒนาสารให้สีจากธรรมชาติสำหรับเนื้อสัตว์จากพืช โดยทำให้เนื้อสัตว์ จากพืชมีสีแดงเหมือนเนื้อสัตว์จริง

2) หน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา
หน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญ และสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำ R&D เช่น สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่พัฒนาโปรตีนเกษตรผลิตจากถั่วเหลืองไม่ดัดแปลงพันธุกรรม(Non-GMOs) โดยใช้กระบวนการอัดพอง หรือ Extrusion Process ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์โปรตีนที่มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์ อีกท้ังยังมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ทั่วไปหรือคณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ร่วมมือกับกรมการข้าวพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมเสริมโปรตีนข้าวที่มีส่วนผสมของปลายข้าวมอลต์เพื่อใช้เป็นตัว ยึดจับและสร้างความหนืดทดแทนกลูเตน ใช้ข้าวมอลต์แดงที่เพาะด้วยราเป็นวัตถุดิบให้สีแดงในเนื้อเทียม รวมท้ังใช้ผลพลอยได้จากการหมักชาข้าวมอลต์ให้เป็น แหล่งของเส้นใยที่เชื่อมโยงกันหรือทำหน้าที่เสมือนกาวสร้างเนื้อสัมผัสที่คล้ายเนื้อ รวมท้ังเสริม ด้วยผงโปรตีนข้าวไฮโดรไลเสท เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณโปรตีน ในผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมให้สูงตามที่ต้องการ และที่สำคัญ คือ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ในผู้บริโภค (Hypoallergenic) และปราศจากกลูเตน (Gluten-free) นอกจากนี้
ยังเพิ่มความได้เปรยี บในการสร้างเนื้อเทียมที่ราคาไม่แพงทดแทนโปรตีนจากพืช

โดยก่อนที่จะเริ่ม พัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการควรศึกษาและทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

1) รสชาติยังเป็นสิ่งสาคัญ เพราะแม้ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพเป็นหลัก แต่รสชาติก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญ โดยจากข้อมูลของ Plant Based Foods Association พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ Plant-based Food ของผู้บริโภคมากที่สุด คือ รสชาติ คิดเป็น 52% รองลงมา คือ เรื่องสุขภาพ 39% ดังน้ัน จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการในการพัฒนารสชาติให้ใกล้เคียงกับอาหารเดิม ที่ทำจากสัตว์ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการเติมสารปรุงแต่งรสชาติ เช่น เบอร์เกอร์ที่ผลิตจากเนื้อพืชของแบรนด์ Beyond Meat และ Impossible Foods ที่มีการเติมสารให้กลิ่นรส เช่น สารสกัดจากยีสต์ คัลเจอร์เ ด็กซ์โตรส และสารแต่งกลิ่นรสธรรมชาติลงไป

2) การเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากโปรตีนจากพืชอาจให้คุณค่าทาง โภชนาการน้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการทดแทนโปรตีนจากพืช เช่น การเติมวติ ามินและแร่ ธาตุที่มักขาดในวัตถุดิบจากพืช เช่น วิตามินบี 12 วิตามินดี โอเมก้า-3 สังกะสี และ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

มีผู้ประกอบการไทยหลายรายพัฒนา Plant-based Food ออกจำหน่ายแล้ว

ผู้ประกอบการไทยทั้งรายเล็กและรายใหญ่พัฒนา Plant-based Food ออกจำหน่ายแล้ว เช่น Startup ที่ใช้ชื่อแบรนด์ More Meat ซึ่งพัฒนาเนื้อเทียมจากพืชที่ทาจากเห็ดแครงและโปรตีนถั่วเหลือง” โดยเน้นเจาะตลาด B2B ในกลุ่มร้านอาหารและอีกรายที่ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “Meat Avatar” ที่พัฒนาเนื้อเทียม จากพืชโดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ “หมูสับจำแลง” และ”หมูกรอบจำแลง“ ที่ให้ รสชาติและเนื้อสัมผัสเหมือนจริง และได้บริษัท วีฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัดเป็นผู้กระจายสินค้าให้ โดยทำเป็นเมนูอาหารออกจำหน่าย เช่น สปาเกตตี้ มอร์มีท วี คอร์น เป็นต้น ขณะที่บริษัท นิธิ ฟู๊ดส์ จำกัด ผู้พัฒนาเนื้อเทียมจากพืช โดยใช้ชื่อแบรนด์ “Let’s Plant Meat” ซึ่งผลิตจากถั่วและข้าวเป็นหลัก โดย ออกแบบให้หน้าตา เนื้อสัมผัส และรสชาติใกล้เคียงเนื้อสัตว์มากที่สุด มีผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายแล้ว คือ เบอร์เกอร์เนื้อ เจาะกลุ่มคนรักอาหารตะวันตก และเนื้อบดเพื่อตอบโจทย์ชาววีแกน และผู้บริโภคสายกรีนที่อยากลดการบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับบริษัทตลาดหลักทรพั ย์อย่างบริษัทRF ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากพืช รวมท้ังมีการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Plant-based Food ใช้งบลงทุน 408 ล้านบาท แบ่งเป็นการสร้างโรงงานในประเทศไทย รวมท้ังการเข้าซื้อโรงงานผลิตอาหารโปรตีนจากพืชในประเทศ อังกฤษและสหรัฐฯ โดยร่วมทุนกับ The Brecks Company Limited เพื่อจัดต้ัง
บริษัท Plant and Bean Ltd. ที่ประเทศอังกฤษ

สรุป
ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้านี้ ตลาด Plant-based Food จะเติบโตอย่างรวดเร็วตามเทรนด์ของผู้บริโภคที่ให้ความสาคัญกับสุขภาพ รวมทั้งการตระหนัก ถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ขณะที่แนวโน้มการทำตลาด Plant-based Food ของธุรกิจ Food service หลายแห่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค จะเป็น Growth Engine ให้ตลาดนี้น่าสนใจยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี จากการที่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของตลาด Plant-based Food ในไทยยังอยู่ในช่วงเริ่ม ต้นของวฎั จักรธุรกิจ ดังนั้น การทำตลาดผู้ประกอบการจึงต้องให้สำคัญกับช่องทางการขายและฐานลูกค้าที่รองรับ ชัดเจน นอกจากนี้ สิ่งที่สาคัญที่สุดที่จะช่วยให้ตลาด Plantbased ในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด นั่นคือ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ Plant-based products ตอบโจทย์เรื่องรสชาติ เนื้อสัมผัส และ คุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด