• smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

    เทคโนโลยี smart farm IoT ระบบจัดการจัดการโลจิสติกส์ วาง ระบบ คู่มือ การใช้

    ระบบคมนาคมและการจัดการโลจิสติกส์ หนึ่งในภาคส่วนที่คาดว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยี IoT คือ ระบบคมนาคมและการจัดการโลจิสติกส์ โดยเฉพาะแนวคิดคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ หรือ Intelligent Transport System(ITS) ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการสื่อสารระหว่างพาหนะต่อพาหนะด้วยกัน หรือระหว่างพาหนะและระบบควบคุมการจราจรอื่น เช่น ระบบสัญญาณการจราจร ระบบข้อมูลสภาพจราจร หรือการนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้กับระบบขนส่งมวลชนที่จะช่วยให้การบริการมีความปลอดภัย สะดวก และตรงเวลามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การนำระบบดังกล่าวไปใช้ในการขนส่งสินค้าจะทำให้สามารถทราบตำแหน่งยานพาหนะ ทราบสถานการณ์รับ-ส่งสินค้า อันส่งผลให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

    เทคโนโลยี smart farm IoT ระบบจัดการการเกษตรอัจฉริยะ วาง ระบบ คู่มือ การใช้

    การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) อาศัยการทำงานร่วมกันของระบบเซนเซอร์ที่วัดความชื้นปริมาณแสงแดด อุณหภูมิ ระบบฐานข้อมูลพืช และระบบให้น้ำ ปรับปริมาณแสง และระบบปรับอุณหภูมิ ที่ทำงานสอดคล้องกันเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด ระบบดังกล่าวยังช่วยให้เกษตรกรสามารถประมาณการช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและปริมาณพืชผลที่จะได้อีกด้วย

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

    เทคโนโลยี smart farm IoT การประยุกต์ใช้งาน อุตสาหกรรมและการผลิต วาง ระบบ คู่มือ การใช้

    การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี IoT ในช่วงแรกจะเป็นการพัฒนาต่อยอดระบบที่ทำงานเป็นอิสระ(Stand Alone) ไม่เชื่อมกับระบบอื่น หรือ เป็นระบบโครงข่ายภายในที่ไม่ต่อเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ตผู้เชี่ยวชาญเรียกระบบเหล่านี้ว่า Intranet of Things อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายในรูปแบบใหม่ส่งผลให้ระบบ วัตถุ และอุปกรณ์ทั้งหลายที่เคยทำงานแยกกันสามารถเชื่อมต่อถึงกันสื่อสารกัน และสร้างช่องทางให้มนุษย์สามารถเข้าถึง ควบคุม เก็บข้อมูล และใช้งานได้ โดยรูปแบบการสื่อสารของแนวคิด IoT นั้น เป็นผลพวงของการพัฒนาต่อยอดระบบอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเอื้อให้เกิดการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบใหม่ในประเทศไทย ดังต่อไปนี้ อุตสาหกรรมและการผลิต ระบบควบคุมเครื่องจักรกลการผลิตโดยอัตโนมัติและการใช้หุ่นยนต์เป็นเครื่องมืออันสำคัญของวงการอุตสาหกรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน หัวใจของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ในอุตสาหกรรมคือการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนจากการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) โดยใช้ข้อมูลและผลของการวัดที่เก็บผ่านโครงข่ายของเซนเซอร์ร่วมกับการทำงานของระบบการตัดสินใจโดยอัตโนมัติการทำงานในลักษณะที่เครื่องจักร หุ่นยนต์ และเซนเซอร์ทุกตัวสามารถสื่อสารกันได้จะเพิ่มความแม่นยำและช่วยให้ระบบทำงานได้สอดคล้องกันอย่างเป็นอัตโนมัติ ผลการสำรวจและการวิจัยของ World Economic Forum พบว่า 79% ของผู้ถูกสำรวจจากวงการอุตสาหกรรมทั่วโลกเชื่อมั่นว่าภายในระยะเวลา 5 ปี เทคโนโลยี IoT จะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ (Disruptive Factor) ต่อการประกอบการอุตสาหกรรม(World Economic Forum, 2015a) โดยในการประชุม IoT World Forum มีการกล่าวถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0)และมีการรายงานตัวเลขการลงทุนในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม (Industrial Internet) ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2014 ทั้งสิ้นจำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(Cisco System, 2014) ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นกันในฐานะที่เป็นฐานการผลิตใหญ่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ตัวอย่างของระบบที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมแสดงในภาพที่ 1 ตามแนวคิดของบริษัท National Instrument ซึ่งระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) จะสามารถความคุมอัตราการผลิตให้สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานของตลาดซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมของผู้บริโภค และทรัพยากรที่ได้รับจากสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ระบบส่งน้ำอัจฉริยะ ฯลฯ

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

    เทคโนโลยี smart farm IoT ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วางระบบ คู่มือ การใช้

    Internet of Things (IoT) ตามนิยามของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) หมายถึง โครงข่ายสื่อสารที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ อาคารสิ่งก่อสร้าง หรือวัตถุอื่น โดยอาศัยการฝังระบบอิเล็กทรอนิกส์ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์เซนเซอร์ และส่วนเชื่อมต่อโครงข่าย ที่จะช่วยให้อุปกรณ์และวัตถุดังกล่าวสามารถเก็บ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ (ITU, 2012) ในการประยุกต์ใช้งาน คำว่า “Things” ในInternet of Things นั้นสามารถมีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง ตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสารหลากหลายชนิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว ไปจนถึง ระบบอากาศยาน แผงโซล่าเซลล์วาล์วจ่ายน้ำและแผงวงจรขนาดเล็กที่ฝังลงในปศุสัตว์ ฯลฯ หากจินตนาการไปถึงอนาคตอันใกล้ผู้คนจำนวนมากอาจตื่นขึ้นจากการปลุกของแรงสั่นจากอุปกรณ์สายรัดข้อมือที่สามารถบันทึกข้อมูลการนอนของผู้ใช้งาน เช่น วงจรการนอน ระยะเวลาที่หลับลึก เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานได้วิเคราะห์ประสิทธิภาพการนอนของตน อุปกรณ์ดังกล่าว ยังสามารถเก็บข้อมูลการออกกำลังกาย ความดันโลหิต จังหวะการเต้นของตัวใจ พร้อมทั้งข้อมูลการออกกำลังกายเพื่อใช้ในการสร้างฐานข้อมูลสุขภาพที่สามารถเรียกค้นโดยทีมงานแพทย์ประจำตัว ขณะที่กลับจากการออกกำลังกายตอนเช้า เครื่องอาบน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ และหม้อหุงข้าวอาจจะเริ่มทำงานเพื่อต้อนรับการกลับมาของเจ้าของบ้าน ในขณะเดียวกันผู้คนบางส่วนในท้องถนนอาจกำลังไปทำงานด้วยการโดยสารรถยนต์ที่ขับขี่ด้วยตนเอง (Self-Driving Vehicles) รถยนต์ดังกล่าวเคลื่อนที่ผ่านบ้านเรือนที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถปรับตามทิศทางของแสงแดดไว้บนหลังคา โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ใช้งาน ส่วนหนึ่งจะจ่ายเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับเจ้าของบ้านผู้ติดตั้ง โดยอาศัยกลไก อุปสงค์-อุปทาน ของพลังงานไฟฟ้า ณ ขณะนั้น ที่จัดการโดยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Power Grid) ในอนาคตประเทศไทยอาจยังคงเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรมรายใหญ่ของโลก ด้วยการสนับสนุนของเทคโนโลยีเกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart Farming) ที่สามารถจ่ายน้ำ ให้ปุ๋ย และปรับม่านบังแสงแดดอัตโนมัติโดยอาศัยการทำงานร่วมกันของเซนเซอร์วัดความชื้นและแสงแดด ผ่านการควบคุมของระบบฐานข้อมูลที่เก็บสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตรของพืชหลากหลายชนิด และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่ได้รับจากระบบอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ตัวอย่างของสถานการณ์ดังกล่าวอาจฟังดูคล้ายกับนิยายวิทยาศาสตร์ที่ไกลตัวแต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงในหลายประเทศของโลกและกำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี IoT อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเทคโนโลยี IoT นั้นยังอยู่ในขั้นแรกเริ่มการพัฒนา และมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตสูงมากในอนาคต มีการประมาณการจากบริษัท Cisco Systems ว่า ในปี2016 มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นจำนวนทั้งสิ้น 12.4 พันล้านอุปกรณ์ค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 พันล้านอุปกรณ์ ในปี 2020 ซึ่งจะเป็นจำนวนที่สูงกว่าจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายเท่าตัว (Cisco, 2013) การเจริญเติบโตดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้มีการสร้างนวัตกรรมและการบริการรูปแบบใหม่ รวมถึงช่วยให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างหลากหลายในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งจะช่วยสร้างเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในอนาคต อย่างไรก็ตาม การขยายตัวดังกล่าวต้องการการรองรับของโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมและทรัพยากรทางโครงข่ายที่เพียงพอและการบริหารจัดการที่มีความยืดหยุ่นสูง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีโอกาสจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน ซึ่งถ้าขาดการเตรียมการและวางแผนเพื่อให้มีกระบวนการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างสภาวะแวดล้อม(Ecosystem)…

