Thailand Commodities ครัวไทยสู่ครัวโลก

วิกฤติความมั่นคงทางอาหารกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย

ปี 2561 ประเทศไทยจัดอยู่ลำดับที่ 45 ของโลกในฐานะประเทศที่มีความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งวัดจากความสามารถในการผลิตและการเลี้ยงดูประชากรในประเทศดูแล้วอาจไม่ได้เลวร้ายมากนักที่เราเป็นประเทศใน 50 อันดับแรกของโลกที่พอเลี้ยงตัวเองได้แต่กระนั้นสิ่งที่น่าคิดสำหรับการเกษตรในบ้านเราก็คือส่วนมากยังเป็นเกษตรกรรมที่เน้นการพึ่งพิงธรรมชาติการเพาะปลูกแบบอาศัยน้ำฝนขาดการปรับตัวที่รวดเร็วพอที่จะรับมือเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ทำให้เราตกอยู่ในสภาพตั้งรับตลอดเวลามากกว่าจะเตรียมพร้อม ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่น่าห่วงสำหรับความมั่นคงในอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น การเกิดวิกฤติภัยแล้งทั่วโลกในปี 2550-2551 ทำให้เกิดภาวะพืชผลทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้นกว่าปกติถึง 30% ครั้งนั้นเกิดการจลาจลแย่งชิงอาหารใน 32 ประเทศ และมีอย่างน้อย 2 รัฐบาลที่ถูกประชาชนโค่นล้มเนื่องจากเหตุวิกฤติดังกล่าว คือประเทศเฮติ และประเทศมาดากัสการ์ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อหน่วยอื่นๆ ของสังคมจนเกิดความปั่นป่วนระส่ำระสายในโลกราคาพลังงานถีบตัวสูงขึ้นตามวิกฤติอาหาร และท้ายที่สุดทั่วโลกจึงต้องหันกลับมาทบทวนถึงต้นตอของปัญหาซึ่งแท้จริงแล้วทั้งหมดเกิดจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสภาพอากาศของโลกนั่นเอง

ไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างหนักเมื่อ ปี 2553 ภัยแล้งดังกล่าวครอบคลุมถึง 60 จังหวัด ทำลายพื้นที่การเกษตรไปเกือบ 2 ล้านไร่ สร้างมูลค่าความเสียหายประมาณ6,000 ล้านบาท ปีถัดมาอุทกภัยใน ปี 2554 ก็ทำให้สูญเสียพื้นที่เพาะปลูกไปเกือบ 8 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหายกว่า 32,000-54,000 ล้านบาท ทั้งภัยแล้งและภัยน้ำท่วมทาให้ผลผลิตมีน้อย ไม่พอต่อความต้องการราคาจึงพุ่งสูงลิ่ว นอกจากนี้ยังเกิดโรคระบาดตามมาเช่น เพลี้ยกระโดดที่เริ่มดื้อยาทำความเสียหายให้นาข้าวกว่า 8 แสนไร่ เกิดภาวะมะพร้าวแพง ยางพาราถูก ปาล์มราคาผันผวน ฯลฯ

ปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทาให้องค์การอาหารและ การเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and AgricultureOrganization of the United Nations – FAO) ต้องเรียกประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 ก่อนจะเปิดเผยว่า ดัชนีราคาอาหารโลกทั้งข้าวเจ้า ข้าวสาลีข้าวโพด ธัญพืชอื่นๆ ตลอดจนน้ำตาลและเนื้อสัตว์พุ่งสูงทุบสถิติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และสิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือ ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านการเกษตรของประเทศไทยมองเรื่องนี้ว่าประเทศไทยได้ประโยชน์ แต่แท้จริงแล้วในระยะยาวหากเราไม่เตรียมตัวเพื่อรับมือกับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น หรือเตรียมเกษตรกรไทยและผู้ประกอบการให้พร้อมสำหรับการเผชิญวิกฤติอาหารครั้งใหม่(ซึ่งไม่น่าจะนานเมื่อพิจารณาจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ)ประเทศไทยเราก็อาจกลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบเสียเอง ทั้งในแง่ของผู้ผลิตอาหาร และภาพลักษณ์การเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ของรสชาติ ยิ่งกว่านั้นปัจจุบันสินค้าการเกษตรที่ส่งออกของประเทศไทยยังคงเป็นรูปแบบสินค้าปฐมภูมิมากกว่าสินค้าแปรรูป ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเสียดายเมื่อคิดถึงวัตถุดิบที่เรามีว่าสามารถแปรรูปและต่อยอดได้อีกมาก แต่กลับไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่ามากเท่าที่ควรแล้วประเทศไทยเราจะทำอย่างไรต่อไป