เกษตรอินทรีย์ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

วางระบบ เกษตรอินทรีย์ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว smart farmer ออร์แกนิค organic

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

ผัก เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากผักมีคุณค่าทางอาหารและช่วยในระบบการทำงานของลำไส้ ผักมีความบอบบางจึงทำให้เกิดความเสียหายได้ง่ายโดยเฉพาะการสูญเสียที่เกิดหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งสาเหตุหลักมาจากโรค โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เกิดความเสียหาย ได้แก่การตัดแต่ง การบรรจุ การเก็บเกี่ยว และการขนส่ง ฉะนั้นจึงควรมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกวิธีเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญเสียกับพืชผัก เพื่อให้ผักมีคุณภาพที่ดี

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของพืชผัก

  1. การสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากการคายน้ำ ผักที่มีการคายน้ำมากจะทำให้คุณภาพของผักเสียเร็ว ซึ่งอุณหภูมิมีผลต่อการคายน้ำ ดังนั้นจึงควรลดอุณหภูมิของผักหลังการเก็บเกี่ยวลงโดยเก็บผักไว้ในที่ร่มเย็น หรือทำการบรรจุโดยใช้พลาสติกหรือกระดาษหุ้ม เพื่อช่วยลดการคายน้ำ
  2. การหายใจมีผลต่อคุณภาพของผัก หากผักมีอัตราการหายใจสูงจะทำให้อายุการเก็บรักษาสั้น ดังนั้นจึงควรเก็บรักษาผักไว้ที่อุณหภูมิต่ำเพื่อลดอัตราการหายใจของพืชผักให้ลดลง สำหรับพืชผักผลไม้เมืองร้อนควรเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12-15 องศาเซลเซียส
  3. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่
    3.1 การทำความสะอาด เก็บเศษดิน หิน ตลอดจนตัดแต่งใบแก่และเสียออก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของความร้อนและเชื้อจุลินทรีย์
    3.2 การคัดเลือกขนาด เพื่อให้ได้ตรงกับมาตรฐานความต้องการของตลาด ตลอดจนคัดผักที่มีการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ออก เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อต่าง ๆ
    3.3 ความร้อนจากแปลง ผักที่เพิ่งเก็บจากแปลงโดยไม่มีการทำให้เย็นก่อน จะทำเกิดความร้อนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่สูง ทำให้เกิดความเสียหายกับพืชผลที่เก็บในที่ใกล้กัน
    3.4 การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดบาดแผลหรือการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวไม่ดี ทำให้จุลินทรีย์สามารถเข้าทำลายผลิตผลได้ ในพืชผักนั้นความเสียหายส่วนใหญ่มาจากเชื้อแบคทีเรีย แต่เนื่องจากผักส่วนใหญ่เป็นผักที่นำมารับประทานสด ไม่สามารถใช้สารป้องกันกำจัดแบคทีเรียได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการอื่น เช่น ใช้พวกสารคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ระหว่างทำให้เย็น(cooling) หรือใส่ในน้ำที่ใช้ล้างทำความสะอาด
  4. การบรรจุหีบห่อ (Packing) ในการขนส่งผักนั้นต้องบรรจุผักลงในภาชนะเต็มพอดี ไม่อัดแน่นหรือหลวมเกินไป และควรระวังไม่ให้เกิดการกระแทกหรือถูกกดทับ