เนื้อสัตว์จากพืช ผัก Plant Based Meat,  โรงงาน OEM ผลิต สร้าง ทำ แบรนด์ รับทำ อาหารสำเร็จ

สัดส่วนและอัตราเติบโตของสินค้าใหม่ที่วางจำหน่ายในตลาดต่างๆ โรงงาน|ผลิต|ทำแบรนด์|สร้างแบรนด์|อาหาร|กึ่ง|สำเร็จ

1) สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศต้นกำเนิดของคำว่า วีแกน (Vegan) หากนับจากหลักฐานของ
สมาคมวีแกนแห่งสหราชอาณาจักร (The Vegan Society) ที่บัญญัติศัพท์คำว่า วีแกน พบว่า วิถีแห่งวีแกนในสหราชอาณาจักรมีมานานราว 75 ปี และค่อยๆ แทรกซึมอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนมากขึ้นเป็นลำดับและเริ่มเด่นชัดขึ้นในช่วงไม่เกิน 10 ปีที่ผ่านมา

ในช่วงปีที่ผ่านมา มีดัชนีชี้วัดหลายตัวที่แสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วของ
ตลาดอาหารวีแกนในสหราชอาณาจักร อาทิ ร้านอาหารสำหรับชาววีแกนในสหราชอาณาจักรมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากเดิมที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ร้านอาหารรายใหญ่อย่าง Pizza Hut,Wagamama, Nando’s และ Zizzi ต่างเพิ่มรายการอาหารวีแกนในเมนูเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคอย่างคึกคัก นอกจากนี้ ห้างซูเปอร์มาเก็ตรายใหญ่ของสหราชอาณาจักร ตัวอย่างเช่น ห้าง Tesco และSainsbury’s ต่างเพิ่มจำหน่วนสินค้าอาหารวีแกน พร้อมทั้งมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อาหารวีแกนที่ทำจากพืชเพื่อใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ “Wicked Kitchen” ที่มีพืชเป็นส่วนประกอบหลักผลิตภัณฑ์ Shroomdogs (ไส้กรอกเห็ด) Cauli Burger (เบอร์เกอร์กะหล่ำดอก) BBQ Jackfruit (บาร์บีคิวเนื้อขนุน) และ Mushroom Mince (เห็ดบดเพื่อทดแทนเนื้อหมูบด) เป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับกลุ่มคนวีแกน หรือคนที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์

ภาพที่ 2.14 ไส้กรอกเห็ดของห้าง Sainsbury’s (Sainsbury’s Love Your Veg! Cumberland Shroomdogs)
ที่มา: ฐานข้อมูล Mintel GNPD
ภาพที่ 2.15 เบอร์เกอร์กะหล่ำดอกของห้าง Sainsbury’s (Sainsbury’s Love Your Veg! Cauli Burgers)
ที่มา: ฐานข้อมูล Mintel GNPD

ปัจจุบันสหราชอาณาจักรเป็นตลาดอาหารวีแกนที่มีศักยภาพโดดเด่นในอันดับต้นๆ ของโลก
ประชากรมีกำลังซื้อสูง มีกิจกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภค องค์กรธุรกิจตลอดจนสมาคมที่เกี่ยวข้องตื่นตัวในเรื่องวีแกนเป็นอย่างยิ่ง และเริ่มพัฒนาบริการด้านมาตรฐานและการรับรองผลิตภัณฑ์รวมถึงบริการด้านวีแกนจำนวนมาก จากข้อมูลจำนวนสินค้าใหม่ที่ออกสู่ตลาด (New Product Launce) ทั่วโลกที่ได้จากฐานข้อมูลของบริษัทวิจัย Mintel พบว่า สหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์ อาหารวีแกนออกวางจำหน่ายมากที่สุดในโลก คิดเป็นร้อยละ 14.3 ของผลิตภัณฑ์อาหารวีแกนที่จำหน่ายในตลาดโลก

