• เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือ เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การปฏิบัติจริงที่ใคร ๆ ก็ทําได้ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    เกษตรอินทรีย์ การปฏิบัติจริงที่ใคร ๆ ก็ทําได้ประเทศไทย ดินแดนแห่งเกษตรกรรมประเทศไทยเป็นดินแดนอุดมสมบรูณ์ มีแม่น้ําน้อยใหญ่ ที่ราบสูงและที่ลุ่ม มากมาย เกษตรกรรมจึงรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต ภาคเหนือของประเทศมีพื้นที่ป่าค่อนข้างมาก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา อากาศจึงเย็นสบายเพาะปลูกพืชที่ชอบอากาศเย็น อย่างลําไย ส้ม และลิ้นจีได้ดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ เกษตรกรนิยมปลูกข้าว มัน สําปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย ภาคใต้มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจึงร้อนชื้น มีฝนตกมาก พืชเศรษฐกิจสําคัญได้แก่ปาล์มน้ํามัน มะพร้าว และ ยางพารา ส่วนภาคกลางมีดินอุดมสมบรูณ์จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สําคัญของประเทศแม้ปัจจุบันประเทศไทยจะจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และงานบริการ แต่ “เกษตรกรรม” ก็ยังเป็นอาชีพหลักของชาวไทยส่วนใหญ่เมื่อมองภาพรวมจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างยิ่ง ด้วยปริมาณน้ําฝนและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการทําเกษตร ทําให้ส่งออกผลผลิตไปขายยังต่าง ประเทศได้ปริมาณมากโดยมีข้าวและผลไม้เป็นหลัก ข้าวหอมมะลิและผลไม้จาก ประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกแน่นอนว่าผลผลิตทางการเกษตรจํานวนหนึ่งก็ถูกส่งไป ขายยังประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยที่จะมีชาวญี่ปุ่นบอกว่ารู้จักผลไม้ชนิดนั้นชนิด นี้ของประเทศไทยในช่วงต้นปี พ.ศ.2542 ที่ผมเริ่มทําเกษตรนั้น ยังไม่มีเกษตรกรไทยคนไหนทํา เกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง กระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สํารวจพบว่า เกษตรกร ไทยใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีมากถึง 99.8%หากเทียบกับพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศแล้ว จะเห็นว่ามีพื้นที่ทําเกษตรอินทรีย์ไม่ถึง 1% ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึง เริ่มเผยแพร่แนวคิดการทําเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2544 แม้ผมจะตั้งเป้าไว้ว่าต้องทําเกษตรให้โด่งดังถึงระดับประเทศ แต่ถ้าไม่มีที่ดินเรื่อง ก็คงหยุดอยู่แค่นั้น และถ้าจะทําเกษตรอินทรีย์จริงๆจังๆ ก็ต้องเลือกที่ดินที่ไม่เคยทําเกษตร มาก่อน บางท่านอาจสงสัยว่าทําไมล่ะ คําตอบคือ ที่ดินที่เคยทําเกษตรร้อยทั้งร้อยล้วน เคยได้รับปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาก่อน สารเคมีที่สะสมอยู่ในดินต้องใช้เวลาย่อยสลาย อย่างน้อย 5 ปี การเลือกที่ดินจึงสําคัญมาก ประเทศไทยมีกฎหมายเข้มงวดเรื่องการซื้อที่ดินโดยชาวต่างชาติแม้ผมอยากทํา เกษตรมากเพียงใด ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้อและครอบครองที่ดินอยู่ดี ผมอยากทําเกษตร แต่กลับซื้อที่ดินไม่ได้ แถมที่ดินที่เหมาะกับการทําเกษตรอินทรีย์ยังหายากมาก ผมอยาก ได้ที่ดินขนาดใหญ่ เพราะฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ผมคิดจะทํานั้น ต้องมีทั้งแปลงเกษตร ระบบจัดการน้ําในฟาร์ม สถานที่อบรมการทําเกษตรอินทรีย์ สถานีวิจัย ที่พัก และโรงงาน แปรรูปผลผลิต จึงต้องใช้เงินทุนสูงมากชีวิตเกษตรกรของผมต้องเจอกับกําแพงขนาดใหญ่ เสียแล้ว สิ่งแรกที่ผมต้องตัดสินใจคือ จะซื้อที่ดินแถวไหนดี โดยส่วนตัวผมรู้สึกเหมือนองค์ พระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานอยู่กลางเขามาดลใจ เพราะหลังจากตัดสินใจว่าจะทําเกษตร เมื่อเดินทางผ่านไปแถวนั้นผมรู้สึกว่าพระพุทธรูปทอดสายตามองลงมายังผืนดินผืนหนึ่ง บริเวณนั้น ผมบอกเพื่อนชาวไทยที่รู้จักกันว่าอยากให้ช่วยหาข้อมูลของที่ดินตรงเชิงเขาที่ พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้หน่อย หลายวันต่อมาเพื่อนก็มาหาผมด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พร้อมพูดว่า “ตาแหลมมาก เลยนะโอกะซัง เซนส์ของคุณนี้ใช้ได้เลย ที่ดิน 50 ไร่ ตรงนั้นยังว่างอยู่” ผมดีใจและ ประหลาดใจมาก ไม่รู้ว่าจะใช่แรงดลใจจากพระพุทธรูปหรือเปล่า แถมเจ้าของที่ดินยังเป็น…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ การแปรรูปพืชอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    ข้อกำหนดการตรวจรับรองการคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ การผลิตสินค้าพืชอินทรีย์เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และไม่สูญเสียความเป็นอินทรีย์ นอกจากจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตในแปลงปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตพืชอินทรีย์แล้ว ในกระบวนการคัดบรรจุผลิตผลหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติและควบคุมกระบวนการผลิต ให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ควบคู่ไปกับหลักการปฏิบัติระบบการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) โดยก่อนการตรวจประเมินผู้ตรวจประเมินจะต้องศึกษาขั้นตอนและกระบวนการผลิตอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบว่าขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตใดเป็นจุดควบคุมเกษตรอินทรีย์ (Organic Control Points : OCPs) ที่มีความเสี่ยง ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่เหมาะสม อาจมีโอกาสสูญเสียความเป็นอินทรีย์ได้ง่าย โดยทั่วไปแล้วในการตรวจประเมินแปลงปลูกพืชอินทรีย์ จะพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลิตผล ส่วนการคัดบรรจุ จะมีทั้งลักษณะที่เป็นการบรรจุหีบห่อขนาดใหญ่ หรือแบ่งบรรจุเป็นหีบห่อขนาดเล็กจำหน่ายในนามของฟาร์ม นอกจากนี้บริษัทหรือผู้รับซื้ออาจซื้อผลิตผลพืชอินทรีย์จากแปลงเกษตรกรมาคัดบรรจุและจำหน่ายในนามของบริษัทอีกต่อหนึ่ง ซึ่งบริษัทหรือผู้รับซื้อจะต้องได้รับการรับรองการคัดบรรจุหีบห่อพืชอินทรีย์ก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้แสดงตราสัญลักษณ์ Organic Thailand ได้ หรือบริษัทบางแห่งอาจมีเกษตรกรลูกไร่หรือแปลงปลูกพืชอินทรีย์ของบริษัทเอง และมีโรงคัดบรรจุแยกอยู่คนละที่กับแปลงปลูก ผู้ตรวจประเมินจะต้องเข้าตรวจประเมินทั้งแปลงปลูกและโรงคัดบรรจุหีบห่อของบริษัทนั้นด้วย การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทหรือผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืช อินทรีย์จะซื้อวัตถุดิบอินทรีย์จากแปลงเกษตรกรที่ได้รับรองการผลิตพืชอินทรีย์แล้ว แต่หากแปลงปลูกดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองเกษตรกรหรือผู้ประกอบการแปรรูป จะต้องยื่นใบสมัครขอการรับรองแปลงปลูกพืชอินทรีย์ในนามของเกษตรกรหรือบริษัท พร้อมกับขอรับรองการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ผู้นำเข้าผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ที่นำผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์มาบรรจุหีบห่อใหม่ ก็ต้องยื่นใบสมัครขอการรับรองคัดบรรจุหรือแปรรูปด้วยเช่นกัน และผู้ตรวจประเมินจะต้องเข้าตรวจประเมิน ตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ควบคู่ไปกับหลักการปฏิบัติระบบการผลิตที่ดี GoodManufacturing Practice (GMP) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) สถานที่ประกอบการ สถานที่ตั้งของโรงคัดบรรจุหรือโรงงานแปรรูป อยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ไม่อยู่ในแหล่งอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนจากมลพิษ สัตว์ แมลงพาหะนำโรค วัตถุอันตราย ฝุ่นละออง ฝุ่นควัน และสิ่งปฏิกูล สถานที่ผลิตต้องแยกออกจากที่พักอาศัย พื้นอาคารเรียบ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขัง ฝาผนังและเพดานสร้างด้วยวัสดุที่ทนทาน เรียบ ทำความสะอาดง่าย มีการดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่เป็นที่สะสมของฝุ่นละออง และจุลินทรีย์ หน้าต่างและประตูปิดสนิท และมีวิธีการป้องกันการปนเปื้อนก่อนเข้าสู่พื้นที่ผลิต หรือถ้าเป็นระบบเปิด ควรมีการป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์และแมลงจากภายนอกอาคาร มีการระบายอากาศได้ดี การวางพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ ต้องมีทิศทางลมพัดจากส่วนที่สะอาดไปยังส่วนที่ไม่สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน มีพื้นที่เพียงพอสำหรับติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต มีการจัดพื้นที่ผลิตเป็นสัดส่วน เรียงลำดับตามสายงานการผลิต และแบ่งแยกพื้นที่หรือเวลาการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลิตภัณฑ์ทั่วไปออกจากกันอย่างชัดเจน 2) เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ มีพอเพียงต่อการปฏิบัติงาน ติดตั้งอยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก หลักเลี่ยงการมีซอกมุม ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์ และทนต่อการกัดกร่อน ทำความสะอาดได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปรอะเปื้อนน้ำมันหล่อลื่น จาระบี หรือสารอันตราย หากมีการผลิตทั้งผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลิตภัณฑ์ทั่วไปในโรงคัดบรรจุหรือโรงงานแปรรูปเดียวกัน ต้องแยกเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ พร้อมทั้งบ่งชี้หรือแสดงป้ายเพื่อแยกการใช้เครื่องมือ…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1-2552 (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ,2552). กรมวิชาการเกษตรด าเนินตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดมาตรฐานสินคาเกษตร : เกษตรอินทรีย เลม 1 : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหนายผลิตผลและผลิตภัณฑเกษตรอินทรีย (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552) โดยแบ่งการตรวจรับรองออกเป็น6 ประเภท ดังนี้ 1) การขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์2) การรับรองการคัดบรรจุพืชอินทรีย์3) การรับรองการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์4) การรับรองการรวบรวมผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์5) การรับรองการจัดจำหน่ายผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์6) การรับรองการนำเข้าผลิตผล/ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ข้อกำหนดการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (มกษ. 9000 เล่ม 1 – 2552) 1) พื้นที่1.1) ขอกำหนดวิธีผลิตพืชอินทรียใหนำมาใชปฏิบัติตลอดระยะการปรับเปลี่ยนเปนเวลาอยางนอย 12 เดือน กอนปลูกสำหรับพืชลมลุก และ 18 เดือนกอนเก็บเกี่ยวผลิตผลอินทรียครั้งแรก สำหรับพืชยืนตน โดยระยะการปรับเปลี่ยน นับตั้งแต่ผู้ผลิตไดนำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติแลว และสมัครขอรับการรับรองตอหนวยรับรอง และอาจเพิ่มระยะปรับเปลี่ยนขึ้นได้ หากมีการใช้สารเคมีในปริมาณมาก1.2) พื้นที่ไม่มีการใช้สารเคมีนานเกิน 12 เดือน สำหรับพืชล้มลุก และ 18 เดือน สำหรับพืชยืนต้น สามารถพิจารณาลดระยะปรับเปลี่ยนลงได้ แต่่ต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน1.3) การปลูกพืชคู่ขนาน (ปลูกทั้งระบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี) หรือทยอยเปลี่ยนพื้นที่ได้ แต่่ต้องเป็นพืชต่างชนิด ต่างพันธุ์ และต้องแยกพื้นที่ และกระบวนการจัดการพืชอินทรีย์และไม่ใช่ อินทรีย์ได้อย่างชัดเจน1.4) ต้องไม่เปลี่ยนกลับไปทำการเกษตรที่ใช้สารเคมี1.5) แหล่งน้ำ ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี โลหะหนัก น้ำชลประทานต้องมีบ่อพัก และมีผลวิเคราะห์น้ำ 2) การวางแผนการจัดการมีมาตรการและการป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก โดยต้องเป็นแนวกันชนที่มีประสิทธิภาพ วางแผนระบบการผลิตพืช เลือกฤดูปลูกและพันธุ์ที่เหมาะสม มีการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ มีการดูแลสุขลักษณะในแปลงปลูก และมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ 3) เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือการผลิตพืชทั่วไป แต่่ต้องไม่คลุกสารเคมี หากคลุกสารเคมี ต้องกำจัดออกอย่างเหมาะสมก่อนปลูก 4) การจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน4.1) รักษาหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและกิจกรรมทางชีวภาพ ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสด พืชรากลึก ใช้วัสดุจากพืช สัตว์ สารอินทรีย์…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ หลักการเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) กำหนดหลักการ ที่สำคัญของการผลิตเกษตรอินทรีย์4ด้าน คือ ด้านสุขภาพ (Health) ด้านนิเวศวิทยา (Ecology) ด้านความเป็นธรรม (Fairness) และ ด้านการดูแลเอาใจใส่ (Care) (มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, 2555). รายละเอียด ของหลักการ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสุขภาพ (Health) เกษตรอินทรีย์ควรจะต้อง ส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์มนุษย์และโลก 1) สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของ ระบบนิเวศ การที่ผืนดินมี ความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร2) สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของ สิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึง ภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเอง จากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี3) บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต ในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มี เป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์ จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์ จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ ด้านนิเวศวิทยา (Ecology) เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของ ระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติการผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฏจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น 1) หลักการเกษตรอินทรีย์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้น การผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น การปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะต้องใส่ใจ กับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศ ของบ่อเลี้ยง2) การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้อง สอดคล้องกับวัฏจักรและสมดุลทางธรรมชาติแม้ว่าวัฏจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมี ลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ดังนั้น การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับ เงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัย การผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำการหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน3) ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบ ระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลาย ทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร ผู้คนต่างๆ…

  • เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    คู่มือเกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic

    เกษตร ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ วางระบบ smart farmer ออร์แกนิค organic เกษตรอินทรีย์มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม ที่มีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิต และ ผู้บริโภค รวมทั้งระบบนิเวศวิทยา (คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ, 2560) สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1.4.1 ด้านสุขภาพของผู้บริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคได้ตระหนักถึงปัญหาการเจ็บป่วย จากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย เช่น โรคมะเร็ง โรคไต เป็นต้น เนื่องจากมีการตกค้าง ของยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงทัศนคติและให้ความสำคัญ ต่อการบริโภค โดยเลือกซื้ออาหารที่เชื่อว่ามีความปลอดภัย เช่น อาหารที่ผลิตตามแนวทางของเกษตรอินทรีย์หรือแนวทางธรรมชาติมากขึ้น 1.4.2 ด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากความพยายามในการอนุรักษ์ทรัพยากรและ สภาพแวดล้อม และขยายสู่ความสนใจในเรื่องผลกระทบของเกษตรที่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่างๆ ที่มีต่อทรัพยากรและสภาพแวดล้อม เช่น ความเสื่อมโทรมของดิน การสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ การเกิดมลพิษและสภาวะโลกร้อน เป็นต้น 1.4.3 ทางเลือกในการทำเกษตรกรรมแบบปลอดภัยของผู้ผลิต เพื่อหลีกให้พ้นจากวัฏจักรเกษตรที่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม รวมถึง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแนวคิดของการหาทางเลือก เพื่อทำการเกษตร ในรูปแบบที่เรียกกันว่า เกษตรธรรมชาติเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร หรือ เกษตรสีเขียว (Green agriculture) ฯลฯ 1.4.4 การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สืบเนื่องจากการผลิต เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่ค านึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการจัดการระบบนิเวศที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม รวมถึง การน าภูมิปัญญาชาวบ้าน มาใช้ประโยชน์ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีความเหมาะสมและมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งผลิตอาหารระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

  • การเก็บ รักษา ผัก ผลไม้

    การเก็บรักษา ผัก ผลไม้ ลำไย การเก็บผลไม้ ผลไม้อินทรีย์

    ดัชนีการเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวของลำไยที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 6-7 เดือน หลังดอกบานทั้งนี้ขึ้นกับฤดูกาล หากเก็บเกี่ยวเมื่อผลแก่จัดเกินไปเนื้อลำไยจะแห้ง มีสีขาวขุ่นความหวานลดลง และเมล็ดขึ้นหัวหรือเริ่มงอก อุณหภูมิและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษา อุณหภูมิ*(องศาเซลเซียส) ระยะเวลาเก็บรักษา(สัปดาห์) หมายเหตุ 0.5-1 4-6 สำหรับลำไยที่ผ่านการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 5 3-4 ลำไยที่ไม่รมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อเก็บรักษานานขึ้นผิวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เปลือกจะแข็งและเนื้อจะแห้งลง 25-30 0.5-1 * ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% การบรรจุเพื่อส่งออกส่วนใหญ่จะบรรจุในตะกร้าพลาสติก ความจุ 2 หรือ 10 กิโลกรัม ซึ่งจะบรรจุทั้งแบบผลเดี่ยวและผลเป็นช่อ ส่วนการบรรจุขนาดขายปลีกควรใช้ถุงพลาสติก เพื่อช่วยรักษาความสดและชะลอการสูญเสียน้ำ ซึ่งจะทำให้เปลือกลำไยแข็งช้าลง