smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

เทคโนโลยี smart farm IoT จัดการพลังงานและสาธารณูปโภค วาง ระบบ คู่มือ การใช้

Applications of IoT in the Energy Industry: Generation, Transmission and  Consumption

ระบบการจัดการพลังงานและสาธารณูปโภค

ระบบการจัดการพลังงานและสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการตรวจวัดที่แม่นยำการประมวลผลในภาพรวม และการประมาณการที่มีความเชื่อถือได้ ระบบ IoT จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในลักษณะการตรวจวัดระยะไกล (Telemetry) เช่น ระบบ Smart Meter ซึ่งมีความสามารถในการวัดปริมาณการใช้สาธารณูปโภค หรือวัดคุณภาพสาธารณูปโภค ก่อนจะส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังหน่วยประมวลผลกลางเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในภาพรวมต่อไป ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งานประเภทนี้ คือบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณการใช้งานพลังงานไฟฟ้า และรวบรวมข้อมูลเพื่อประมาณการค่าอุปสงค์ (Demand Forecast)การใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมการจ่ายไฟฟ้า การวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า จัดการแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า และการคิดราคาค่าไฟฟ้าแบบสอดคล้องกับค่าอุปสงค์-อุปทาน(ETP Smartgrids, 2016) ซึ่งในประเทศไทย ระบบดังกล่าวกำลังได้รับการบุกเบิกพัฒนาภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง และมหาวิทยาลัย (กระทรวงพลังงาน, 2558) แนวคิดที่คล้ายคลึงกันสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการสาธารณูปโภคชนิดอื่น เช่น ระบบส่งน้ำอัจฉริยะ (Smart Water) และชลประทานอัจฉริยะ (Smart Irrigation)