ตลาดอาหารวีแกนในสหราชอาณาจักรจะมียอดขายสูงมากในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและ
ปีใหม่ของทุกปี เนื่องจากผู้บริโภคชาวสหราชอาณาจักรจำนวนมากนิยมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในช่วงดังกล่าว เพื่อเป็นการดีท็อก (Detox) ของเสียจากร่างกายภายหลังจากการเฉลิมฉลองเทศกาล ทำให้ความต้องการรับประทานอาหารวีแกนในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จึงเรียกช่วงเวลานั้นว่าเดือน “Veganuary” โดยในปีที่ผ่านมา ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในสหราชอาณาจักรต่างพัฒนาสินค้าวีแกนและ นำออกมาวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หากคิดที่จำนวนผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจะเห็นว่า บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่สัญชาติอังกฤษ 3 ราย คือ Tesco, Sainsbury’s และ The Co-operative Group ถือเป็นผู้นำตลาด ขณะที่บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่สัญชาติอังกฤษรายอื่นก็มีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด เช่น Marks & Spencer, Waitrose, Asda Stores รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติเยอรมันอย่าง Lidl Stiftung & Co. เป็นต้น

ที่มา: ฐานข้อมูล Mintel GNPD

2) เยอรมนี
เยอรมนีเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านตลาดอาหารวีแกนในระดับเดียวกับสหราชอาณาจักร
จากข้อมูลของ Vegane Gesellschaft Deutschland ในปี 2560 ระบุว่าประเทศเยอรมนีมีจำนวนคนที่
บริโภคอาหารมังสวิรัติประมาณ 8 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด 82.7 ล้านคนของประเทศ ในขณะที่มีจำนวนประชากรที่เป็นคนวีแกนประมาณ 1.3 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 1.6 จำแนกออกเป็นเพศหญิงประมาณ 1.05 ล้านคน เพศชายประมาณ 250,000 คน จะเห็นได้ว่าคนวีแกนที่เป็นเพศหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าเพศชายถึง 4 เท่าตัว และมีการประมาณการว่าในประเทศเยอรมนีในแต่ละวันจะมีคนที่หันมาเป็นมังสวิรัติเพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 คน และวีแกน 200 คน การขยายตัวของผู้บริโภควีแกนตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2557 – 2559) ส่งผลทำให้ร้านอาหารวีแกนในเยอรมนีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยร้อยละ19.4 ต่อปี ในขณะเดียวกันในปี 2560 เยอรมนีก็มียอดขายสินค้าอาหารมังสวิรัติและวีแกนในตลาดขายปลีกสินค้าอาหาร 818.7 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 จากปีก่อนหน้า โดยเมืองที่มีการใช้จ่ายในร้านอาหารวีแกนต่อหัวมากที่สุด ได้แก่ เมือง Leipzig และ Jena

ภาพที่ 2.16 จำนวนธุรกิจร้านอาหารมังสวิรัติและวีแกนในเยอรมนีปี 2557-2559
ที่มา: VEBU

ตลาดอาหารวีแกนในเยอรมนีไม่ได้เติบโตในช่องทางปกติเท่านั้น แต่ยังขยายตัวในช่องทาง
ออนไลน์อีกด้วย ในปี 2558 มูลค่าการจับจ่ายสินค้าอาหารในเยอรมนีผ่านช่องทางออนไลน์มีมูลค่ารวมทั้งหมด 736 ล้านยูโร โดยสินค้าที่ผู้บริโภคสั่งซื้อส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์มากถึง 70 ล้านยูโร หรือ ร้อยละ 10 รวมถึงสินค้าหายากหรือมิได้มีจำหน่ายทั่วไป เช่น เห็ดชิตาเกะ เครื่องปรุงอาหารต่างชาติ หรือผลไม้ เมืองร้อน เป็นต้น

ตลาดอาหารวีแกนในเยอรมนีไม่ได้เติบโตในช่องทางปกติเท่านั้น แต่ยังขยายตัวในช่องทาง
ออนไลน์อีกด้วย ในปี 2558 มูลค่าการจับจ่ายสินค้าอาหารในเยอรมนีผ่านช่องทางออนไลน์มีมูลค่ารวมทั้งหมด736 ล้านยูโร โดยสินค้าที่ผู้บริโภคสั่งซื้อส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์มากถึง 70 ล้านยูโร หรือร้อยละ 10 รวมถึงสินค้าหายากหรือมิได้มีจำหน่ายทั่วไป เช่น เห็ดชิตาเกะ เครื่องปรุงอาหารต่างชาติ หรือผลไม้ เมืองร้อน เป็นต้น

