สมุนไพร

  • สมุนไพร,  สมุนไพรป่า ทำยา

    ชา สมุนไพร ยา โกฐขี้แมว แห้ง แปรรูป ผง โรงงาน|OEM|รับทำ|ผลิต|ทำแบรนด์

    โกฐขี้แมว: Dihuang (地黄)ชื่อไทย: โกฐขี้แมว (ทั่วไป)ชื่อจีน: ตี้หวง (จีนกลาง), ตี่อึ๊ง (จีนแต้จิ๋ว)ชื่ออังกฤษ: Rehmannia Root1ชื่อเครื่องยา: Radix Rehmanniae1การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว:เก็บเกี่ยวรากในฤดูใบไม้ร่วง แยกเอารากแขนงและดินออก นาไปป ํ ิงไฟอ่อน ๆ จนกระทั่งเนื้อในเปลี่ยนเป็นสีดําและเกือบแห้ง เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดีการเตรียมตัวยาพร้อมใช้:การเตรียมตัวยาพร้อมใช้มี 5 วิธี ดังนี้วิธีที่ 1 โกฐขี้แมวสด เตรียมโดยนํารากโกฐขี้แมวสด มาแยกเอารากแขนงและดินออก ล้างน้ำให้สะอาด ก่อนใช้ให้นํามาหั่นเป็นชิ้นหนา ๆ หรือคั้นเอาน้ำมาใช้3วิธีที่ 2 โกฐขี้แมว เตรียมโดยนําสมุนไพรที่ได้จากการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อใหอ่อนนุ่ม หั่นเป็นชิ้นหนา ๆ และนําไปทําให้แห้ง1,3วิธีที่ 3 โกฐขี้แมวน่ึงเหล้า เตรียมโดยนําตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 เติมเหล้าเหลืองหรือเหล้าขาวคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใสในหม้อนึ่งที่มีฝาปิดมิดชิด นึ่งจนกระทั่งเหล้าแทรกซึมเข้าในเนื้อตัวยา สังเกตได้จากสีของสมนไพรจะเปลี่ยนเป็นสีดําเข้มมาก เป็นมัน และมีรสออกหวาน หลังจากนั้นนําไปตากแดดจนกระทั่งผิวนอกค่อนข้างแห้งไม่เหนียวติดมือ หั่นเป็นชิ้นหนา ๆ แล้วนําไปทําให้แห้ง (ใช้เหล้าเหลืองหรือเหล้าขาว 30 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)1,3,4นอกจากการนึ่งเหล้าแล้ว โกฐขี้แมวยังสามารถนึ่งโดยไม่ต้องใช้สารปรุงแต่ง เตรียมโดยนําตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 มาใส่ในภาชนะนึ่งที่มีฝาปิดมิดชิด นึ่งจนกระทั่งตัวยาด้านนอกและเนื้อในมีสีดำ นําออกจากเตา และนําไปทําให้แห้งประมาณ 80% หั่นเป็นชิ้นหนา ๆ แล้วนําไปทําให้แห้งวิธีที่ 4 โกฐขี้แมวถ่าน เตรียมโดยนําตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 2 ใส่กระทะ ผัดโดยใช้ไฟแรง ผัดจนกระทั่งผิวนอกของตัวยามีสีดำเกรียมและพองตัว นําออกจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นวิธีที่ 5 โกฐขี้แมวนึ่งเหล้าถ่านเตรียมโดยนําตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ใส่กระทะ ผัดโดยใช้ไฟแรงผัดจนกระทั่งผิวนอกของตัวยามีสีดําเกรียมและพองตัว นําออกจากเตา ตั้งทิ้งไวให้เย็นคุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:ตัวยาที่มีคุณภาพดีจะต้องมีน้ำหนัก อ่อนนุ่ม ชุ่มชื้นเป็นมัน ด้านหน้าตัดสีดํา และมีรสหวานสรรพคุณตามตําราการแพทย์แผนจีน:โกฐขี้แมวสด รสอมหวาน ขม เย็น มีฤทธิ์ระบายความร้อน เสริมธาตุน้ำ ทําให้เลือดเย็น และห้ามเลือด รักษาโรคที่มีอาการยินพร่องทําให้ลิ้นแดง กระหายน้ำ เป็นจ้ำเลือด และอาเจียนเป็นเลือดโกฐขี้แมว รสอมหวาน ขม เย็น มีฤทธิ์ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น รักษาโรคที่ความร้อนเข้ากระแสเลือด (เช่น ปากแห้ง ลิ้นแดง)…

  • สมุนไพร,  สมุนไพรป่า ทำยา

    ชา สมุนไพร ยา เกสรบัวหลวง แห้ง แปรรูป ผง โรงงาน|OEM|รับทำ|ผลิต|ทำแบรนด์

    เกสรบัวหลวง : Lianxu (莲须)เกสรบัวหลวง หรือ เหลียนซู คือ เกสรตัวผู้ที่ทําให้แห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbonucifera Gaertn. วงศ์ Nymphaeaceae ชื่อไทย: เกสรบัวหลวง, เกสรบัว (ทั่วไป); เกสรสัตตบงกช, เกสรสัตตบุษย์ (ภาคกลาง)2ชื่อจีน: เหลียนซู (จีนกลาง), โหน่ยชิว (จีนแต้จิ๋ว)1ชื่ออังกฤษ: Lotus Stamen1ชื่อเครื่องยา: Stamen Nelumbinis1การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว:เก็บดอกบัวที่บานเต็มที่ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสในฤดูร้อน แยกเอาเฉพาะเกสรตัวผู้ คลุมด้วยกระดาษ ตากแดดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บรักษาไ้วในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี1การเตรียมตัวยาพร้อมใช้:นําวัตถุดิบสมุนไพรมาคัดแยกเอาสิ่งปนปลอมออก ร่อนเอาฝุ่นและเศษเล็ก ๆ ออก3,4คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:ตัวยาที่มีคุณภาพดี เกสรต้องแห้งและไม่แตกหัก สีเหลืองอ่อน เหนียวนุ่ม มีน้ำหนักเบา3,4สรรพคุณตามตําราการแพทย์แผนจีน:เกสรบัวหลวง มีสรรพคุณแก้อาการฝันเปียก เลือดกําเดาไหล ประจําเดือนมามากกว่าปกติแก้ระดูขาว และแก้อาการท้องเสียสรรพคุณตามตําราการแพทย์แผนไทย:เกสรบัวหลวง มีกลิ่นหอม รสฝาด สรรพคุณเป็นยาบํารุงหัวใจ ทําให้ชุ่มชื่น บํารุงปอด บํารุงตับ บํารุงกําลัง คุมธาตุ แก้ลม บํารุงครรภ์ และแก้ไข้3ขนาดที่ใช้และวิธีใช้การแพทย์แผนจีน ใช้ 3-5 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผงรับประทาน1การแพทย์แผนไทย ใช้เกสรบวหลวงสดหรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว(ประมาณ 240 มิลลิลิตร) แช่ทิ้งไ้ว 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว หรือใช้เกสรบวหลวงแห้ง บดเป็นผง รับประทานครั้งละ 0.5-1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มแก้ลม3ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง: