smart farm เกษตรอัจฉริยะ,  อุปกรณ์ เทคโนโลยี เกษตร IoT

เทคโนโลยี smart farm IoT ผลกระทบจาก โรคระบาด COVID-19 วาง ระบบ คู่มือ การใช้

โรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขนึ้ ทั่วโลกจะเป็นแรงผลักดันให้ภาคเกษตรปรับตัวมาใช้ IoT มากขึ้น

ความกังวลโรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะเป็นแรงผลักดันให้ภาคเกษตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ IoT มาทดแทนการใช้แรงงานคน เพื่อลดโอกาสการสัมผัสและการติดต่อกันระหว่างมนุษย์ โดยบริษัทผู้ผลิตโดรน XAG ในเมืองกวางโจวของจีน ได้ออกมาเปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2020 บริษัทสามารถขายโดรนทางการเกษตรได้มากถึง 4,000 เครื่อง เช่นเดียวกับบริษัท Yifei Technology ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายโดรนและหุ่นยนต์เกษตรที่คาดว่าปีนี้รายได้จะเติบโตเป็น 4 เท่าหรือมากกว่า 4.31 ล้านดอลลาร์ฯ จากผลของ COVID-19 นอกจากนี้ตลาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทางการเกษตรในจีนที่เติบโตไปอย่างรวดเรว็ น้ัน ส่วนหน่ึงได้รบัการสนับสนุนจากทางการจีนภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี (ฉบับที่ 13) ที่ให้เงินสนับสนุนจากส่วนกลางในการซื้อโดรนและอุปกรณ์ต่างๆ 20 ล้านดอลลาร์ฯรวมท้ังเงนิ กู้ดอกเบี้ยต่าและสนับสนุนค่าเช่าเครื่องมืออีกกว่า 14 ล้านดอลลาร์ฯ โดยทางการจีนต้ังเป้าให้เกษตรกรสามารถใช้โดรนได้อย่างแพรห่ ลายถึง 30,000 เครื่องในปี 2020

ปัจจุบันมี การนำอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned aerial vehicles: UAVs) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “โดรน”(Drone) มาใช้ในฟังก์ชันทางการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากมีขนาดเล็กและมีระบบการบินอัตโนมัติ จึงทำให้สามารถควบคุมการทำงานได้ง่าย สะดวก และมีความแม่นยำสูง โดยรายงานของ FAO ที่อ้างอิงข้อมูลจาก PwC (2016) ประเมินว่ามูลค่าทางธุรกิจของตลาดโดรนเชิงพาณิชย์ในภาคการเกษตรมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 หรือ 3.24 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ รองจากโดรนที่ใช้ในงานโครงสร้างพื้นฐาน (รูปที่ 12) เช่นเดียวกับข้อมูลของ Markets and Markets รายงานว่ามูลค่าตลาดโดรนท่ัวโลกมีเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 31.4% ต่อปี จาก 1.2 พันล้านดอลลาร์ฯในปี 2019 เป็น 4.8 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2025