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    เทคโนโลยี smart farm IoT ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วาง ระบบ คู่มือ การใช้

    เกษตรอินทรีย์ (Organic/ออร์แกนิก) คือ ระบบการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยง วัตถุดิบที่ได้จากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปรพันธุกรรม (GMO) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพ การเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สําคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน Organic 1 พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทาง เกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลาย ของพืชและสัตว์2 พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเอง | ในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหาร | ภายในฟาร์ม3 ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน – และคุณภาพน้ําด้วยอินทรียวัตถุ เช่น – ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทรัพยากรในฟาร์ม มาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด4 รักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์ม | และความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวม5 ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทําให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม6 ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม น้อยที่สุด 7.รักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบการเกษตรและระบบนิเวศ รอบข้าง รวมทั้งการอนุรักษ์แหล่ง ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืช และสัตว์ป่า8 รักษาความเป็นอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่ การผลิต แปรรูป เก็บรักษา และ การจำหน่าย9 หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ตลอดกระบวนการผลิต แปรรูป และเก็บรักษา10 ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ต้องไม่มาจากการดัดแปรงพันธุกรรม11 ผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบ | ของผลิตภัณฑ์ ต้องไม่ผ่านการฉายรังสี ข้อควรรู้ : ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนพื้นที่มาผลิตพืชอินทรีย์ผลิตพืชล้มลุก พืชผัก ข้าว ต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยน 12 เดือนการผลิตพืชยืนต้น ไม้ผล ต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยน 18 เดือน

  • smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

    IoT for Agriculture เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่ภาครัฐเน้นส่งเสริมอย่างจริงจัง

    รัฐบาลญี่ปุ่นผลักดัน ”เกษตรแม่นยำ (Precision Farming)” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี IoT เพื่อลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยแบ่ง แผนออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การนาเกษตรแบบด้ังเดิมผสมผสานกับเคร่อื งจักรสมัยใหม่ เช่น หุ่นยนต์รถแทรกเตอร์2) การพัฒนาเทคโนโลยี Mapping-oriented variable-rate application และ3) การผสมผสาน Mapping-oriented และ Wisdom-oriented สำหรับพัฒนาอุปกรณ์แบบ 0n-the-go เพื่อให้เกิด “Sensing as a service”ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ ปุ่น ได้ ร่วมมือ กับ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA)ออกแบบระบบดาวเทียมนำร่อง Quasi-Zenith Satellite System (QZSS) ที่มีความคล้ายคลึงกับระบบดาวเทียม GPS ของสหรัฐฯ โดย QZSS จะสามารถระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาที่มีความแม่นยำและซับซ้อนสูงในระดับ Sub-meters level ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย เพื่อให้เอื้อต่อการออกแบบเครื่องมือที่ต้องอาศัยการระบุตำแหน่งที่แม่นยำอย่าง Drone positioning หรือหุ่นยนต์อัตโนมัติยิ่งกว่าน้ัน ยังมีความร่วมมือระหว่าง SoftBank CKD Corporation และ Ericsson ในการจัดทำเซ็นเซอร์แพลตฟอร์มที่เรียกว่า “e-kkashi” ที่ได้รวบรวมเซ็นเซอร์วัด อุณหภูมิ และความชื้นในดิน โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะถูกควบคุมด้วยระบบ Cloud-based AI ที่สามารถสั่งการเปิดปิดอุปกรณ์อัตโนมัติได้ เช่น Sprinkler,liquid-fertilizer pumps, heat pumps, and CO2 generators or open/close windows รัฐบาลสิงคโปร์พยายามผลักดันประเทศเป็นศูนย์กลางการพัฒนา Agritechโดยเฉพาะแปลง ”เกษตรในที่ร่ม (Indoor Farming)” เพื่อลดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ เนื่องจากสิงคโปร์มีพื้นที่เกษตรกรรมน้อยกว่า 1% และต้องนำเข้าผักผลไม้จากต่างประเทศมากถึง 92% เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ โดย Indoor Farming จะช่วยเพิ่มอัตราการผลิตให้เพียงพอกับความมั่นคงทางอาหารสาหรับ ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก โดยคาดว่าตลาดเกษตรในที่ร่ม จะขยายตัวถึง 20% ต่อปีไปจนถึงปี 2023 รวมไปถึงรัฐบาลสิงคโปร์ยังตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุนและการใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตรของโลก เพื่อการจัดการระบบพื้นที่ปลูกให้เชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเต็มรูปแบบ…