โรงงาน OEM ผลิต สร้าง ทำ แบรนด์ รับทำ อาหารสำเร็จ

ชา สมุนไพร ยา กานพลู แห้ง แปรรูป ผง โรงงาน|OEM|รับทำ|ผลิต|ทำแบรนด์

กานพลู: Dingxiang (丁香)
กานพลูหรือ ติงเซียง คือ ดอกตูมแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium aromaticum
(L.) Merr. et Perry. วงศ์Myrtaceae

ชื่อไทย: กานพลู (ภาคกลาง)
ชื่อจีน: ติงเซียง (จีนกลาง), เต็งเฮีย (จีนแต่จิ๋ว)
ชื่ออังกฤษ: Clove1
ชื่อเครื่องยา: Flos Caryophylli1 การเก็บเกี่ยวและการ
ปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว:เก็บเกี่ยวดอกตูมเมื่อก้านดอกเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอิฐ ตากแดดให้แห้ง เก็บรักษาไว้
ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี

การเตรียมตัวยาพร้อมใช้:
นําวัตถุดิบสมุนไพรมาคัดแยกเอาสิ่งปนปลอมออก ร่อนเอาเศษเล็ก ๆ ออกทุบให้แตกก่อนใช้

คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:
ตัวยาที่มีคุณภาพดีต่องเป็นดอกขนาดใหญ่ แห้งสนิท สีแดงอมม่วง มีน้ำมันมากและมิได้สกัด
เอาน้ำมันออก (กานพลูที่ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว จะมีสรรพคุณทางยาต่ำ) กลิ่นฉุน รสเผ็ดจัด
3-5

สรรพคุณตามตําราการแพทย์
แผนจีน:กานพลู รสเผ็ด องุ่น มีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร กระจายความเย็น ระงับปวด

สรรพคุณแก้อาเจียน แก้สะอึกเนื่องจากความเย็น แก้ปวดท้องน้อยเนื่องจากระบบกระเพาะอาหารเย็น
นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นแก้ระบบไต เสริมหยาง แก้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว มดลูกเย็น เป็นต่น

สรรพคุณตามตําราการแพทย์แผนไทย:
ดอกกานพลูแห้งที่ยังไมัได้สกัดเอาน้ำมันออก รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมจัด สรรพคุณแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดทองเฟ้อ ใช้ดับกลิ่นปากน้ำมันกานพลูใช้เป็นยาขับลมยาฆ่าเชื้อโรค ใส่ฟันฆ่าเชื้อและเป็น
ยาชาเฉพาะที่ ช่วยระงับอาการปวดฟัน ใชแก้โรครํามะนาด ใช้ระงับกลิ่นปาก

ขนาดที่ใช้และวิธีใช้:
การแพทย์แผนจีน ใช้ขนาด 1-3 กรัม ต่มเอาน้ำดื่ม
การแพทย์แผนไทย ใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก (0.12-0.16 กรัม) ต่มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม หรือเคี้ยวกานพลูแห้ง 1-2 ดอก หลังอาหาร เพื่อช่วยลดกลิ่นปาก ช่วยให้ปากสะอาด และช่วยลด
อาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อยนอกจากนี้ดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องอืดท้องเฟ้อได้โดยใช้ดอกแห่ง ดอกแช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน การใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาแก้ปวดฟันทําโดยใช้สําลีชุบน้ำมันกานพลูอุดตรงฟันที่ปวด หรือใช้ดอกแห้งตำพอแหลก ผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้สําลีชุบอุดรูฟัน

ข้อห้ามใช้ข้อควรระวัง และอาการข้างเคียง:
ห้ามใช้ในผู้เป็นไข้อาเจียน ร้อนใน และห้ามใช้กานพลูรวมกับว่านนางคำ เนื่องจากกานพลจะถูก
ข่มด้วยว่านนางคํา (การแพทย์แผนจีน)

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง:

  1. น้ำมันหอมระเหยซึ่งสกัดจากดอกกานพลูดวยการกลั่นมีฤทธิ์ต่านเชื้อแบคทีเรียได้25 ชนิด(ประกอบด้วยแบคทีเรียแกรมลบ 9 ชนิด และแกรมบวก 16 ชนิด ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์พืช และแบคทีเรียที่ทําให้อาหารเน่าเสีย) โดยความกว้างของโซนที่ยับยั้งการเจริญของเชื้ออยู่ในช่วง
    7-28 มิลลิเมตร
  2. สารสกัดเมทานอลจากดอกตูมของกานพลูมีฤทธิ์ต่านเชื้อจุลินทรีย์ต่อ oral pathogen ที่ทําให้เกิดฟันผุและโรคเหงือกและฟันได้2 ชนิดคือ Prevotella intermedia และ Porphyromonas
    gingivalis โดยมีค่า MIC เท่ากับ 156 และ 625 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ แต่สารสกัดดังกล่าว