ที่มา: ฐานข้อมูล Mintel GNPD

3) สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ตลาดอาหารวีแกนเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตามการ
ขยายตัวของกลุ่มผู้บริโภควีแกน (Veganism) ที่เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 ของประชากรทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ในช่วง 5 ปีก่อน นอกจากนี้ กลุ่มผู้บริโภคที่เรียกว่ามังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (Flexitarian) หรือกลุ่มคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติเป็นหลัก แต่ยังคงบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เป็นครั้งคราว นับเป็นกลุ่มผู้บริโภคสำคัญที่ผลักดันการขยายตัวของตลาดอาหารวีแกนในสหรัฐฯ

กระแสวีแกนในสังคมสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มคนที่มีชื่อเสียงในสังคม ทั้งดารา
นักแสดง ศิลปินนักร้อง นักกีฬา เหล่าบรรดาเซเลบริตี (Celebrity) ในหลากหลายวงการ ทำให้เหล่าบรรดาแฟนคลับผู้ชื่นชอบและติดตามกลุ่มคนเหล่านี้เกิดพฤติกรรมการลอกเลียบแบบ ประกอบกับคนรุ่นใหม่มีความใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชิงชังกับการทารุณกรรมสัตว์ รวมถึงผลลัพธ์ที่ชาววีแกนได้รับเป็นรูปธรรม คือด้านสุขภาพที่เกิดจากการที่หันมาบริโภคอาหารจำพวกพืชผักมากขึ้น เป็นเสมือนการควบคุมน้ำหนักโดยที่ไม่ต้องใช้วิธีอดอาหารเหมือนพฤติกรรมที่ปฏิบัติมาในอดีต รวมทั้งเป็นการลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคต่างๆกลุ่มคนวีแกนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดอาหารวีแกนรวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับคนกลุ่มดังกล่าวขยายตัวตามไปด้วย

ภาพที่ 2.17 ตัวอย่าง Vegan Celebrity ในหลากหลายวงการ

การขยายตัวของกลุ่มคนวีแกนในสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจด้านอาหาร
และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่อิทธิพลของคนวีแกนได้ก้าวไปสู่การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์อีกด้วยโดย Beyond Investing (Beyond Meat) เป็นบริษัทผู้ริเริ่มก่อตั้งกองทุนรวมวีแกนขึ้นครั้งแรกของโลก เรียกว่า US Vegan Climate Exchange Traded Fund หรือกองทุน ETF ใช้สัญลักษณ์ว่า “VEGN” เพื่อจำหน่ายให้กับนักลงทุนผู้สนใจในกองทุนดังกล่าว โดยกำหนดเริ่มซื้อขายกันวันแรกคือวันที่ 10 กันยายน 2562

หลักการสำคัญของกองทุน VEGN คือ การเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีการดำเนินงานที่
สอดคล้องกับวิถีวีแกน โดยพอร์ตการลงทุน (Investment Portfolio) จะไม่มีหุ้นธุรกิจที่มีรายได้มาจากการแสวงหาประโยชน์จากเด็กหรือใช้แรงงานมนุษย์แบบผิดกฎหมาย ธุรกิจปศุสัตว์และแปรรูปผลิตภัณฑ์ ธุรกิจที่มีการใช้สัตว์ในการหาผลประโยชน์ เช่น กีฬา บันเทิง กิจกรรมสันทนาการ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาที่มีการใช้สัตว์เป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยหรือทดสอบ (Animal Testing) ธุรกิจยาสูบ/บุหรี่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตอาวุธและธุรกิจน้ำมันหรือพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น แม้ว่าหลักการของกองทุนดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการในธุรกิจดังกล่าว แต่ก็ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อกิจการที่มีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจที่สวนทางกับวิถีวีแกนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพลังของวีแกนที่มีอิทธิพลต่อตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นตามลำดับ และอาจขยายไปสู่ตลาดในส่วนอื่นของโลกอีกด้วย

ภาพที่ 2.18 ตัวอย่าง Vegan Celebrity ในหลากหลายวงการ
ที่มา: ฝ่ายวิจัยและข้อมูล สถาบันอาหาร

ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคอาหารวีแกนในสหรัฐฯ มีจำนวนหนาแน่นในพื้นที่แถบชายฝั่งมหาสมุทร
แปซิฟิก ได้แก่ รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐโอรีกอน และรัฐวอชิงตัน และพื้นที่แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เช่นรัฐนิวยอร์ก และรัฐเวอร์จิเนีย ในขณะที่พื้นที่ตอนกลางของประเทศมีผู้บริโภควีแกนเบาบาง นั่นหมายความว่ามีโอกาสที่ตลาดจะขยายตัวไปสู่รัฐอื่นๆ ได้อีกในอนาคต ซึ่งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มผู้บริโภควีแกนและกลุ่มคนที่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในสหรัฐอเมริกา (Flexitarian) ทำให้คาดว่าตลาดอาหารวีแกนในสหรัฐฯจะเปลี่ยนจากการเป็นตลาด Niche Market และก้าวเข้าสู่ตลาดกระแสหลักในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์จะเป็นแรงขับเคลื่อนตลาดที่สำคัญ

สำหรับเหตุผลหลักที่จะสนับสนุนแนวโน้มดังกล่าว คือ ผลการสำรวจผู้บริโภคสหรัฐฯ ของ
สำนักข่าว South West News Service (SWNS) ในกลุ่มคนที่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์และเพิ่มการบริโภค
อาหาร Plant-Based Food พบว่า ประชากรสหรัฐฯ ร้อยละ 70 เห็นว่า การบริโภคอาหารโดยวิธีดังกล่าวจะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีสุขภาพดีโดยที่ไม่รู้สึกว่าต้องสูญเสียวิถีการบริโภคอาหารเดิมๆ ที่พวกเขารักไป เช่นสามารถบริโภคเนื้อสัตว์หรือปลาได้บ้างเป็นบางโอกาส เพื่อเข้าสังคมและลดความเสี่ยงจากการขาดสารอาหารบางอย่าง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ชาวอเมริกันให้การยอมรับวิถีการบริโภคแบบยืดหยุ่น คือเชื่อว่าจะช่วยให้พวกเขามีร่างกายและจิตใจดีขึ้น ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกๆ

ภาพที่ 2.19 ความหนาแน่นของกลุ่มผู้บริโภคอาหารวีแกนที่พิจารณาจากความหนาแน่นของ
ร้านอาหารวีแกนในรัฐต่างๆ ของสหรัฐฯ

ในช่วงปีที่ผ่านมามีจำนวนสินค้าอาหารวีแกนเข้าวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำทั่ว
ประเทศและมีอัตราเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เช่น Whole Foods Market ที่มีสาขากระจายอยู่อย่างหนาแน่นใน 7 รัฐของสหรัฐฯ ได้แก่ New York, Maryland, Massachusetts, Pennsylvania, North Carolina,
Virginia และ New Jersey บริษัท Organic Spices ที่เข้ามาทำตลาดอาหารวีแกนเต็มตัวในปีที่ผ่านมา โดยมีการนำสินค้าค้าออกสู่ตลาดสูงถึง 85 รายการภายในปีเดียว ในขณะที่ซูเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Wegmans Food Markets ที่มีสาขาอยู่ 100 แห่งในแถบรัฐทางภาคตะวันออกของประเทศ ก็มีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายไม้น้อยไปกว่าผู้นำอย่างบริษัท Organic Spices ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าวีแกนออกสู่ตลาดอย่างคึกคัก มาจากการที่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่ใช่คนวีแกนต่างหันมาบริโภคอาหารวีแกนมากขึ้น โดยมีเหตุผลหลักมาจากความต้องการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งอาหารวีแกนมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว ทำให้กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่รักษ์สุขภาพได้หันมาซื้ออาหารวีแกนรับประทาน เป็นผลทำให้ความต้องการอาหารวีแกนขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น

ที่มา: ฐานข้อมูล Mintel GNPD